วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565

ของฝากจากวัดโพธิ์แมน

 






ของฝากจากวัดโพธิ์แมน
วันก่อนได้ไปวัดจีนกลางกรุง สวยงามเงียบสงบ ก่อนที่จะฟังสาธยายพุทธมนต์ และถวายภัตตาหาร มีเวลาเล็กน้อยจึงได้สนทนากับพระภิกษุรูปหนึ่งในวัดถึงเรื่องธรรมะ ท่านสอนว่าธรรมะในตู้หนังสือมีมากมาย ที่เห็นอยู่ก็หลายสิบปีแล้วมีทั้งผู้คนที่หมั่นศึกษามาถกเถียงกัน บ้างก็นำมาท่องสวดภาวนา มีส่วนน้อยที่นำมาประพฤติปฏิบัติ ท่านว่าคนส่วนใหญ่มุ่งทำบุญ แต่บุญที่ทำก็ปนเปื้อนไปด้วยความโลภความปรารถนานานาประการ กุศลย่อมไม่เกิดกับบุคคลเช่นนั้น บางคนสวดมนต์ ขยันสวดได้เป็นสูตรๆยาวๆก็สวดได้ ภูมิใจ หยิ่งทนง อวดตัวว่าสวดได้ แต่หารู้จักความหมายใจความในพระสูตรไม่ ท่านผู้รู้ เข้าใจในบทสวด แม้สวดไม่ดังไม่คล่องแต่ใจนั่นเบิกบานในธรรม ย่อมเข้าถึงพระธรรมคำสอนขององค์ศาสดา
มหายานก็ไม่แตกต่างจากเถรวาท เพราะธรรมเดียวกัน พระบรมศาสดาองค์เดียวกัน จะแตกต่างกันอย่างไร เพียงแต่มุมมองที่แตกต่างอาจทำให้เราเห็นวัตถุเดียวกันไม่เหมือนกันได้ ทาน ศีล ภาวนา เดียวกัน แต่ …..
สติสมาธิ จำต้องมีตลอดอย่างต่อเนื่องจึงเข้าถึงใจเข้าถึง จิต เมื่อใจมีสติควบคุมอยู่ในธรรม ใจย่อมเข้าถึง จิต
เมื่อเข้าถึงจิต ปัญญา ย่อมเกิด ย่อมเข้าใจในธรรมทั้งมวล
หลักการนี้ ไม่น่าจะแตกต่างกันกับเถรวาท…ใช่ไหม?
พระพุทธรูปมากมายที่เราเคารพ มีชื่อแตกต่างกัน ล้วนมาจากจิตเดียวกัน พระพุทธเจ้า เดียวกัน การที่แตกแยกออกไป เป็น ธรรมกาย เป็นพระปัญญา พระกรุณาฯ ล้วนมาจากที่เดียวกัน ทั้งหมดคือสิ่งเดียว -หนึ่งเดียวคือทั้งหมดนั้นเอง
ท่านสรุปธรรมเป็นสี่ระดับ
1. ทำทาน มีศีล สวดมนต์
2. ทำทานด้วยปัญญา ศีลบริสุทธิ์
สวดมนต์(ฟังธรรม)เข้าใจถึงพระธรรม
3. กระทำทุกสิ่งมีปัญญาพิจารณาประกอบ
ศีลบริสุทธิ์จากใจ ฟังธรรม/สวดมนต์ เข้าใจ และน้อมนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
4. เข้าถึงพระธรรม ชีวิตตัดขาดจากสิ่งดึงรั้ง ปราศจากทุกข์ ร้อนรนใจ สงบสว่าง เย็นกาย เย็นใจ
ตั้งใจจะเขียนแบ่งปันตั้งแต่สองวันก่อนแต่ติดภารกิจหลายอย่าง ร่างกายก็ไม่ค่อยอำนวยแล้ว วันนี้มานอนพักที่วัชรธรรม พอมีเวลาจึงเขียนแบ่งปันกัน ขออภัยเพื่อนๆด้วยที่ขาดหายไปมากอยู่แต่เท่าที่พอจำได้ก็เท่านี้เอง ใครพอมีเวลาว่างก็ไปสนทนากับท่านแล้วมาแบ่งปันกันบ้างนะครับ
คุณ, Baew Preeyanont, Darmp Hungsasoot และ คนอื่นๆ อีก 59 คน
ความคิดเห็น 13 รายการ
แชร์ 2 ครั้ง
รักเลย
รักเลย
แสดงความคิดเห็น
แชร์

ไม่มีความคิดเห็น: