วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พิธีอธิษฐานพรรษา

 พิธีอธิษฐานพรรษา




เมื่อถึงวันเข้าพรรษาพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันในโรงพระอุโบสถ์ทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้ว เปล่งวาจาอธิษฐานพร้อมกันว่า
อิมสฺมิ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ (ว่า 3 หน)
แปลว่า ข้าพเจ้าจำพรรษาในอาวาสนี้ตลอด 3 เดือน
ดังนี้เมื่อออกจากโรงพระอุโบสถแล้วกลับไปถึงที่อยู่ คือ กุฏิ ทำความสะอาดปัดกวาดเรียบร้อยแล้ว ตั้งน้ำฉันไว้แล้ว กล่าวคำอธิษฐานพรรษาในกุฏิอีกว่า อิมสฺมิ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ (ว่า 3 หน)
แปลว่า ข้าพเจ้าจำพรรษาในกุฏินี้ตลอด 3 เดือน ดังนี้
ดังมีพิธีสำคัญอีกพิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นพิธีเกี่ยวเนื่องกับการเข้าพรรษาคือพิธีขอขมาโทษ วิธีปฏิบัติคือ พระผู้น้อยนำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปหาพระผู้ใหญ่ กล่าวคำขอขมาโทษ เป็นใจความว่า "ขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกินทางกาย วาจา ใจ เพราะความประมาท" แล้วพระผู้ใหญ่ก็กล่าวตอบเป็นใจความว่า "ข้าพเจ้าขอยกโทษให้แม้ท่านก็พึงยกโทษให้ข้าพเจ้า" พระผู้น้อยก็กล่าวว่า "ข้าพเจ้ายกโทษให้" เป็นอันว่าต่างฝ่ายต่างก็ยกโทษให้แก่กันและกัน เป็นวิธีสมานสามัคคีได้อย่างดียิ่ง พิธีขอขมาโทษนี้ทำภายหลังจากอธิษฐานพรรษาแล้ว
กราบอนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านนะครับ
ปกติทุกปีพวกเรามูลนิธิดวงแก้วฯจะพากันไปกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์เพื่อกราบทำวัตร ถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน สอบถามความเป็นอยู่ของครูบาอาจารย์ว่าสุขภาพแข็งแรงดีหรือไม่ ต้องการตรวจเช็คสุขภาพ หรือต้องการโอสถสำหรับอาการอาพาธใดๆหรือไม่ เสนาสนะที่จะจำพรรษาเรียบร้อยดีไหม ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรหรือไม่ และที่สำคัญที่สุดก็คือ การขอธรรมโอวาทจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์เพื่อที่จะได้น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติพัฒนาตนตลอดเข้าพรรษาในปีนั้นๆ และข้อปฏิบัติในคณะเราคือ แต่ละคนจะอธิษฐานปฏิญาณตั้งสัจจะในการปฏิบัติภาวนาเพิ่มเติมตลอดพรรษาอย่างน้อย1ข้อ เช่นต้องนั่งสมาธิ/เดินจงกรมทุกวันอย่างน้อย1ชม. หรือบางท่านอาจจะสวดมนต์บทพิเศษเช่น ธรรมจักร ทุกวันฯเป็นต้น การตั้งสัจจะนี้ ข้อสำคัญคือต้องตั้งใจจริง พยายามอย่างที่สุดที่จะรักษาสัจจะนั้นๆให้ได้ ในกรณีที่ทำไม่ได้ ให้มีบทลงโทษ เช่น วันนี้นั่งภาวนา1ชม.ไม่ได้ พรุ่งนี้แก้ตัวโดยนั่งรวมทบต้นเป็นสองชั่วโมงเป็นต้น หรือจะอดอาหารทั้งวัน หรือเนสัชชิกทดแทนที่ผิดสัจจะไปเป็นต้นครับ พวกเราจึงพยายามรักษาประเพณีของคณะเราไว้เสมอไม่ให้ลบเลือนจนลืมปฏิบัติไป

“โรคพราเดอร์-วิลลี่” (Prader-Willi syndrome, PWS)

 ลองสำรวจดูสิคะว่าพัฒนาการของลูกรักของคุณเป็นยังไง หากทารกน้อยหลับมาก ไม่ค่อยกิน น้ำหนักขึ้นน้อย เมื่ออายุได้ 6-9 เดือน จึงจะเริ่มตื่นตัวดี เริ่มกินได้ และกินมากเกินไป เนื่องจากไม่รู้จักอิ่ม ร่างกายจึงอ้วนผิดปกติ และมีพัฒนาการสติปัญญาล่าช้า นั่นเป็นไปได้ว่าเบบี๋ของคุณป่วยด้วย “โรคพราเดอร์-วิลลี



เป็นโรคหายากที่พบมากในบ้านเรา โดยโรคหายากมีทั้งหมดกว่า 7,000 โรค แม้แต่ละโรคอัตราการเกิดต่อโรคจะน้อย แต่เมื่อรวมผู้ป่วยโรคหายากทั้งหมดแล้วถือว่ามีจำนวนมาก

หากวินิจฉัยไม่ทันจะก่อให้เกิดความรุนแรงเรื้อรัง และอาจเสียชีวิตภายในขวบปีแรก (โรคเหล่านี้จะส่งผลต่อระบบสมอง ถ้ารักษาไม่ทัน อาจทำให้สมองถูกทำลายถาวร)




“โรคพราเดอร์-วิลลี่” (Prader-Willi syndrome, PWS)


“พราเดอร์-วิลลี” โรคที่ทำให้เบบี๋กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดทำให้เด็กมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่งผลให้ไม่มีแรงในการดูดนม มีการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จากนั้นพอเข้าสู่ช่วงวัยทารกตอนปลาย เด็กจะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้น เริ่มเดินได้และเริ่มอยากหม่ำอาหาร และกินตลอดเวลา กินไม่รู้จักอิ่ม อันเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนไฮโปทาลามัส ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก นำไปสู่ปัญหาจากความอ้วน เช่น โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ โรคปอด โรคหัวใจโต เป็นต้น

Mother and her baby

ส่วนลักษณะอาการอื่น ๆ ได้แก่ ทารกจะตัวอ่อน มักนอนนิ่ง ๆ ร้องเสียงเบา ๆ แต่อาการตัวอ่อนจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 6 เดือน มีพัฒนาการช้าด้านกล้ามเนื้อและด้านภาษา สำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญานั้นขึ้นอยู่กับไอคิวของตัวเด็กเอง ถ้าเด็กคนไหนที่ไอคิวต่ำ ก็จะมีพัฒนาการที่ต่ำกว่าปกติ ถ้าไอคิวสูง ก็จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวพ่อแม่จะต้องช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กด้วย

วิธีการดูแลเด็กกลุ่มนี้ที่ดีสุดคือ…

การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ พร้อมรับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะปรับในเรื่องโภชนาการต่างๆ เพราะในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีภาวะโภชนาการที่ต่ำกว่าปกติ และเมื่อเด็กโตขึ้นมาจะต้องดูแลเรื่องของอาหาร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและเลือกทานอาหารที่ไขมันต่ำ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ต้องการพลังงานเพียงร้อยละ 50 เท่านั้นหากเทียบกับเด็กปกติ

โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้จึงต้องดูแลในเรื่องของการกินและการควบคุมอาหารแทนเพื่อไม่ให้เด็กเกิดภาวะอ้วน

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก SMA


 โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก SMA

*โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคธาลัสซีเมีย เกิดจากความเสื่อมของ Motor neuron ทำให้สูญเสียการส่งสัญญาณจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อ
*เด็กช่วงอายุแรกเกิดถึง 6 เดือน ที่เป็นโรคนี้ มักมีโอกาสมีชีวิตอยู่รอดได้ไม่เกิน 2 ปี เท่านั้น
*การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและการตรวจยีนพาหะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงก่อนมีบุตร เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Spinal Muscular Atrophy (SMA)
เป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากความเสื่อมของ Motor neuron ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการส่งสัญญาณจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อ เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคธาลัสซีเมีย
ชนิดของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA
โรคนี้พบได้ตั้งแต่ในวัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ หากแสดงอาการตั้งแต่วัยทารกจะมีความรุนแรงสูงกว่า โดยโรคนี้แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA Type I :
ชนิดนี้มีความรุนแรงมาก อาการจะแสดงตั้งแต่ช่วงแรกเกิด – 6 เดือน โดยผู้ป่วยเด็กในช่วงอายุนี้จะไม่สามารถนั่งได้ และเด็กกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่รอดได้ไม่เกิน 2 ปี เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อในการหายใจอ่อนแรง จนทำให้การหายใจผิดปกติ
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง SMA Type II :
มีความรุนแรงปานกลาง แสดงอาการในช่วง 7 – 8 เดือน ผู้ป่วยเด็กในช่วงอายุนี้จะยืนไม่ได้ สามารถมีชีวิตอยู่รอดไม่เกิน 2 ปี เช่นกัน
Type III :
จะมีความรุนแรงน้อย และจะแสดงอาการในช่วงอายุหลัง 18 เดือนเป็นต้นไป
Type IV :
มักแสดงอาการในช่วงอายุ 18 ปีขึ้นไป ในระยะยาวผู้ป่วยอาจต้องนั่งรถเข็นเมื่ออายุราว 50 – 60 ปี
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษทั้งการดูแลการหายใจ กล้ามเนื้อปอด ระบบประสาท กระดูก ข้อต่อ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดและโภชนาการที่ถูกต้อง เด็กที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาด้วยเครื่องมือที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ อันเกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง ไขสันหลัง กระดูกและกล้ามเนื้อได้
การป้องกัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในเด็ก
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม รวมทั้งการตรวจยีนพาหะโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงก่อนมีบุตร เพราะโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมผ่านยีนด้อย ถ้าพ่อ-แม่ต่างเป็นพาหะ บุตรก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ถึง 1 ใน 4
การตรวจยีนโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก สามารถตรวจได้โดยการเจาะเลือด และสามารถทราบผลได้ภายใน 1 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นหรือไม่ได้เป็นพาหะ จะได้มั่นใจหรือวางแผนในการมีลูกต่อไปได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ
6 ม.ค.2560 เอฟดีเอหรือองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration: FDA) ประกาศอนุมัติการขายและให้ยา Spinraza หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Nusinersen เป็นครั้งแรก เพื่อรักษาโรคเส้นประสาทไขสันหลังเสื่อม หรือ SMA: Spinal Muscular Atrophy ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอ่อนแรง รวมถึงกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ ด้วย แม้จะหายาก แต่โรคนี้นับได้ว่า เป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กทารกติดอันดับต้นๆ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย
SMA โรคหายากแต่พบเจอง่าย
โรค SMA เกิดขึ้นในเด็กแรกเกิด 1 ต่อ 10,000 คน ส่งผลทำให้เกิดการส่งนำประสาทที่ไม่สมบูรณ์ จนร่างกายอ่อนแรง และขยับไม่ได้ โรคนี้มี 4 ขั้น วัดจากความรุนแรงของโรค เช่น เด็กที่เป็นขั้นที่ 1 จะไม่สามารถนั่งหรือแม้แต่หายใจได้ ในขณะที่เด็กที่เป็นขั้นที่ 4 อาจแทบไม่ได้รับผลกระทบใดเลย อย่างไรก็ดี คนที่เป็นโรคนี้ แม้จะเป็นในขั้นที่อาการไม่หนัก แต่ก็มีแนวโน้มว่า อาการจะแย่ลงอย่างช้าๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น
หากอธิบายอย่างง่าย ร่างกายของคนทั่วไปจะมียีน 2 ตัว ที่ผลิตโปรตีนเพื่อควบคุมระบบประสาทสั่งการกล้ามเนื้อ ได้แก่ SMN1 ตัวหลัก และ SMN2 ตัวสำรอง (SMN: Survivor Motor Neuron Genes) โรค SMA เกิดจากการไม่มียีน SMN1ที่ผลิตโปรตีนเรียกว่า เซอไวเวอร์ มอเตอร์ นิวรอน โปรตีน (Survivor Motor Neuron Proteins) เพื่อควบคุมระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ เมื่อไม่มีจึงทำให้ไม่สามารถสั่งการกล้ามเนื้อได้ ร่างกายจึงอ่อนแรงและสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว
อย่างไรก็ดี คนที่เป็นโรค SMA จะมี SMN2 ซึ่งเป็นตัวสำรองอย่างน้อย 1 ก๊อปปี้ จึงอาจเรียกได้ว่า ยีนนี้เป็น ‘ยีนสำรอง’ เพราะยีน SMN2 ในคนที่เป็นโรค SMA ทำหน้าที่แทน SMN1 แทบทุกอย่าง ซึ่งรวมถึงการสร้างโปรตีนในร่างกายทั้งหมดด้วย
‘ยา’ ความหวังของครอบครัว SMA
ตลอดเวลาที่ผ่านมา พ่อแม่อาจรู้จักโรค SMA ว่า เป็นโรคแห่งการรอความตาย หรือโรคที่รักษาไม่หาย เพราะอาการที่เกิดขึ้นมักรุนแรง และเด็กที่เป็นมักเสียชีวิตก่อนเป็นวัยรุ่น ยาที่เกิดขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้รักษาตัวโรคให้หายขาด แต่ก็นับว่าเป็นความหวังที่เริ่มต้นได้สวยสำหรับครอบครัว SMA
ยานี้ถูกปล่อยออกมาในชื่อ Spinraza ภายใต้การทดลองและควบคุมของบริษัท ไอโอนิส ฟาร์มาซูติคอล (Ionis Pharmaceuticals) ร่วมกับบริษัท ไบโอเจน (Biogen) โดย Spinraza เป็นที่รู้จักครั้งแรกในชื่อ IONIS-SMNRx และ nusinersen และชื่อปัจจุบันตามลำดับ
หลังการประกาศของเอฟดีเอ นอกจากจะสร้างความยินดีแก่ครอบครัว นักวิจัย บริษัทยาและองค์การอาหารและยาแล้ว ยังเหมือนเป็นความสำเร็จแรก หลังจากมีความพยายามในการรักษาโรคนี้อย่างยาวนาน จากผลการทดลองในเด็กเล็ก 82 คน ได้รับยาจริงและยาหลอกอย่างละครึ่ง พบว่าร้อยละ 40 มีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น สามารถนั่งได้ คลานได้หรือเดินได้ นอกจากนี้ ยายังสามารถใช้ได้กับผู้ป่วย SMA ทุกคนในทุกช่วงวัย โดยไม่มีข้อบ่งชี้เพิ่มเติม
“เป็นเรื่องน่ายินดีมาก เป็นเวลานานแล้วที่เราเฝ้ารอการรักษาของโรค SMA ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่คร่าชีวิตทารกแรกเกิดมากที่สุด นอกจากนี้มันยังเกิดกับคนได้ทุกช่วงวัย ซึ่งก่อนหน้านี้มีความพยายามอย่างมากเพื่อให้นักวิจัยศึกษาหาทางรักษาโรคดังกล่าว” บิลลี ดัน ผู้อำนวยการศูนย์โรคระบบประสาทเพื่อการพัฒนาและวิจัยยาของเอฟดีเอกล่าว
การต่อสู้ที่ยาวนานของชุมชนผู้ป่วย SMA
จิล จาเรคคี ผู้บริหารระดับสูงของเว็บไซต์ Cure SMA กล่าวว่า เหตุการณ์นี้เป็นแลนมาร์คที่สำคัญของความทรงจำเกี่ยวกับ SMA ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา เว็บไซต์และครอบครัวผู้ป่วยพยายามอย่างมากเพื่อผลักดันให้เกิดยารักษา และต้องการที่จะแชร์ความสำเร็จนี้ออกไปให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับผลกระทบ
เว็บไซต์สนับสนุนทุนในการวิจัยโรค ตั้งแต่ปี 2003 เพื่อให้โรคนี้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักวิจัย โดยมีนักวิจัยจากหลายที่ร่วมกัน หนึ่งในนั้นได้แก่ ราวินดรา สิงห์ และเอลเลียต แอนโดรฟี จากมหาวิทยาลัยแมซซาชูเซส ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์ พวกเขาหาสาเหตุและระบุชนิดของยีนที่เป็นปัญหา ได้แก้ยีน ISSN1 ซึ่งผลการวิจัยนี้ เป็นต้นกำเนิดของยาสปินราซา ภายใต้ชื่อของบริษัท ไอโอนิส ฟาร์มาซูติคอล
นอกจากนี้ ผู้ร่วมพัฒนาคนสำคัญอย่างไบโอเจน ก็เป็นส่วนสำคัญทั้งในด้านการพัฒนาและควบคุมการทดลองซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้การวิจัยเป็นไปได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ไบโอเจนยังมีฐานข้อมูลที่แน่นหนาซึ่งช่วยซัพพอร์ทงานวิจัยได้ รวมทั้งการพัฒนานี้จะสำเร็จไปไม่ได้ หากขาดอาสาสมัครและครอบครัวที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการทดลองยา ทั้งกลุ่มที่ใช้ยาจริง และยาปลอม
ตั้งแต่ปี 2003 Cure SMA ได้รับเงินกว่า 500,000 ดอลล่าสหรัฐฯ จากคนทั่วไป เพื่อสนับสนุนการวิจัยยาสำหรับผู้ป่วย SMA กระทั่ง ก.ค.2010 บริษัท Ionis หรือที่ในตอนนั้นชื่อว่า Isis Pharmaceuticals ก็ได้รับอนุญาตให้เริ่มคิดค้นและทดสอบยาดังกล่าว และมีการทดลองในขั้นที่ 1 ในอีกปีต่อมา ไบโอเจนได้เข้ามาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ในการทดลองเมื่อปี 2012 และยาได้ก้าวเข้าสู่การทดลองขั้นที่ 2 ในอีกหนึ่งปีถัดมา ตลอดช่วงปี 2013- 2016 บริษัทได้ทำการทดลองอย่างหนัก และมีการทดลองจริงกับเด็กที่ป่วยด้วยโรค SMA ทั้งชนิดที่ 1 และ 2 และในเดือน ก.ย. 2016 ยาตัวนี้ก็ถูกส่งรอการพิจารณาใช้จากเอฟดีเอและได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา
Spinraza พัฒนาโดยบริษัท Ionis Pharmaceuticals ภายใต้ใบอนุญาตของบริษัทไบโอเจน แม้ราคาของยาจะไม่ถูกเปิดเผย แต่ก็มีการคาดการณ์ว่า จะอยู่ระหว่าง $225,000 ถึง $250,000 ต่อปี อ้างอิงจากบทความของ ไมเคิล ยี นักวิเคราะห์ของอาร์บีซี ที่วิเคราะห์ว่า ยาตัวนี้จะเป็นยาที่เจาะตลาดและน่าจะทำตลาดได้ดีในกลุ่มยาโรคหายาก ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตเองก็ให้คำมั่นด้วยว่า นอกเหนือจากผลิตยาแล้ว ยังจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาเรื่องโรค เรื่องยา การทำประกันและที่ปรึกษาทางการเงิน
แม้จะน่ายินดี แต่ Spinraza ก็ยังมีผลข้างเคียง อ้างอิงจากข้อมูลรายงานของเอฟดีเอที่ระบุว่า ให้ใช้ยาอย่างระมัดระวังหากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เพราะยานี้อาจเพิ่มภาวะการไหลของเลือด และเกิดภาวะไตเป็นพิษ จึงต้องได้รับการตรวจค่าโปรตีนก่อนที่จะได้รับยาในแต่ละโดส นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยยามีแนวโน้มที่จะมีภาวะปอดติดเชื้อมากขึ้น เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้อาจทำให้หลายคนกังวลใจ
อย่างไรก็ดี ไอโอนิส ผู้ผลิตกล่าวว่า ในการทดลอง ยาดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดมากพอจนทำให้เกิดผลข้างเคียงต่ออวัยวะ เช่น ไต หรือระบบเลือด และไม่มีผลทำให้เกิดภาวะไตเป็นพิษ นอกจากนี้บริษัทได้อธิบายถึงการพบโปรตีนในปัสสาวะและภาวะปอดติดเชื้อว่า โปรตีนของผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยานั้นจะมีอายุยืนยาวกว่า จนทำให้ดูเหมือนว่า พวกเขาประสบปัญหาปอดติดเชื้ออยู่เรื่อยๆ