วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

พุทธาภิเษก

พิธีพุทธาภิเษก
ที่มา : นาวิกศาสตร์ ISSN 0125-4324 ปีที่ 91 ฉบับที่ 12 

    พิธีพุทธาภิเษก คือ พิธีการปลุกเสกประจุพุทธคุณลงในวัตถุมงคล (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๗๙๕ และพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด
“ คำวัด ” โดยพระธรรมกิตติวงศ์ หน้า ๗๐๐)
    โดยใช้พุทธคุณซึ่งมีอยู่ในบทพุทธปริตร หรือ บทพุทธมนต์ หรือโดยใช้สมาธิจิตที่เกิดจากปฏิบัติกรรมฐาน ประจุลงในวัตถุมงคล ต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปจำลอง รูปจำลองพระเกจิอาจารย์ พระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์-พระราชวงศ์ รูปเทพเจ้า รูปผู้ที่ควรสักการบูชา ปูชนียวัตถุต่าง ๆ ฯลฯ     มิได้หมายถึงพิธีการปลุกเสกเฉพาะพระพุทธรูป จำลองอย่างเดียว
    
ดังนั้นไม่ว่าจะปลุกเสกวัตถุมงคลประเภทใดเรียกว่า พิธีพุทธาภิเษก เหมือนกันหมด โดยเรียกชื่อพิธีตามวัตถุมงคลนั้น ๆ เช่น พิธีพุทธาภิเษก พระพุทธพรประทานราชนาวี พิธีพุทธาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช พิธีพุทธาภิเษกรูปจำลององค์จตุคามรามเทพ ฯลฯ     และมีความเชื่อว่า วัตถุมงคลที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ย่อมกลายเป็นวัตถุมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องกันภัยอันตรายและ ให้เกิดความ สวัสดีมีชัยได้
    ปัจจุบันมีศัพท์เรียกพิธีกรรมดังกล่าวงอกขึ้นใหม่และนำมาเรียก ใช้กันทั่วไป เช่น พิธีมังคลาภิเษก พิธีเทวาภิเษก เป็นต้น โดยอาจมีความประสงค์ให้เรียกชื่อพิธีตรงตามวัตถุมงคลนั้นๆ ดังนี้
    - พิธีพุทธาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระพุทธรูปจำลอง และรูปจำลองพระเกจิ อาจารย์ทั้งหลาย
    - พิธีมังคลาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ เช่น สมเด็จพระปิยมหาราช พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นต้น
    - พิธีเทวาภิเษก คือพิธีปลุกเสกรูปจำลองเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระพรหม องค์ จตุคามรามเทพ พระพิฆเณศร์ เป็นต้น
    บางกรณีนำวัตถุมงคลต่าง ๆ มาปลุกเสกในคราวเดียวกันก็มักเรียกพิธีรวมกันก็มี เช่น พิธีพุทธมังคลาภิเษก พิธีพุทธเทวาภิเษก พิธีมังคลเทวาภิเษก เป็นต้น ศัพท์ที่ใช้เรียกพิธีตามวัตถุมงคลต่างๆ ดังกล่าวแม้จะไม่ตรงกับคำเดิมที่ให้ใช้คำว่า พิธีพุทธาภิเษก แต่พิธีการปฏิบัติเหมือนกันทุกพิธี

    พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลทุกประเภท มีหลักการปฏิบัติดังนี้
    ๑. เครื่องใช้ในพิธี
      ๑.๑ โต๊ะหมู่บูชา พร้อมดอกไม้ธูปเทียน
      ๑.๒ เครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์
           - เครื่องรับรองพระสงฆ์เช่นเดียวกับงานมงคลทั่วไป
           - ตั่ง/ที่นั่งพระมหาเถระประธานฝ่ายสงฆ์
           - อาสน์สงฆ์พระเจริญพระพุทธมนต์ ๙ รูป (พิธีหลวงหรือพิธีทาง ราชการ ๑๐ รูป)
           - อาสน์สงฆ์พระสวดภาณวาร ๔ รูป
           - ตั่ง/ที่นั่งพระเกจิอาจารย์/พระเถระภาวนาจารย์ ๙ รูป(หรือตามความประสงค์)
    จัดให้นั่งรอบวัตถุมงคล
      ๑.๓ เครื่องประกอบพิธีพุทธาภิเษก
           - เทียนวิปัสสี ไส้เกินอายุผู้จุด ๑ เล่ม
           - เทียนมหามงคล หนัก ๘ บาท ๒ เล่ม
           - เทียนนวหรคุณ หนัก ๑ บาท ๙ เล่ม
           - เทียนเงินเทียนทอง ๒ เล่ม
           - เทียนชัย ไส้ ๑๐๘ เส้น หนัก ๘๐ บาท สูงเท่ากับเจ้าของพิธี ๑ เล่ม
       (ปักในตู้เทียนชัย)
           - เทียนพุทธาภิเษก หนัก ๓๒ บาท ๒ เล่ม
           - เทียนที่เครื่องกระบะมุก ๑ ชุด
           - ขันสาครใส่น้ำมนต์ ๒ ใบ (ปักเทียนพุทธาภิเษกไว้ตรงกลาง)
           - สายสิญจน์รอบปริมณฑล ขึงเป็นตาข่ายห่างกัน ๑ ช่วงแขน
           - ฉัตรขาว ๕ ชั้น ๖ ต้น ขนาดความสูงตามความเหมาะสมปัก ๔ มุมและ
     ซุ้มประตูทางเข้า
           - ราชวัติ ๔ มุม (๘ ข้าง ยาวข้างละ ๑ เมตร)
           - โต๊ะวางวัตถุมงคลพร้อมปูผ้าขาว ขนาดโต๊ะสูงกว่าที่นั่งพระสงฆ์ตามสมควร
           - พลู ๗ ใบ ซ้อนกันสำหรับดับเทียนชัย
           - บาตรใส่น้ำมนต์สำหรับพระเกจิอาจารย์/พระเถระภาวนาจารย์นั่งปรก ครบทุกรูป
      
๑.๔ เครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธีทั้งหมด

   
๒. ลำดับพิธี
       การกำหนดลำดับพิธีแต่ละพิธีนั้นอาจจะแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานที่และผู้ เป็นประธานในพิธี แต่ลำดับพิธีการปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ในที่นี้ขอนำกำหนดการพิธีมังคลาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช(ขณะนั้นเรียกพิธีมังคลาภิเษก) เมื่อ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ ณ ท้องพระโรง พระราชวังเดิมมาเป็นตัวอย่าง

    กำหนดการ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมังคลาภิเษกพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวันเสาร์ที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ท้องพระโรง พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร
    เวลา ๑๔.๐๐ น.
    - ผู้ร่วมพิธีและผู้มีเกียรติพร้อมบริเวณท้องพระโรงชั้นนอก
    - พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ๑๐ รูป ขึ้นสู่อาสน์สงฆ์
   เวลา ๑๔.๐๕ น.
   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ถึงบริเวณพิธี
   เวลา ๑๔.๑๐ น.
   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ประธานมูลนิธิฯ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้เกี่ยวข้องเฝ้ารับเสด็จ
   เวลา ๑๔.๒๐ น.
   - สมเด็จพระสังฆราช เสด็จถึงบริเวณพิธี แล้วเสด็จไปประทับ ณ ที่รับ รองบริเวณท้องพระโรงชั้นนอก

   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาสจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเข้าเฝ้า ถวายเครื่องสักการะ แด่สมเด็จพระสังฆราช
   - พระเถระประธานสงฆ์ให้ศีล จบ
   - ประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กล่าวถวายรายงานแล้วกราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชทรงเจิมและทรงจุดเทียนชัย
   - สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิมและทรงจุดเทียนชัย (ประธานมูลนิธิ ถวายกระปุกแป้งเจิมและเทียนชนวน ขณะทรงจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัย พนักงานพราหมณ์ประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์)
   - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
   - ประธานมูลนิธิ จุดเทียนวิปัสสี เทียนมหามงคลและเทียนนวหรคุณ (ขณะพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ขึ้นบท พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ฯลฯ)
   - สมเด็จพระสังฆราช ทรงนั่งอธิษฐานจิต เจริญบริกรรมภาวนา
   - พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จบ
   - ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส ถวายเครื่องไทยธรรมแด่สมเด็จพระ สังฆราช
   - ประธานมูลนิธิ ถวายเครื่อง ไทยธรรมแด่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ทั้ง ๑๐ รูป
   - พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส กรวดน้ำ
   - ประธานมูลนิธิ กราบทูลเชิญ เสด็จประพรมน้ำพระพุทธมนต์
   - สมเด็จพระสังฆราช ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ และเสด็จกลับ       (ประธานมูลนิธิ และผู้เกี่ยวข้อง ส่งเสด็จ)
   - พระสวดภาณวาร ๔ รูป และพระเถระภาวนาจารย์ ๙ รูป เข้านั่งประจำ ที่
   - ประธานมูลนิธิจุดเทียนที่เครื่อง กระบะมุก และเทียนพุทธาภิเษกที่ขันสาคร ข้างตู้เทียนชัย
   - พระสวดภาณวาร สวดคาถาพุทธาภิเษก
   - พระเถระภาวนาจารย์ นั่งปรก จบ เวลา ๑๕.๒๙ น.
   - พระเถระภาวนาจารย์อาวุโส ประกอบพิธีดับเทียนชัย (พระสงฆ์เจริญ คาถาดับเทียนชัย)
   - ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระสวดภาณวารและพระเถระภาวนาจารย์
   - พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ   - เสร็จพิธี

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560


กำหนดการ พิธีทอดผ้ากฐิน
และ พิธีปั้นพระเจ้าทันใจ
พระปิยพุทธบรมไตรโลกนาถ  ปางยืนภาวนา
และ พิธีสมโภชเปิดพระบรมธาตุเจดีย์ ญาณสังวรานุสรณ์
ณ วัดป่าบัวแก้ว ญาณสัมปันนุสรณ์
วันที่ 22-23 ตุลาคม 2560

 ( การแต่งกาย : ชุดขาว และขอเชิญร่วมถือศีลปฏิบัติธรรม )

วันอาทิตย์ที่22 ตุลาคม 2560

ช่วงกลางคืน : ขั้นตอนพิธีกรรม : ตี 1  เวลา (โดยประมาณ                 
00.19น.    พิธีบวงสรวง โดย อาจารย์บาง และคณะ
จัด ธูป เทียน บูชาบนโต๊ะเครื่องบวงสรวง
 โดย  พล.ร.ต.ปิโยรส -พล.ร.ต.หญิง สพฤดี ปรียานนท์ (ประธานฝ่ายฆราวาส )
           -     อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร (โดย มัคนายก)และร่วมกันรับศีล
00.39น.      พิธีวางอิฐฤกษ์ ปั้นพระเจ้าทันใจ พระปิยพุทธบรมไตรโลกนาถ
ประธานฝ่ายสงฆ์   พระอาจารย์บุญมี ธัมมรโต  วัดป่าศรัทธาถวาย
ประธานฝ่ายฆราวาส       พล.ร.ต.ปิโยรส พล.ร.ต.หญิง สพฤดี ปรียานนท์
ลั่นฆ้องชัย เริ่มปั้น พระเจ้าทันใจ  พระปิยพุทธบรมไตรโลกนาถ ปางยืนภาวนา
                พระสงฆ์ 5 รูป เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา
        โดย ประธานฝ่ายสงฆ์     พระอาจารย์บุญมี ธัมมรโต 
         - หลังจากนั้นคณะศรัทธาประชาชนสวดตามบทสวดที่เตรียมไว้ 
(พร้อมกับเปิดCDประกอบ)   
                    *   สวดธรรมจักรกัปวัฏนสูตร
                    *   สวดชินบัญชร
                 *   สวดคาถามหาจักรพรรดิ์
                 *   สวดชัยมงคลคาถา (สวดพาหุงฯ)
                 *   สวดชัยใหญ่
                 *   สวดบารมี 30 ทัศ
                 *   สวดอิติปิโส
                 *   สวดชยันโต
07.00น.      พระภิกษุสงฆ์รับบิณฑบาตที่ลานพระเจดีย์
07.30น.      ถวายจังหันแด่พระภิกษุสงฆ์
08.00                   ผู้ร่วมพิธีร่วมรับประทานอาหาร
09.30น.      พิธีถวายผ้าพระกฐิน  แด่สงฆ์ ณ วัดป่าบัวแก้วฯ
                   เจ้าภาพกฐินสามัคคี-
รร.บางกอกพัฒนา+คุณแม่จิตต์สมรอุดหนุนและครอบครัว
11.30                   ร่วมรับประทานอาหาร

15.39น.     พิธีบรรจุหัวใจพระเจ้าทันใจ
( รวมทั้งวัตถุมงคล สิ่งของมีค่า ไว้ในองค์พระเจ้าทันใจ)
  ประธานฝ่ายสงฆ์ พระอาจารย์บุญมี ธัมมรโต                       
พ่อแม่ครูจารย์บุญมี เมตตาจุดเทียนชัยมงคล
-เทียนนวโลกุตระเป็นเทียนหนัก 2 บาท 9 เล่ม
และบรรจุหัวใจของพระเจ้าทันใจ
                            

18.19 น.     พิธีพุทธาภิเษกฉลองพระเจ้าทันใจ 
สวดมนต์สมโภชองค์พระบรมธาตุเจดีย์
                   - ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป (จัดดอกไม้ ธูป-เทียน)
- พระสงฆ์ เจ้าภาพ และคณะศรัทธา ทายกทายิกา มาพร้อมกัน  ณ บริเวณพิธี
                   - จุด ธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย (เทียน ซ้าย ขวา )
 โดย  พล.ร.ต.ปิโยรส -พล.ร.ต.หญิง สพฤดี ปรียานนท์
(ประธานฝ่ายฆราวาส )
                   -  ไหว้พระ รับศีล
                   - นิมนต์ พระเถระในพิธีเป็นประธานเป็นผู้เจิมและจุดเทียนชัย
ตรงบริเวณด้านหน้าที่ตั้งองค์พระเจ้าทันใจ (เตรียมเทียนชัย 1 เล่ม  โดยจุดตลอดไปจนถึงเวลาสิ้นพิธีแล้วจึงดับเทียน)
                   - จุดเทียนมงคลชัย ซ้าย-ขวา ข้างตู้เทียนชัย 
ตรงบริเวณด้านหน้าที่ตั้งองค์พระเจ้าทันใจ (ใช้เทียนหนัก 32 บาท 1 คู่ & เตรียมขันใส่น้ำ 2 ใบ ลอยด้วยดอกบัว 9 ดอก/ขัน (รวม 18 ดอก)จุดเทียนโดย พล.ร.ต.ปิโยรส -พล.ร.ต.หญิง สพฤดี ปรียานนท์ (ประธานฝ่ายฆราวาส )            
- นิมนต์พระสงฆ์ประธานโครงการฯ จุดเทียนโสฬสมงคล
(จำนวน 16 เล่ม )โดย       พระอาจารย์บุญมี ธัมมรโต                
- เมื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทุกอย่างจนครบถ้วนบริบูรณ์ดีแล้ว ก็ถือว่าเสร็จสิ้นพิธี สำหรับ พิธีพุทธาภิเษก ต่อด้วยทำวัตรเย็น –สวดมนต์ และรับฟังพระธรรมเทศนาตลอดคืน

จันทร์ 23 ต.ค. 60     -พิธีเปิดพระบรมธาตุเจดีย์ ญาณสังวรานุสรณ์
-ฉลองพระเจ้าทันใจ -พระปิยพุทธบรมไตรโลกนาถ-

05.39น.              พิธีเบิกเนตรพระเจ้าทันใจ พระปิยพุทธบรมไตรโลกนาถ
                        - ถึงเวลาใกล้รุ่ง (ประมาณตี 5) พระสงฆ์พร้อมกันสวดเบิกพระเนตร
- นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป สวดเบิกพระเนตร
                        -  เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบท อะวิชชาปัจจะยา
ประธานสงฆ์จุดเทียนประจำ   แว่นตาพระเจ้า 9 เล่ม
“แว่นตาพระเจ้า ถือเป็นเครื่องสักการะที่ใช้ในการสมโภชน์พระพุทธรูป ในพิธีกรรมจะใช้กระจกหรือแก้วสะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่ดวงเนตรพระพุทธรูป เป็นการแสดงถึงการปลุกให้ตื่นหรือเบิกพระเนตร แก้วกระจกสามดวง หมายถึง ญาณทั้งสามของพระพุทธองค์ในการตรัสรู้ คือ ปฐมยาม การระลึกชาติได้ มัชฌิมยาม การมองเห็นโลกมนุษย์ สวรรค์ นรก และปัจฉิมยาม คือการดับกิเลสทั้งมวล”
-      และเปิดผ้าขาวที่ปิดพระพักตร์ ( พระเศียร ) ของพระเจ้าทันใจออก พร้อมกับแกะขี้ผึ้งที่ปิดพระเนตร และที่ปิดพระโอษฐ์ออกให้หมด
-      ในขณะที่แกะขี้ผึ้งออกนั้น ให้บริกรรมพระคาถาว่า               สะหัสสะเนตโต เทวินโต เนตโต ทิพพะจักขุง วิโสธายิ พุทธายะ พุทธะจักขุ ธัมมะจักขุ สังฆะจักขุ ทะวายะ สะวาหะ ฯ 3 จบ
-      แล้วเอาน้ำมันจันทน์เช็ดที่พระเนตร และพระโอษฐ์ เอาพัดหางนกยูงพัดวี 3 ครั้ง แล้วเอา แว่นสายตาพระเจ้า แกว่งตรงหน้าพระพุทธรูป เสร็จแล้วกลับหน้าแว่นออกมาด้านนอกทุกใบฯ
-      เมื่อพระสงฆ์สวดเบิกพระเนตรจบลงให้เจ้าภาพ คณะศรัทธา ทายกทายิกา ตีฆ้อง  เพื่อสักการะบูชา พระเจ้าทันใจ
-      และเมื่อรุ่งอรุณมาถึง ก็ถึงเวลาโอกาสถวายข้าวมธุปายาส 49 ก้อน แด่พระเจ้าทันใจ โดยให้หญิง ที่สมมติเป็นนางสุชาดา เป็นผู้นำไปประเคน พระสงฆ์ผู้เป็นประธาน
-      เสร็จแล้วให้พระสงฆ์ นำไปถวายพระเจ้าทันใจทีหนึ่ง
-      เมื่อถวายข้าวมธุปายาสเสร็จแล้ว พระสงฆ์สวดคาถาดับเทียนชัย
-       
***** เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธี และเจตนาอันบริสุทธิ์ตามโบราณประเพณีแล้ว ก็จะเป็นศรีสง่าแก่พระพุทธศาสนา และเป็นอุดมมงคลแก่บรรดาพุทธบริษัท ผู้มากราบไว้ไปชั่วนิรันดร์กาลแลฯ

07.00น.                พระสงฆ์รับบิณฑบาต บริเวณองค์เจดีย์(บันไดทางขึ้น)
08.00น.                ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์     บริเวณองค์เจดีย์
08.39น.                พล.ร.ต.ปิโยรส -พล.ร.ต.หญิง สพฤดี ปรียานนท์
กล่าวนำถวายพระเจ้าทันใจ พระปิยพุทธบรมไตรโลกนาถ  ปางยืนภาวนาและผ้าป่าร่วมสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์ “ญาณสังวรานุสรณ์”                           
11.19 น.             -พิธีเปิดพระบรมธาตุเจดีย์ “ ญาณสังวรานุสรณ์”
                             ในวาระการสวรรคตของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จครบ 4 ปี
คณะสงฆ์ คณะกรรมการ และแขกผู้มีเกียรติ ให้การต้อนรับประธานสงฆ์ในพิธี
พระธรรมมงคลวุฒาจารย์ ปูชนียฐานประยุต วิสุทธิสีลาจารวิมลสกล      ภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อดีตเลขานุการ ในองค์   สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก
เดินทางถึงพระบรมธาตุเจดีย์ พักผ่อน   ณ ที่นั่งประธานในพิธี
                   ประธานมูลนิธิดวงแก้วฯ กล่าวรายงาน เสร็จแล้วกราบอาราธนา
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
11.19 น.           ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
                   พิธีกร กล่าวคำอาราธนาศีล อาราธนาพระปริต
                   พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์-ชัยมงคลคาถา
11.39 น.     ประธานโครงการเทิดพระเกียรติ พระอาจารย์ บุญมี ธัมมรโต
นำ พระธรรมมงคลวุฒาจารย์ ไปยัง พระบรมธาตุเจดีย์ 
ญาณสังวรานุสรณ์เพื่อทำพิธีเปิด พร้อมบรรจุพระธาตุของ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในองค์พระเจดีย์  เสร็จแล้ว นำชมภายใน
องค์พระเจดีย์เสร็จแล้วเข้าที่พัก ณ ปะรำพิธีภายนอก
11.59 น.     พิธีกรเบิกผู้มีอุปการคุณจำนวน19ท่านเข้ารับของที่ระลึกจากประธาน
12.29 น.     คณะกรรมการกราบถวายปัจจัยไทยธรรม พร้อมฉลากภัต แด่ท่านเจ้าคุณธรรม ฯ และพ่อแม่ครูอาจารย์ที่มาร่วมพิธี เสร็จแล้วพระสงฆ์กล่าวสัมโมทนียคถาและให้พร

***เจ้าภาพสลากภัตนำไทยธรรมกราบถวายพระสงฆ์ที่จับฉลากของตนได้พร้อมนำส่งประธาน และพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เมตตามาร่วมงานเพื่อเดินทางกลับ
12.30 น.               เสร็จพิธี  แขกผู้มีเกียรติ เรียนเชิญรับประทานอาหารร่วมกัน
 


                           

ปฏิจจสมุปบาท

มหาขันธกะโพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ

[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-

พุทธอุทานคาถาที่ ๑
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม
พร้อมทั้งเหตุ.

[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-

พุทธอุทานคาถาที่ ๒
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความ
สิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.

[๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-

พุทธอุทานคาถาที่ ๓
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
กำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย
ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.