วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กิจกรรมมูลนิธิดวงแก้ว ปี2550

กิจกรรมปี 2550
-1**บริจาคเสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว เครื่องเขียนอุปกรณ์การเรียน เครื่องอุปโภค -
บริโภคสำหรับของขวัญปีใหม่เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนใน ถิ่นทุรกันดาร
ในเขตทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี



รูปกิจกรรมตรวจเยี่ยมรร. มอบของขวัญ ให้เด็กๆ คุณครูและชาวบ้าน
ถวายปัจจัยไทยธรรมพระปฏิบัติในพื้นที่
2-**ถวายเครื่องกันหนาวครูอาจารย์
10-12 พย. 11วัดป่าสายพระกรรมฐาน ณ จ. เชียงใหม่ ลำพูน 11วัด

24-26 พย.11วัดป่าสายพระกรรมฐาน ณ จ.เพชรบูรณ์ พิจิตร เลย 11วัด
4-6 ธค. 11วัดป่าสายพระกรรมฐาน ณ จ.อุดร สกลนคร หนองคาย 16วัด


3**การสร้างอาคารที่พักเด็กนักเรียนชายและหญิง ณ รร.บ้านถ้ำ
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่หลังละ ประมาณ 250,000บาท จำนวน 2หลัง+อาคาร ห้องน้ำ1หลัง
สภาพอาคารที่พักเดิม


4. 7-22เมษายน บวชพระ6รูป ที่วัด มกุฏฯ อบรมที่วัชรธรรมยกเว้น11-16เม.ย ธุดงค์ที่ต่างจังหวัด 22เม.ย.ลาสิกขาบท 4รูป 2รูป บวชต่อยังไม่มีกำหนด


5.บวชลูกแก้ว
ณ วัดป่ามณีกาญจน์ ของท่านอ.สาคร ณ ซ.วัดพระเงิน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี มีพิธี ลงเสาเอกศาลาปฏิบัติธรรม 1กพ.งานนี้มูลนิธิร่วมด้วย 10 ต้น 100,000บาท มูลนิธิร่วเป็นเจ้าภาพบวชลูกแก้วฤดูร้อน30รูป ถวายบาตร7" 30ใบ (@1500บ.)

6.ฉลองอุโบสถ วัดเขาจันทร์งาม โคราช สาขาวัดหนอป่าพง 34
พระอาจารย์ประเสริฐ ฉลองอุโบสถใหม่ วิสาขะนี้ เราได้ทำย่ามถวายพระที่มาร่วมงาน 300ใบ ๆละ350บาท มูลนิธินำไปถวายที่วัด 29พค.นี้ครับ
7.ถวายผ้าป่าพระอจ.อินทร์ถวาย วัดป่านาคำน้อย สร้างตึกพักสงฆ์
รพ.ศรีนครินทร์ขอนแก่น ณ ธรรมวิภาวัน 3มิย. 1ล้านบาท ดูรูปที่ ธรรมวิภาวัน
8.พิธีครบ 5 ปีวัชรธรรมสถาน 22กค.50 ทอดผ้าป่าสงเคราะห์โลก
ถวายหลวงตามหาบัว4.7แสนบาท+ทองคำ39บาท
9.ร่วมสร้างอาคารที่พักญาติและที่พักผู้ป่วย ณ รพ. ยางตลาด
จ.กาฬสินธุ์ อาคารที่กำลังสร้าง ปัจจุบันเสร็จแล้วครับ 29กค.50
"ศาลาดวงแก้วรวมใจ" เป็นที่พัก+อเนกประสงค์+ห้องน้ำ
เมื่อเสร็จ
10.ร่วมสร้างอาคารที่พักสงฆ์ ณ วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดียติดกับพระมหาเจดีย์ตรัสรู้พุทธคยา จัดผ้าป่าถวายท่าน อจ.จิ๋ว ณ ธรรมวิภาวัน ปากน้ำ23ตค.ที่ผ่านมาถวายไปแล้วนะครับ600000บาท มีผู้ไปร่วมประมาณ30ท่านครับคุณเบญจวรรณร่วมสร้าง1ห้อง2.5แสนบาทจึงรวมเป็น850,000บาทครับ อนุโมทนาครับ

11. ถวายวัดนครทิพย์ โพธาราม ราชบุรี ในงานกฐิน28ตค.50 อุโบสถประมาณ2.5ล้านบาท ห้องน้ำ 250,000 เปลี่ยนหลังคาศาลาเดิม300,000 รั้วและประตู 100,000 โรงรถ 100,000 ปรับปรุงอาคารปฏิบัติธรรมเดิม100,000โรงอาหารโรงครัว300,000กุฏิ200,000
ปัจจัยร่วมสร้างในงานกฐิน240,000บาทถวายพระสงฆ์ไปนะครับ




ทอดผ้าป่าวัดสันติธรรมาราม พระอจ.สงบหลังงานทอดกฐินฟังธรรมอย่างยาว2ชม.ครึ่ง

12.กฐินประจำปีมูลนิธิดวงแก้ววัดป่าพิมาย+ผ้าป่า7วัด10-10พย.50



13.สร้างอาคารพยาบาล(ดวงแก้วรวมใจ) ณ รร.เทพาลัย อ.คง โคราช

14.ไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องเขียน ตำราเรียน ของใช้สำหรับพระสงฆ์ ให้กับเด็กๆนร.และชาวบ้านที่ขาดแคลนและพระสงฆ์ที่ตั้งใจปฏิบัติภาวนาในพื้นที่อ.ดงหลวงเขตอำเภอต่อระหว่าง จ.มุกดาหารและ จ.สกลนคร
มีเด็กๆ 1800คน ชาวบ้าน 2000 ครอบครัว วัดป่า 18วัด
1. ชุดของขวัญเด็ก 1 ถุง ประมาณ 800 บาท จำนวน 2,000 ชุด
ประกอบด้วย สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ กบ ไม้บรรทัด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่
ของเล่น หนังสือ สวดมนต์ เสื้อผ้าชุดนักเรียน(วัดตามขนาดนร.) 1ชุด
2. ของมอบให้โรงเรียน 1 ชุด ประมาณ 15,000 บาท จำนวน 11 โรงเรียน
ประกอบด้วย เครื่องอุปโภคบริโภค มาม่า ขนม นม หนังสือ อุปกรณ์การเรียน
ชุดยาประจำโรงเรียน เครื่องกีฬา
3. เครื่องไทยธรรม วัดละประมาณ 20,000 บาท สำนักสงฆ์ในพื้นที่ 18วัด
ประกอบด้วย ผ้าไตร บาตร บริขาร ผ้าขาว เครื่องอุปโภค บริโภค หนังสือธรรมะ
เครื่องกันหนาว ชุดยาประจำวัด
4. ชาวบ้านอาวุโส 2000ชุด ผ้าห่มมอบให้ชาวบ้านในพื้นที่ 2,000 ผืนๆละ200บาท +เสื้อผ้า+อุบโภคบริโภค
ข้าวสาร(ข้าวเหนียว)คนละ5กก.2000คน +วัด/รร 50กก.




15.พิธีบูชาคุณ ๘๐ พระชันษา มหาราชันย์ ยอดรับบริจาค ทองคำ 16 บาท 60 สตางค์, ดอลลาร์ 325 เหรียญและเงินบาท 574,950.- บาท)

9.เชิญร่วมส่งของไปช่วยประเทศพม่าปลายพค.ต้นมิย. มีผ้าไตร+ชุดยา+ผ้าห่มครับ เสร็จแล้วเราจะร่วมกันสร้างบ้านให้ผู้ประสพภัยด้วยครับมิย-กค.นี้ครับ บ้านกำหนดไว้ประมาณหลังละ1แสนบาท
ส่งไปพม่าแล้วผ้าไตร500ยา20ลังปัจจัย500000+จีน100000บาท

เชิญร่วมกันสร้างวัดป่าในพื้นที่บริเวณขอบอุทยานทับลาน
ที่มีบรรยากาศสวยงามและอากาศบริสุทธิ์มากๆแห่งหนึ่งในประเทศ
สนใจเชิญดูข้อมูลที่หัวข้อศาสนสถานนะครับ
ปี51นี้เราร่วมสร้างอุโบสถกันนะครับ 1.5ล้านและโรงครัว2.5แสนบาทครับ+1แสนทำสะพานเข้าวัด

พระและชาวบ้านไม่มีปัจจัยครับ
พระอ.ปริญญา ที่เป็นพระที่ตั้งใจเผยแผ่พระธรรมดีครับ
ช่วยกันได้ช่วยกันหน่อยนะครับสถานที่ก็สัปปายะดีครับ


ดูรูปเพิ่มที่
http://picasaweb.google.com/preeyanont

กิจกรรมมูลนิธิดวงแก้ว

กิจกรรมปี 2550
-1**บริจาคเสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว เครื่องเขียนอุปกรณ์การเรียน เครื่องอุปโภค -
บริโภคสำหรับของขวัญปีใหม่เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนใน ถิ่นทุรกันดาร
ในเขตทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี



รูปกิจกรรมตรวจเยี่ยมรร. มอบของขวัญ ให้เด็กๆ คุณครูและชาวบ้าน
ถวายปัจจัยไทยธรรมพระปฏิบัติในพื้นที่
2-**ถวายเครื่องกันหนาวครูอาจารย์
10-12 พย. 11วัดป่าสายพระกรรมฐาน ณ จ. เชียงใหม่ ลำพูน 11วัด

24-26 พย.11วัดป่าสายพระกรรมฐาน ณ จ.เพชรบูรณ์ พิจิตร เลย 11วัด
4-6 ธค. 11วัดป่าสายพระกรรมฐาน ณ จ.อุดร สกลนคร หนองคาย 16วัด


3**การสร้างอาคารที่พักเด็กนักเรียนชายและหญิง ณ รร.บ้านถ้ำ
อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่หลังละ ประมาณ 250,000บาท จำนวน 2หลัง+อาคาร ห้องน้ำ1หลัง
สภาพอาคารที่พักเดิม


4. 7-22เมษายน บวชพระ6รูป ที่วัด มกุฏฯ อบรมที่วัชรธรรมยกเว้น11-16เม.ย ธุดงค์ที่ต่างจังหวัด 22เม.ย.ลาสิกขาบท 4รูป 2รูป บวชต่อยังไม่มีกำหนด


5.บวชลูกแก้ว
ณ วัดป่ามณีกาญจน์ ของท่านอ.สาคร ณ ซ.วัดพระเงิน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี มีพิธี ลงเสาเอกศาลาปฏิบัติธรรม 1กพ.งานนี้มูลนิธิร่วมด้วย 10 ต้น 100,000บาท มูลนิธิร่วเป็นเจ้าภาพบวชลูกแก้วฤดูร้อน30รูป ถวายบาตร7" 30ใบ (@1500บ.)

6.ฉลองอุโบสถ วัดเขาจันทร์งาม โคราช สาขาวัดหนอป่าพง 34
พระอาจารย์ประเสริฐ ฉลองอุโบสถใหม่ วิสาขะนี้ เราได้ทำย่ามถวายพระที่มาร่วมงาน 300ใบ ๆละ350บาท มูลนิธินำไปถวายที่วัด 29พค.นี้ครับ
7.ถวายผ้าป่าพระอจ.อินทร์ถวาย วัดป่านาคำน้อย สร้างตึกพักสงฆ์
รพ.ศรีนครินทร์ขอนแก่น ณ ธรรมวิภาวัน 3มิย. 1ล้านบาท ดูรูปที่ ธรรมวิภาวัน
8.พิธีครบ 5 ปีวัชรธรรมสถาน 22กค.50 ทอดผ้าป่าสงเคราะห์โลก
ถวายหลวงตามหาบัว4.7แสนบาท+ทองคำ39บาท
9.ร่วมสร้างอาคารที่พักญาติและที่พักผู้ป่วย ณ รพ. ยางตลาด
จ.กาฬสินธุ์ อาคารที่กำลังสร้าง ปัจจุบันเสร็จแล้วครับ 29กค.50
"ศาลาดวงแก้วรวมใจ" เป็นที่พัก+อเนกประสงค์+ห้องน้ำ
เมื่อเสร็จ
10.ร่วมสร้างอาคารที่พักสงฆ์ ณ วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดียติดกับพระมหาเจดีย์ตรัสรู้พุทธคยา จัดผ้าป่าถวายท่าน อจ.จิ๋ว ณ ธรรมวิภาวัน ปากน้ำ23ตค.ที่ผ่านมาถวายไปแล้วนะครับ600000บาท มีผู้ไปร่วมประมาณ30ท่านครับคุณเบญจวรรณร่วมสร้าง1ห้อง2.5แสนบาทจึงรวมเป็น850,000บาทครับ อนุโมทนาครับ

11. ถวายวัดนครทิพย์ โพธาราม ราชบุรี ในงานกฐิน28ตค.50 อุโบสถประมาณ2.5ล้านบาท ห้องน้ำ 250,000 เปลี่ยนหลังคาศาลาเดิม300,000 รั้วและประตู 100,000 โรงรถ 100,000 ปรับปรุงอาคารปฏิบัติธรรมเดิม100,000โรงอาหารโรงครัว300,000กุฏิ200,000
ปัจจัยร่วมสร้างในงานกฐิน240,000บาทถวายพระสงฆ์ไปนะครับ




ทอดผ้าป่าวัดสันติธรรมาราม พระอจ.สงบหลังงานทอดกฐินฟังธรรมอย่างยาว2ชม.ครึ่ง

12.กฐินประจำปีมูลนิธิดวงแก้ววัดป่าพิมาย+ผ้าป่า7วัด10-10พย.50



13.สร้างอาคารพยาบาล(ดวงแก้วรวมใจ) ณ รร.เทพาลัย อ.คง โคราช

14.ไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องเขียน ตำราเรียน ของใช้สำหรับพระสงฆ์ ให้กับเด็กๆนร.และชาวบ้านที่ขาดแคลนและพระสงฆ์ที่ตั้งใจปฏิบัติภาวนาในพื้นที่อ.ดงหลวงเขตอำเภอต่อระหว่าง จ.มุกดาหารและ จ.สกลนคร
มีเด็กๆ 1800คน ชาวบ้าน 2000 ครอบครัว วัดป่า 18วัด
1. ชุดของขวัญเด็ก 1 ถุง ประมาณ 800 บาท จำนวน 2,000 ชุด
ประกอบด้วย สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ กบ ไม้บรรทัด แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่
ของเล่น หนังสือ สวดมนต์ เสื้อผ้าชุดนักเรียน(วัดตามขนาดนร.) 1ชุด
2. ของมอบให้โรงเรียน 1 ชุด ประมาณ 15,000 บาท จำนวน 11 โรงเรียน
ประกอบด้วย เครื่องอุปโภคบริโภค มาม่า ขนม นม หนังสือ อุปกรณ์การเรียน
ชุดยาประจำโรงเรียน เครื่องกีฬา
3. เครื่องไทยธรรม วัดละประมาณ 20,000 บาท สำนักสงฆ์ในพื้นที่ 18วัด
ประกอบด้วย ผ้าไตร บาตร บริขาร ผ้าขาว เครื่องอุปโภค บริโภค หนังสือธรรมะ
เครื่องกันหนาว ชุดยาประจำวัด
4. ชาวบ้านอาวุโส 2000ชุด ผ้าห่มมอบให้ชาวบ้านในพื้นที่ 2,000 ผืนๆละ200บาท +เสื้อผ้า+อุบโภคบริโภค
ข้าวสาร(ข้าวเหนียว)คนละ5กก.2000คน +วัด/รร 50กก.




15.พิธีบูชาคุณ ๘๐ พระชันษา มหาราชันย์ ยอดรับบริจาค ทองคำ 16 บาท 60 สตางค์, ดอลลาร์ 325 เหรียญและเงินบาท 574,950.- บาท)

9.เชิญร่วมส่งของไปช่วยประเทศพม่าปลายพค.ต้นมิย. มีผ้าไตร+ชุดยา+ผ้าห่มครับ เสร็จแล้วเราจะร่วมกันสร้างบ้านให้ผู้ประสพภัยด้วยครับมิย-กค.นี้ครับ บ้านกำหนดไว้ประมาณหลังละ1แสนบาท
ส่งไปพม่าแล้วผ้าไตร500ยา20ลังปัจจัย500000+จีน100000บาท

เชิญร่วมกันสร้างวัดป่าในพื้นที่บริเวณขอบอุทยานทับลาน
ที่มีบรรยากาศสวยงามและอากาศบริสุทธิ์มากๆแห่งหนึ่งในประเทศ
สนใจเชิญดูข้อมูลที่หัวข้อศาสนสถานนะครับ
ปี51นี้เราร่วมสร้างอุโบสถกันนะครับ 1.5ล้านและโรงครัว2.5แสนบาทครับ+1แสนทำสะพานเข้าวัด

พระและชาวบ้านไม่มีปัจจัยครับ
พระอ.ปริญญา ที่เป็นพระที่ตั้งใจเผยแผ่พระธรรมดีครับ
ช่วยกันได้ช่วยกันหน่อยนะครับสถานที่ก็สัปปายะดีครับ


ดูรูปเพิ่มที่
http://picasaweb.google.com/preeyanont

Duangkaew

ความเป็นมามูลนิธิดวงแก้ว และ โครงการรอยยิ้มเพื่อพ่อ

ปี พ.ศ. 2531

ศัลยแพทย์ตกแต่งกลุ่มหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายและอุดมการณ์เดียวกันได้รวมตัวกันออกบริการรักษาและผ่าตัดบรรเทาความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ ก้อนเนื้องอก ความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุต่าง ๆ แผลเป็นจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ที่สามารถแก้ไขด้วยศัลยกรรมตกแต่งและสามารถรักษาผ่าตัดได้ในโรงพยาบาลตามพื้นที่นั้น ๆ
ในช่วงต้น กลุ่มศัลยแพทย์ได้ร่วมออกหน่วยแพทย์ พร้อมกับคณะแพทย์มูลนิธิ หู คอ จมูก ชนบท ต่อมาเมื่อมีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษามากขึ้น จึงได้แยกออกมาดำเนินการในนามของมูลนิธิดวงแก้ว ระยะแรก ๆ การออกหน่วยจะทำประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ละครั้งมีผู้เข้ารับการรักษาไม่มากนัก ประมาณ 10-20 ราย หลังเสร็จจากการผ่าตัดแล้ว คณะแพทย์ยังได้มีโอกาสเข้าไปช่วยเหลือบรรดาเด็ก ๆ ในโรงเรียน ช่วยจัดตั้งโครงการอาหารกลางวัน มอบทุนการศึกษา นำอุปกรณ์การเรียน การกีฬา ฯลฯ ไปมอบให้กับเด็กนักเรียนในชนบทห่างไกล จากนั้นได้ไปกราบนมัสการครูบาอาจารย์วัดสายปฏิบัติเพื่อรับฟังคำอบรมสั่งสอนต่างๆ อาสาสมัครส่วนหนึ่งจะดำเนินการติดตามผลหลังการรักษา และเข้าไปเยี่ยมเยือน ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาผ่าตัดแล้วตามหมู่บ้านต่างๆ รวมทั้งสำรวจหาผู้ป่วยในพื้นที่ และกระจายข่าวให้ผู้ป่วยอื่น ๆ ได้มีโอกาสเข้ารับการรักษาจากคณะแพทย์ในครั้งต่อ ๆ ไป โดยประสานงานกับมูลนิธิฯและโรงพยาบาลในพื้นที่นั้น ๆ
ต่อมาเมื่อมีผู้ป่วยมากขึ้น จึงได้จัดหน่วยแพทย์ออกบริการบ่อยครั้งขึ้นเป็นเดือนละ 1-2 ครั้ง ทำงานในวันหยุดราชการประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง ส่วนใหญ่จะเดินทางโดยรถยนต์ ยกเว้นในพื้นที่ห่างไกลและกรณีเร่งด่วน จึงจะเดินทางโดยเครื่องบินเพื่อให้ทันเวลา เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่ รับราชการและลางานได้ลำบาก การออกหน่วยจึงจำเป็นจะต้องประสานงานเป็นอย่างดีทั้ง คณะทำงาน คณะแพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร และโรงพยาบาลในพื้นที่ ซึ่งจะจัดเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมรับการรักษาผ่าตัดในวันที่คณะเดินทางไปถึง เมื่อการรักษาผ่าตัดเสร็จสิ้นลง ทางมูลนิธิฯจะอธิบายการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดให้ผู้ป่วยทราบโดยละเอียด โดยโรงพยาบาลในพื้นที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยต่อไป เมื่อมีปัญหาเกิดให้ทางโรงพยาบาลจะสามารถติดต่อกับมูลนิธิฯ หาวิธีแก้ไขโดยตรง หรืออาจนำส่งผู้ป่วย เข้ามารับการรักษาตัวในกรุงเทพฯต่อไป ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทางมูลนิธิจะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนค่ารักษาพยาบาลและบริการ ทางโรงพยาบาลมีส่วนช่วยเหลือให้การสนับสนุนด้วยดีโดยตลอด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วยที่ด้อยโอกาส และไม่สามารถเข้ารับการรักษาผ่าตัด อันอาจเนื่องมาจากขาดทุนทรัพย์ ขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขาดเครื่องมือแพทย์และวัสดุอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ ระหว่างปี 2531-2543 มูลนิธิฯได้ทำการรักษาผ่าตัดผู้ป่วยไปแล้วกว่า 4,000 ราย ในพื้นที่มากกว่า 33 จังหวัดทั่วประเทศ เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เลย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สระบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และนราธิวาส เป็นต้น
จากการทำงานและประสบการณ์ที่ได้รับ ทำให้พวกเราได้ตระหนักว่า การช่วยเหลือทางร่างกายเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอที่จะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างสุขสงบได้ ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่มีส่วนทำให้พวกเขาต้องอยู่ในกลุ่มของผู้ด้อยโอกาสในสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การหาเลี้ยงชีพ สภาพความเป็นอยู่ ความรู้ และโอกาสทางการศึกษาและที่สำคัญที่สุด คือ หลักยึดเหนี่ยวจิตใจ และแนวทางประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในสังคมและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามสมควร สิ่งต่างๆเหล่านี้เองทำให้พวกเราได้มุ่งเน้นที่จะให้ความช่วยเหลือทางการศึกษาของเด็กๆในชนบท ช่วยพัฒนาสร้างเสริมปัจจัยพื้นฐานต่างๆ และมุ่งนำหลักธรรมจากพุทธศาสนา เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนายกระดับจิตใจและการดำเนินชีวิตในสังคมสมตามพระราชดำริ ที่ทรงมีพระประสงค์ให้พวกเรารู้จักอยู่อย่างพอเพียง และสุขสงบ

มูลนิธิได้ตั้งวัตถุประสงค์หลักไว้ 3 ประการ คือ

1. ช่วยเหลือเด็ก ผู้ด้อยโอกาสและทุพพลภาพ
2. ส่งเสริมงานวิจัยทางการแพทย์
3. เผยแผ่พระพุทธศาสนา


ทั้งนี้มูลนิธิฯ ได้จัดตั้งโครงการต่าง ๆ ขึ้นตามวัตถุประสงค์หลักแบ่งได้เป็น 4 โครงการคือ

1.1 โครงการต่อต้านความพิการในชนบท

- หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ผ่าตัดแก้ไขความพิการในชนบท
- จัดส่งผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการรักษาในพื้นที่มายังโรงพยาบาลที่
เหมาะสม
- ส่งเสริมและช่วยเหลือให้คนพิการในชนบทได้รับการรักษาดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างดีที่สุด
- ติดต่อประสานงานกับแพทย์นานาชาติในการสนับสนุนโครงการด้านต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย
- โครงการรอยยิ้มเพื่อพ่อ

1.2 โครงการช่วยเหลือเด็ก และผู้ด้อยโอกาสในชนบท


- กองทุนช่วยเหลือการศึกษาเด็กด้อยโอกาส
- โครงการเกษตรพอเพียง เพื่ออาหารกลางวัน
- โครงการจัดหาหนังสือ ตำราเรียน อุปกรณ์กีฬา
- ค่ายอาสาพัฒนา โรงเรียนในชนบท
- แจกของผู้ประสบอุทกภัย อัคคีภัย
- แจกผ้าห่มคลายหนาว
- โครงการโรงเรียนในฝัน
- โครงการโรงเรียนอุปถัมภ์

1.3 โครงการวิจัยรักษามะเร็งด้วยเลเซอร์

- ติดต่อประสานงานหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั้งในและนอกประเทศเข้าร่วมโครงการ
- จัดหาอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการดำเนินการวิจัย
- เผยแพร่โครงการให้โอกาสผู้ป่วยมะเร็งเข้ารับการรักษาบำบัด
- ศูนย์วิจัยทางการแพทย์

1.4 โครงการส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

- โครงการสถานปฏิบัติธรรม "วัชรธรรมสถาน"
- โครงการบวชลูกแก้ว
- ค่ายอบรมพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน
- จัดสัมมนาในหัวข้อธรรมะต่าง ๆ
- จัดกฐิน ผ้าป่า วัดสายหลวงปู่มั่น (วัดป่า)
- จัดพิมพ์หนังสือธรรมะ

โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จัดดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบันจนถึงเมื่อปลายปี 2540 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงมีพระราชปรารภ ให้มูลนิธิ จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่พระองค์จะทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 คณะกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิดวงแก้ว นำโดย คุณพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ พล.ร.อ. ประเสริฐ บุญทรง ท่านผู้บัญชาการทหารเรือจึงได้ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆโดยมีหน่วยงานหลัก คือ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กองทัพเรือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา "รอยยิ้มเพื่อพ่อ" ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง 5 ธันวาคม 2540 ถึง 5 ธันวาคม 2543 และได้ดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์ (รายละเอียดตามผลการดำเนินการโครงการ "รอยยิ้มเพื่อพ่อ" )

เวลาของชีวิต

31 กรกฎาคม
4 parts of our TIME
กองแรก เก็บสะสมไว้ใช้ยามขัดสน กองสอง ใช้จ่ายเพื่อทดแทนผู้มีพระคุณ กองสาม ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว กองสี่ ใช้เพื่อสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่สังคม แล้วการทำงานของมนุษย์ล่ะ หลายคนยังมัววุ่นแก่การทำงานโดยไม่ยอมแบ่งเวลาเหลียวหลังมองถึง บุคคลที่รักและห่วงใยตนเองเลยหรือ ??? มนุษย์บางคนทุ่มเวลาทั้งหมดให้แก่หน้าที่การงาน พร ้อมกับคิดว่า การกระทำดังนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่นั่นคือการกระทำที่โง่เขลาเป็นที่สุด ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่า ๆ กัน แต่ผู้ใดที่ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับงาน โดยไม่ยอมแบ่งปันเวลาให้แก่ผู้ใด แม้กระทั่งตัวเองเป็นมนุษย์ที่เขลาเบาปัญญาที่สุด บริหารไม่ได้แม้กระทั่งเวลา 24 ชั่วโมงของตัวเองในแต่ละวันแล้ว มนุษย์ผู้นั้นจะบริหารอะไรได้ ทำไมมนุษย์ผู้ชาญฉลาดจึงไม่แบ่งปันเวลา ให้เสมือนหนึ่งการแบ่งปันกองเงิน ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบ้างเล่า... ไม่ต้องแบ่งเวลาให้เป็นสี่กองเท่า ๆ กันหรอก เพียงแต่แบ่งปันเวลาในแต่ละส่วนให้เหมาะสมเท่านั้น 8 ชั่วโมงสำหรับการทำงาน เพื่อความก้าวหน้า มั่นคงในชีวิต 8 ชั่วโมงสำหรับการพักผ่อน เก็บเรี่ยวแรงไว้ต่อสู้กับหน้าที่การงานและอุปสรรคในวันพรุ่งนี้ 5 ชั่วโมงสำหรับการเดินทาง เพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ 2 ชั่วโมงสำหรับโลกส่วนตัวของตนเอง 59 นาที สำหรับดูแลและรัก ษาความสะอ าดของที่อยู่อาศัย และช่วยเหลือสังคม และ 1 นาทีของคุณ ที่มอบให้กับคนที่รักและห่วงใยคุณโดยไม่นำเวลาอื่นเข้ ามาเกี่ยวข้อง เพราะเพียง 1 นาทีนี้ มันมีค่ามากเกินกว่าคณานับได้ในความรู้สึกของเขาคนนั้น จงอย่ากล่าวว่า ' ไม่มีเวลา... ' เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ยุติธรรมที่สุดในโลกนี้ที่มีให้แก่มนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่า ๆ กัน ไม่มีใครมีเวลามาก และไม่มีใครมีเวลาน้อยไปกว่านี้ 24 ชั่วโมงใน 1 วัน ที่มหาเศรษฐี หรือยาจก มีเท่าเทียมกันไม่ขาดเกินแม้แต่เศษเสี้ยวของวินาที ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผู้ใดที่กล่าวว่า ' ไม่มีเวลา ' จึงเป็นผู้ล้มเหลวในการบริหารเวลา 24 ชั่วโมง ในแต่ละวันของตนเองอย่างสิ้นเชิง และใช้คำว่า ' ไม่มีเวลา ' เป็นข้อแก้ตัวเพื่อปกปิด ความล้มเหลวเรื่องเวลาของตนเองอย่างขลาดเขลา มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิต จึงไม่ใช่ผู้ที่เก่งแต่การทำงานอย่างเดียว แต่มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องเป็นผู้ที่รู้จักแบ่งสัดส่วนเวลาวันละ 24 ชั่วโมงของตนเอง ได้อย่างลงตัว วันละ 24 ชั่วโมงของตนเอง ที่มีไว้สำหรับการทำงาน การพักผ่อน การเดินทาง มิตรภาพ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย ความเอื้ออาทร ฯลฯ โดยไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิต นี่แหละ คือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดที่รู้จัก ' ใช้เวลา ' แล้ววันนี้..คุณจะยังอ้างเหตุผลว่า ' ไม่มีเวลา ' อีกหรือ ? จงเปลี่ยนความคิดของคุณตั้งแต่บัดนี้นะครับ และกรุณาส่งต่อไปยังเพื่อนหรือคนสนิทของคุณด้วยน่ะ

4 parts of your TIME

31 กรกฎาคม

4 parts of our TIME

กองแรก เก็บสะสมไว้ใช้ยามขัดสน
กองสอง ใช้จ่ายเพื่อทดแทนผู้มีพระคุณ

กองสาม ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว

กองสี่ ใช้เพื่อสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่สังคม


แล้วการทำงานของมนุษย์ล่ะ

หลายคนยังมัววุ่นแก่การทำงานโดยไม่ยอมแบ่งเวลาเหลียวหลังมองถึง
บุคคลที่รักและห่วงใยตนเองเลยหรือ ???


มนุษย์บางคนทุ่มเวลาทั้งหมดให้แก่หน้าที่การงาน

พร ้อมกับคิดว่า
การกระทำดังนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว
แต่นั่นคือการกระทำที่โง่เขลาเป็นที่สุด


ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่า ๆ กัน

แต่ผู้ใดที่ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับงาน
โดยไม่ยอมแบ่งปันเวลาให้แก่ผู้ใด
แม้กระทั่งตัวเองเป็นมนุษย์ที่เขลาเบาปัญญาที่สุด บริหารไม่ได้แม้กระทั่งเวลา
24 ชั่วโมงของตัวเองในแต่ละวันแล้ว มนุษย์ผู้นั้นจะบริหารอะไรได้


ทำไมมนุษย์ผู้ชาญฉลาดจึงไม่แบ่งปันเวลา

ให้เสมือนหนึ่งการแบ่งปันกองเงิน
ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบ้างเล่า...


ไม่ต้องแบ่งเวลาให้เป็นสี่กองเท่า ๆ กันหรอก

เพียงแต่แบ่งปันเวลาในแต่ละส่วนให้เหมาะสมเท่านั้น


8 ชั่วโมงสำหรับการทำงาน เพื่อความก้าวหน้า มั่นคงในชีวิต

8 ชั่วโมงสำหรับการพักผ่อน เก็บเรี่ยวแรงไว้ต่อสู้กับหน้าที่การงานและอุปสรรคในวันพรุ่งนี้

5 ชั่วโมงสำหรับการเดินทาง เพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ

2 ชั่วโมงสำหรับโลกส่วนตัวของตนเอง

59 นาที สำหรับดูแลและรัก ษาความสะอ าดของที่อยู่อาศัย และช่วยเหลือสังคม


และ 1 นาทีของคุณ

ที่มอบให้กับคนที่รักและห่วงใยคุณโดยไม่นำเวลาอื่นเข้ ามาเกี่ยวข้อง
เพราะเพียง 1 นาทีนี้ มันมีค่ามากเกินกว่าคณานับได้ในความรู้สึกของเขาคนนั้น



จงอย่ากล่าวว่า ' ไม่มีเวลา... '

เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ยุติธรรมที่สุดในโลกนี้ที่มีให้แก่มนุษย์
มนุษย์ทุกคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่า ๆ กัน ไม่มีใครมีเวลามาก
และไม่มีใครมีเวลาน้อยไปกว่านี้


24 ชั่วโมงใน 1 วัน ที่มหาเศรษฐี หรือยาจก

มีเท่าเทียมกันไม่ขาดเกินแม้แต่เศษเสี้ยวของวินาที


ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผู้ใดที่กล่าวว่า ' ไม่มีเวลา '

จึงเป็นผู้ล้มเหลวในการบริหารเวลา 24 ชั่วโมง
ในแต่ละวันของตนเองอย่างสิ้นเชิง และใช้คำว่า ' ไม่มีเวลา '
เป็นข้อแก้ตัวเพื่อปกปิด ความล้มเหลวเรื่องเวลาของตนเองอย่างขลาดเขลา


มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิต

จึงไม่ใช่ผู้ที่เก่งแต่การทำงานอย่างเดียว
แต่มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความสำเร็จในชีวิต
ต้องเป็นผู้ที่รู้จักแบ่งสัดส่วนเวลาวันละ 24 ชั่วโมงของตนเอง ได้อย่างลงตัว


วันละ 24 ชั่วโมงของตนเอง

ที่มีไว้สำหรับการทำงาน การพักผ่อน การเดินทาง
มิตรภาพ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย ความเอื้ออาทร ฯลฯ
โดยไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิต

นี่แหละ คือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดที่รู้จัก ' ใช้เวลา '
แล้ววันนี้..คุณจะยังอ้างเหตุผลว่า


' ไม่มีเวลา '
อีกหรือ ? จงเปลี่ยนความคิดของคุณตั้งแต่บัดนี้นะครับ
และกรุณาส่งต่อไปยังเพื่อนหรือคนสนิทของคุณด้วยน่ะ

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ออกหน่วยแพทย์ที่อ.กบินทร์บุรี






25กค.เราไปถึงรพ.กบินทร์พบผอ.แล้วตรวจผู้ป่วย66รายคัดเลือกไว้ทำผ่าตัด45รายเริ่มผ่าตัดตอนเย็นคืนวันศุกร์เราเลิกว่านกันตี2ทำไปได้15รายกว่าจะได้เข้าที่พักก็ตี3
วันเสาร์เช้า6โมงไปตลาดบ้านโคกซื้อของถวายพระแล้วไปวัดป่าธรรมปิฏก ถวายภัตราหารและปล่อยปลาที่ซื้อมาจากตลาด ปลูกต้นไม้กันอีกคนละหลายต้น ดูความคืบหน้าของการก่อสร้างอุโบสถซึ่งคาดว่าจะเสร็จทันตุลาคมนี้ซึ่งในวันที่4ตค.เราจะนำพระประธานที่เราหล่อด้วยกันไปประดิษฐานในอุโบสถ ก่อนงานกฐิน23ตค.นี้ครับ 8.30น.กลับไปทำผ่าตัดต่อที่รพ.ตลอดวันกว่าจะเสร็จ30รายก็ตี1ได้ครับเสร็จแล้วก็ไปสรุปประวัติและเขียนใบสั่งแพทย์เสร็จประมาณตี2ได้
เช้าวันอาทิตย์27กค.ไปตลาดกบินทร์ซื้อกบ+ปลาดุกปลาช่อน ภัตราหารไปปล่อยและถวายจังหันที่วัดป่าหลังรพ.กบินทร์ 9โมงไปตรวจเยี่ยมผู้ป่วยที่ผ่าตัดทุกคนมีคุณยายที่เป็นมะเร็งที่หน้าอายุ81มีไข้เล็กน้อยนอกนั้นก็สบายดี อธิบายข้อปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดให้ผู้ป่วยทุกๆคนเสร็จแล้วกล่าวอำลาเจ้หน้าที่ พย่บาลที่แสนดี เทียบกัยหลายๆรพ.บุคลากรที่นี่น่ารักมากๆเป็นอันดับต้นๆได้เลยครับ ระหว่างทางกลับบ้าน เราได้แวะถวายผ้าจำนำพรรษาที่วัดถ้ำอาจาโร บ้านขอนกว้าง ปราจีนบุรี แวะทานอาหารที่ร้านคุณลุงเผ่า ก๋วยเตียวกะลา บริเวณเขื่อน ขุนด่านอาหารเป็นก๋วยเตียวหมูอร่อยมากๆ ต้อนรับเป็นกันเอง น้องๆหลานๆก็น่ารัก ก่อนกลับคุณลุงยังเอาลองกองที่ต้นมาให้ทานเล่นด้วย ทานอาหารเที่ยงตอนบ่าย3เสร็จก็เลยแวะกราบสถานที่ปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่มั่นที่วัดถ้ำสาริกาก่อนถึงน้ำตกสาริกา2กม. สวยงามสงบดีมาก ท่านเจ้าอาวาสเมตตานั่งคุยเรื่องต่างๆของวัดและประวัติพ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่นให้ฟังหลายชม.ถวายปัจจัยไทยธรรมผ้าจำนำพรรษาผ้าอาบน้ำฝนเสร็จก็ลากลับบ้านถึงกทม.2ทุ่มไม่ดึกเกินไป เดือนหน้าไปเชียงใหม่กันครับ จบการเดินทาง

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โครงการจัดสร้างวัชรธรรมสถานและวัดป่าเฉลิมพระกียรติ

โครงการจัดสร้าง "วัชรธรรมสถาน"
ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมได้เข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ก่อเกิดความสุขต่อตนเองและผู้อื่น ส่งผลให้สังคมมีแต่ความร่มเย็น ประเทศชาติสุขสงบในที่สุด ด้วยความคิดนี้เอง ทำให้มูลนิธิฯ ดำริที่จะจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมขึ้น ซึ่งต่อมาได้รับมอบที่ดินประมาณ 9 ไร่เศษ ณ ตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จากท่านพระเทพวัชรธรรมาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพ เพื่อจัดสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร เป็นที่พักที่ปฏิบัติของผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลาย จะได้มาประพฤติปฏิบัติ สนทนา ศึกษาหาความรู้ร่วมกัน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2541 กำหนดแล้วเสร็จเบื้องต้นในปี พ.ศ. 2545 กำหนดวางศิลาฤกษ์ ในเดือนธันวาคม ศกนี้ มีแนวทางปฏิบัติธรรมตามสายวัดป่า (สมถะวิปัสสนากรรมฐาน) จัดอบรมธรรมะร่วมกับการปฏิบัติธรรมเป็นหลักสูตร ครั้งละ 7-10 วัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ขั้นที่ 1 เบื้องต้น เพื่อจะได้รู้จักพื้นฐานของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง มีการสอนและอบรมาข้อธรรมหลักพื้นฐานต่าง ๆ รวมทั้งประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับพุทธศาสนิกชน (กรรมฐาน) ขั้นที่ 2 มุ่งเน้นที่จะสอนและแนะแนวทางนำธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนการปฏิบัติจะสอนแนวทางเจริญสติปัฐฐานสี่ เพื่อที่จะได้มีสติระลึกรู้ถึงการดำเนินชีวิตในแต่ละขณะ จะได้ไม่หลงทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นการลดละความต้องการ ความเร่าร้อนของจิตใจลงได้ ทำให้ชีวิตมีแต่ความสุขสงบ ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการงาน สังคมและครอบครัวจะได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขด้วย ขั้นที่ 3 มุ่งเน้นที่จะสอนแนวทางการดับทุกข์ในชีวิต เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติธรรมไปถึงระดับหนึ่งแล้ว ผู้นั้นจะเริ่มเห็นความจริงของชิวิต เห็นความทุกข์ที่ก่อเกิดในจิตใจเราอยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะได้เชิญครูบาอาจารย์ ที่สามารถให้การชี้แนวหลักธรรมคำสอนที่เหมาะสมพร้อมทั้งหลัก ประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องจำเป็นในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งหลักใหญ่คือการเจริญวิปัสสนาปัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการถมที่และปรับพื้นที่สร้างกุฏิที่พักผู้ปฏิบัติธรรม และดำเนินการก่อสร้างรั้วรอบบริเวณสถานปฏิบัติธรรมอยู่ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2543 ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ และทอดกฐินครั้งแรก ณ ที่นี้ โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงค์ เจ้าอาวาสวัดมกุฎกษัตริยาราม และคุณพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ ประธานกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นประธาน โดยกำหนดจะเปิดอบรมปฏิบัติธรรมครั้งแรก ในวันที่ 3-5 ธันวาคม 2543 เพื่อเป็นการปิดโครงการ "รอยยิ้มเพื่อพ่อ" อย่างสมบูรณ์และถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระองค์จะทรงมีพระชนม์มายุครบ 72 พรรษาบริบูรณ์ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2543 ซึ่งในปี 2544 ได้มีการอบรมปฏิบัติธรรมเดือนเว้นเดือนตลอดทั้งปี
ศาสนาธรรมของพระพุทธเจ้าในตำราที่แสดงไว้ ไม่มีส่วนใดบกพร่อง ยังสมบูรณ์บริบูรณ์อยู่ ดังที่เราทั้งหลายได้รู้ได้เห็นอยู่นั้นแล แต่สิ่งที่บกพร่องก็คือ ความสนใจที่จะปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมนั้นนับวันเสื่อมลง เสื่อมลง เมื่อฝ่ายหนึ่งเสื่อมลง ฝ่ายหนึ่งยอมมีกำลังมากขึ้นและผลิตตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงกับหาขณะเวล่ำเวลาที่ธรรมจะขยับตัวออกไม่ได้เลย มีแต่โลกล้วน ภายในความสัมผัสสัมพันธ์ และภายในจิตใจของเราโดยลำพังก็เป็นอยู่อย่างนั้น
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน



โครงการจัดสร้าง "วัดป่าเฉลิมพระเกียรติ"

ในทุก ๆ ครั้งที่ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พวกเราได้มีโอกาสที่จะไปทำบุญทำกุศลร่วมกัน ณ วัดวาอารามต่าง ๆ ในระหว่างทาง เนื่องจากพวกเราตระหนักถึงความสำคัญทางด้านจิตใจว่าแท้จริงแล้วความสุขสงบของจิตใจที่ปราศจากความเร่าร้อน ความโลภ และความทะยานอยากต่าง ๆ นั้น คือความสุขที่แท้จริง พวกเราไม่อาจจะหยิบยื่นความสุขให้กับพวกเขาเฉพาะเพียงแค่การผ่าตัดรักษาแต่ร่างกายภายนอกเท่านั้น ถึงแม้พวกเขาจะหายจากความพิการ พวกเขาเหล่านั้นก็ยังคงมีความทุกข์เรื่องอื่น ๆ ต่อไปอย่างไม่จบสิ้น เพื่อเป็นที่ยืดเหนี่ยวจิตใจของพวกเขา ในชนบทที่ห่างไกล ณ ที่มีความด้อยโอกาสในสังคม การพัฒนาทางวัตถุอย่างเดียวไม่อาจช่วยพวกเขาได้เลย การนำธรรมะอันบริสุทธิ์จากพุทธศาสนาไปมอบให้พวกเขาเหล่านั้น จะสร้างหลักยึดเหนี่ยวจิตใจพวกเขาไว้ได้ แม้แต่พวกเขาเองก็จะได้พบความสุขสงบของจิตใจเช่นกัน ลาภ ยศ ชื่อเสียง ที่ได้มาก็ยังไม่เพียงพอ ทั้งยังจะสร้างความทุกข์ทรมานแก่ตนเองและผู้อื่นต่อไป วัดเป็นสถานที่หนึ่งที่เป็นแหล่งรวมของชุมชน เพื่อที่จะพัฒนาจิตใจ และสังคมของพวกเขาไว้ได้เป็นอย่างดี ทางมูลนิธิฯ ได้มีกิจกรรมมากมายเพื่อที่จะช่วยทำนุบำรุง และเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทั้งในเมืองและชนบทตลอดมา ในวโรกาสอันเป็นมงคลนี้ พวกเราจึงได้ร่วมกับประชาชนในจังหวัดน่าน วัดป่าวังวิโมกข์ สายหลวงปู่ชา และผู้มีจิตศรัทธาอีกมากมาย ร่วมกันจัดสร้างวัดป่าเฉลิมพระเกียรติขึ้น ณ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2540 จัดสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น กุฏิ ศาลาเอนกประสงค์ โรงครัว โรงย้อม ที่พักผู้มาปฏิบัติธรรม หอระฆัง ฯลฯ ทั้งนี้ได้จัดสร้างเรียบร้อยแล้ว และได้ใช้เป็นที่พักพิงทางใจของประชาชนทั่วไป มีพระจากวัดหนองป่าพงมาจำพรรษา และให้ความรู้ความสว่างทางปัญญากับนักปฏิบัติ ให้แนวทางดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนนั้น เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เพื่อรอยยิ้มที่บังเกิดจากความปิติ และความสุขอันแท้จริงภายในจิตใจ เพื่อดับทุกข์และความเร่าร้อนภายในใจให้หมดไป เพื่อบุญกุศลที่พวกเราทุกคน รวมพลังแรงกายแรงใจ ถวายแด่พระองค์ท่าน "พ่อหลวง" อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระผู้สถิตย์ในดวงใจของชาวไทยทั้งมวล โครงการนี้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนอนุญาตจัดตั้งวัดอย่างเป็นทางการ

โครงการโรงเรียนในฝัน :โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว

Foundation for Medical Research and Handicap Person
โครงการ "โรงเรียนในฝัน"
เด็กนักเรียนในชนบทส่วนใหญ่ ยังขาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งดี ๆ ในชีวิตของเขาอีกมากมายหลายอย่างนัก ในขณะที่เด็กเหล่านี้เอง คือ รากฐานของการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคตอย่างแท้จริง ถ้าพวกเขาขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ โอกาสที่จะสร้างเสริมศักยภาพแห่งชีวิตให้กับตัวของเขาเองให้ดีที่สุดแล้ว ประเทศไทยจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร โครงการโรงเรียนในฝัน เป็นโครงการที่จะมุ่งสร้างความฝันให้กับเด็ก ๆ นักเรียนในชนบทให้เป็นจริง ความต้องการพื้นฐานที่จะพัฒนาเด็ก ๆ ทางด้านร่างกาย จิตใจ และความรู้ความสามารถต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของครู ผู้ปกครอง และตัวเด็กนักเรียนเอง จะถูกพวกเราร่วมแรงร่วมใจสานฝันอันนั้นให้เกิดเป็นจริงขึ้น หนึ่งในโครงการที่ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เป็น 10 ปี คือ โครงการสร้างอาคารเรียนให้กับ โรงเรียนบ้านห้วยทรายขาว ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
คณะอาสาสมัครมูลนิธิดวงแก้ว ได้สำรวจพบโรงเรียนแห่งนี้เมื่อปลายปี 2539 เริ่มต้นเราได้เข้าไปช่วยเหลือโดยมอบอุปกรณ์การเรียน กีฬา เครื่องอุปโภคบริโภค หนังสือตำราเรียนต่าง ๆ ก่อน ต่อมาเมื่อได้ปรึกษากับประชาชนในหมู่บ้าน และสอบถามถึงความต้องการของเด็ก ๆ นักเรียน และครู จึงทราบว่าพวกเขาอยากจะได้อาคารเรียนใหม่แทนอาคารเรียนหลังเดิมที่เป็นอาคารเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 84 เมตร ตัวอาคารผุพัง ไม่สามารถจะป้องกันสายลมและสายฝนได้ ในขณะที่มีเด็กนักเรียนอยู่เกือบ 150 คน เก้าอี้ 1 ตัว เล็ก ๆ ต้องนั่งรวมกัน 2-3 คน ทางมูลนิธิฯ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้น ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนแห่งนี้ และบรรจุไว้ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราช "รอยยิ้มเพื่อพ่อ" ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และเอกชนต่าง ๆ ได้แก่ วัดป่าวังวิโมกข์ วัดป่าเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานประถมศึกษา จังหวัดน่าน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) คณะวปรอ. 388 และผู้มีจิตศรัทธาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ได้จัดสร้างอาคารเรียน และปรับปรุงพื้นที่ของโรงเรียนจนแล้วเสร็จ ประกอบด้วย อาคารเรียน 1 หลัง 3 ห้องเรียน (โดยคณะราชมงคลอาสาพัฒนา 41 ) อาคารใช้สอย 2 หลัง บ้านพักครู อ่างเก็บน้ำ ถังกักเก็บน้ำกินน้ำใช้ ประกอบด้วย ห้องน้ำชาย - หญิง ห้องครัว และอาคารเอนกประสงค์ ภายในอาคารประกอบด้วย ห้องสมุด 1 ห้อง ขนาด 5 x 10 เมตร ได้รับการตกแต่ง และจัดหนังสือทั้งหมด โดยโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ เราสามารถสร้างโรงเรียนในฝันที่สวยงาม และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับโอกาสทางการศึกษาของพวกเขา เพื่อสร้างฐานชีวิตแก่ผู้ด้อยโอกาสในชนบทที่ห่างไกล ให้อนาคตแก่พวกเขาเพื่อสร้างอนาคตที่ดียิ่งสำหรับประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ มูลนิธิฯ จัดมอบอาคารดังกล่าวให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2542 พร้อมมอบทุนการศึกษาและอาหารกลางวันอีก 200,000 บาท รอยยิ้มของเด็ก ๆ นักเรียนเหล่านั้น จะสร้างรอยยิ้มในใจของพวกเรา และคณะทำงานทุกคน ให้จดจำไว้อีกนานเท่านาน

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปากแหว่งและเพดานโหว่


ปากแหว่งและเพดานโหว่
คือร่องโหว่ที่ปากด้านบนและเพดานปาก ซึ่งร่องเนื้ออาจเริ่มจากลิ้นไก่ผ่านไปถึง เพดานอ่อนชั้นใน เพดานแข็ง กระดูกโคนฟัน และปากด้านบนไปจนถึงจมูกด้านหน้า หรืออาจเป็นร่องที่พาดจากริมฝีปากถึง เพดานปากโดยตลอด โดยทั่วไปเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่ จะเป็นมาแต่กำเนิด ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทางสภาพร่างกายนั้น เด็กจะดูด - ดื่มนม หรือรับประทานอาหารไม่สะดวกมีความยากลำบากในการดื่ม กิน หรือกลิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยทางรายที่เพดานโหว่ จะสำลักอาหารอยู่บ่อย ๆ ทำให้เด็กมีอาการขาดอาหาร เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนในด้านจิตใจ หากเด็กเหล่านั้นอยู่รอดและเติบโตขึ้นมา จะเห็นร่องรอยความผิดปกติชัดเจน พูดจาไม่ชัด ทำให้มีปมด้อย บางคนถึงขนาดไม่ยอมเรียนหนังสือเพราะกลัวถูกเพื่อนล้อเลียน บางรายก็กับเก็บตัวเองอยู่ในบ้านอย่างโดดเดี่ยวไม่ยอมเข้าสังคม สมมติฐานของปากแหว่งและเพดานโหว่ จากการศึกษาจำนวนเด็กที่เกิดมา และอยู่ในพื้นที่ชนบทอันห่างไกล พบว่าอัตราเด็กที่เกิด 1,000 คน จะเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ประมาณ 1 คน (0.1%) และตามหลักวิจัยทางการแพทย์นั้น ยังไม่มีหนทางที่จะป้องกันสาเหตุต่าง ๆ ของการเกิดโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตามจากสถิติสาเหตุของโรคนี้ อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือปัจจัยต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม คือ กรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในครอบครัว ที่มีผลทางพันธุกรรมทำให้เกิดลักษณะที่ผิดปกติขึ้นสิ่งแวดล้อม ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มารดาอาจประสบกับอิทธิพลต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบให้เกิดปากแหว่งและเพดานโหว่ อาทิ การขาดหรือได้รับสารอาหารวิตามินที่ผิดปกติไม่ครบถ้วน หรืออาจสืบเนื่องจากพิษของยา หรือสารเคมีบางอย่าง ตลอดจนการติดเชื้อจากไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิดหรืออันตรายที่เกิดจากการฉายรังสีเอกซ์ - เรย์ และถูกกระทบกระเทือนจากภายนอกกับทารกในระหว่างตั้งครรภ์ ฯลฯ วัตถุประสงค์ของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สำหรับเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่ ไม่มีสาเหตุที่สามารถอธิบายสมมติฐานของการเกิดโรคปากแหว่งและเพดานโหว่ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กที่ปากแหว่งเพดานโหว่ จึงมักจะโทษตัวเองเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาไม่มีความกล้าที่จะเผชิญกับความจริงและปล่อยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาเด็กเหล่านี้ในขณะเยาว์วัยทำให้เวลาถูกยืดออกไป เด็กพิการเหล่านี้หลายคนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและไม่มีโอกาสที่จะเข้ารับการรักษาผ่าตัดในโรงพยาบาลที่มีศัลยแพทย์ที่สามารถผ่าตัดรักษาให้ได้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การด้อยการศึกษา และปัญหาอื่น ๆ ทางสังคมของพวกเขา ยิ่งอาจทำให้พวกเขาลำบากมากขึ้นที่จะมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ปัญหาแทรกซ้อนในเด็กที่ปากแหว่งและเพดานโหว่ เนื่องจากโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ได้พัฒนาขั้นในระหว่างที่เด็กเป็นทารกอยู่ในครรภ์ แต่พ่อ - แม่ ส่วนมากมักขาดความรู้ ความเอาใจใส่ตลอดจนทุนทรัพย์ในการรักษาจึงปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทราบว่า วันหนึ่งที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา ปัญหาต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตามมาด้วยทั้งทางสภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับสารอาหารเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่จะมีความยุ่งยากและลำบากในการรับประทานอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และอาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้ในที่สุด ปัญหาระบบทางเดินหายใจการผิดปกติของกระดูกจมูก และเพดานปาก เป็นเหตุให้การหายใจของเด็กทารกติดขัด หรือสำลัก ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้นด้วย ปัญหาการได้ยินการติดเชื้อในระบบทางเดินของโลหิต และน้ำเหลือภายในของช่องรับเสียง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและสูญเสียการได้ยิน ปัญหาของข้อต่อขากรรไกรการผิดปกติของเพดานอ่อน และเพดานแข็งอาจเป็นสาเหตุของการขบฟันไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดการสูญเสียการได้ยินและตามมาด้วยความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ปัญหาการเรียงของฟันการเกิดช่องโหว่ การเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติหรือซี่ของฟันที่ขาดหายไปอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจของพ่อแม่ และตัวเด็กด้วย ในการที่จะเก็บตัวอย่างโดดเดี่ยว ไม่กล้าพบปะกับผู้คนในสังคม แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง จุดมุ่งหมายของการรักษาผู้ป่วย 1. ต้องการให้ผู้ป่วยที่มีสภาพของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติได้รับการแก้ไขให้เป็นปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด มีสุขภาพกาย และใจแข็งแรง ปราศจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ2. สามารถพูดให้คนทั่วไปเข้าใจได้ชัดเจน ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด3. สามารถใช้อวัยวะในการเคี้ยว การกินอาหาร ให้เป็นปกติมากที่สุด4. ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ลดปมด้อยของตัวเอง และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างมีความสุข การจัดทีมงานในการรักษาดูแลผู้ป่วย จากปัญหาต่าง ๆ ของผู้ป่วย ปากแหว่ง เพดานโหว่ และแนวทางรักษาผู้ป่วย ที่ต้องมีแพทย์บุคลากรทางการแพทย์มากมายหลากหลายเข้ามาร่วมกัน ทำให้ต้องจัดตั้งเป็นทีมงานขึ้น เพื่อจะได้ดูแลผู้ป่วยได้ดีและมีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด ทีมงานเหล่านี้ประกอบด้วย1. ศัลยแพทย์ตกแต่ง2. ทันตแพทย์เด็ก, จัดฟัน, ศัลยกรรมช่องปาก, ใส่ฟัน3. นักฝึกพูด, อรรคบำบัด4. นักสังคมสงเคราะห์5. กุมารแพทย์6. รังสีแพทย์7. แพทย์ หู คอ จมูก และ ฯลฯ ทีมที่จัดตั้งขึ้น จะต้องร่วมกันศึกษาปัญหาอันซับซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย และช่วยจัดการวางแผนการรักษา ตั้งใจช่วยเหลืออย่างเต็มใจ และจริงจัง ที่สำคัญที่สุด คือการต่อเนื่อง โดยปรับแต่งแนวทางการรักษาตามพื้นฐานเศรษฐกิจ ฐานะของพ่อแม่ ลักษณะการผิดปกติของผู้ป่วย และข้อจำกัดในการให้การรักษาดูแลผู้ป่วยต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยในต่างจังหวัด ไม่สามารถเข้ารับการรักษาดูแลได้อย่างต่อเนื่อง เท่ากับผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยสังคมสงเคราะห์มาช่วย หรืออาจจัดวางแผนการรักษาผู้ป่วยชนิดที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสม เป็นต้น โดยการวางแผนการรักษาจะเป็นการวางแผนร่วมกันของทุกคนในทีม เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วย อายุ 3 เดือนขึ้นไป น้ำหนักมากกว่า 5.6 กก. ผ่าตัดแก้ไขริมฝีปากครั้งแรกอายุ 12-18 เดือน ผ่าตัดแก้ไขเพดานครั้งแรกอายุ 2-3 ขวบ เริ่มดูแลความสะอาดฟัน-ช่องปากอายุ 3 ขวบ เริ่มฝึกพูด เริ่มผ่าตัดแก้ไขจมูกอายุ 5 ขวบ เริ่มรับการปรึกษาแนะนำกับทันตแพทย์จัดฟัน ก่อนวัยเรียนผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น และความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น จมูก อีกครั้งผ่าตัดแก้ไขฟัน ผ่าตัดแต่งเติมลิ้นไก่ เพื่อให้การพูดชัดเจนยิ่งขึ้น วัยรุ่นผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่เหลือให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด รวมทั้งผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง หลังจากที่ได้รับการจัดฟันเรียบร้อยแล้ว

กฐินประจำปี51 มูลนิธิดวงแก้ว23-26ตค.

กำหนดการทอดกฐินประจำปีมูลนิธิดวงแก้วและจาริกบุญ อีสานใต้ 9วัด

23 ต.ค.51
06.00น รถออกจากรพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
08.30น. ถวายภัตราหารพระสงฆ์วัดป่าธรรมปิฏก
10.00น. พิธีทอดกฐินและถวายเสนาสนะทาน
11.00น. รับประทานอาหารร่วมกัน
12.00น. ออกเดินทางไปอุบลฯ
15.00น. ทอดผ้าป่าวัด บูรพาราม จ.สุรินทร์
17.00น. ทอดผ้าป่าวัด หนองป่าพง จ.อุบล
18.30น. รับประทานอาหารเย็นและเข้าที่พัก ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก

24 ต.ค. 51
06.00น. รับประทานอาหารเช้าที่ รร.
08.00น. ถวายภัตราหาร+ทอดผ้าป่าวัดดอนธาตุ
10.00น. ทอดผ้าป่า วัดป่าโพธิญาณ
11.30น. ทานอาหารกลางวันริมเขื่อนสิรินทร
13.00น. ทอดผ้าป่าวัดภูหล่น+วัดศรีบุญเรือง
18.00น. รับประทานอาหารเย็น..
19.00น. เสร็จแล้วเข้าที่พัก ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก

25 ต.ค. 51
06.00น. รับประทานอาหารเช้าที่รร.
08.30น. ถวายภัตราหารพระสงฆ์วัดป่ามณีรัตน์ พร้อมกับ ถวายผ้าพระกฐินและเสนาสนะทาน
11.00น. รับประทานอาหารพื้นเมืองอุบล
12.00น. ทอดผ้าป่าวัด สุปัฏวนารามเสร็จแล้วออกเดินทางไปเพชรบูรณ์
15.00น. ทอดผ้าป่าวัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม
17.00น. รับประทานอาหารเย็นที่....จ.ขอนแก่น20.30น. เข้าที่พักวัดผาซ่อนแก้ว

26 ต.ค. 51
05.30น. ทำวัตรเช้า
07.00น. ถวายภัตราหารเช้า
09.00น. ถวายผ้าพระกฐิน วัดผาซ่อนแก้ว
11.00น.ถวายภัตราหารเพลรับประทานอาหารร่วมกัน
12.00น.ออกเดินทางจากวัดผาซ่อนแก้ว
12.30น.ทอดผ้าป่า วัดป่าชัยชุมพล
15.00น. ทอดผ้าป่า วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
17.00น.ทอดผ้าป่าวัดมเหยงค์+วัดใหญ่ชัยมงคล
18.30น.รับประทานอาหารเย็น
20.30น.เดินทางกลับถึง กทม.โดยสวัสดิภาพ

รายละเอียดที่ http://www.duangkaew.org/ Tel/Fax. 02-876-5399

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ถวายผ้าจำนำพรรษา อุบลฯ

ถวายผ้าอาบน้ำฝน+ผ้าจำนำพรรษา อุบลฯ 51




18ก.ค. เช้า ออกจาก รพ.06.00น.ไปอุบล TG1020 ถึงอุบลฯ 07.00 น. เดินทางออกจากเมืองอุบลฯไปพิบูลมังสาหารใช้ทางหลวงหมายเลข 217 วัดแรกได้แก่ วัดภูเขาแก้ว1 ถวายของเสร็จ กราบพระประธานและอัฐิธาตุของครูอาจารย์ ขับรถต่อไปทานอาหารเช้าที่ร้านขายซาลาเปาแก่งสะพือ แล้วออกเดินทางต่อไปวัดดอนธาตุ2ห่างจากแก่งสะพือ6กม.ไปทางโขงเจียม ทางขวามือขับต่อไปจนถึงริมแม่น้ำ ขึ้นเรือข้ามไปที่เกาะ ที่ตั้งวัดดอนธาตุ ถวายของเสร็จก็ได้สนทนากับท่านอจ.คำพูล มันตคโร ประธานสงฆ์ พอเป็นที่บันเทิงใจ เรื่องของครูบาอาจารย์เก่าๆ เช่นหลวงปู่สมชายวัดเขาสุกิม กับสูตรยาสมุนไพรต่างๆ เช่นใช้น้ำผึ้งเดือน5 รักษาโรคตาเป็นต้น ก่อนกลับออกมาจากวัดได้กราบนมัสการเจดีย์และเสนาสนะเดิมของพระอจ.เสาร์และเตรียมการสำหรับการทอดผ้าป่าและภัตราหารที่จะถวายจังหันในเช้าวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคมหลังออกพรรษาแล้ว ออกจากวัดขับรถผ่านสันเขื่อนปากมูลไปทางช่องเม็กเข้าสู่ วัดเขื่อน 3 ( วัดป่าโพธิญาณ สาขาที่8 วัดหนองป่าพง) กราบนมัสการพระอจ.บุญชู ถวายของและเตรียมการสำหรับการทอดผ้าป่าช่วยท่านสร้างอุโบสถในวันที่ 24ต.ค. ออกมาแวะวัดภูพร้าว 4ซึ่งเป็น วัดที่พระอจ.สีทนมาบูรณไว้ มองจากวัดเห็นวิวเขื่อนสิรินทร สวยมาก ที่วัดกำลังสร้างเจดีย์ของหลวงปู่บุญมาก และพระอุโบสถทรงหลวงพระบาง ออกจากวัดแวะกราบหลวงปู่คำคะนึงที่วัดถ้ำคูหาสวรรค์ 5ก่อนที่จะมุ่งหน้าเขาสู่วัดภูหล่น 6 วัดแห่งแรกของพ่อแม่ครูอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น ที่อำเภอศรีเมืองใหม่ ก่อนถึงวัด1กม.รถตกหลุมยางหน้าซ้ายแตก ต้องขอให้ชาวบ้านแถวนั้นช่วยเพราะรถเช่าจาก ข.วัฒนาที่เช่ามาไม่มีแม่แรงมาให้ เปลี่ยนยางเสร็จก็ไปเติมลมที่หมู่บ้านภูหล่นก่อนเข้าวัด กราบถวายของกับพระอาจารย์เอก (สมัย อภิญาโณ) ท่านอจ.แสดงธรรมให้ฟังเป็นที่บันเทิงใจแล้วพาชมบริเวณวัด ที่ทางมูลนิธิฯได้มาบูรณะไว้เมื่อ15ปีก่อน โดยได้สร้างรูปเหมือนลป.เสาร์และ ลป.มั่น รวมทั้งอาคารปฏิบัติธรรม3ชั้นหลังอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันหลังคาโดนพายุเสียหายมาก โครงสร้างเหล็กก็ขึ้นสนิมต้องแก้ไขซ่อมแซม เราจึงปาวารนาตนเป็นเจ้าภาพกฐินในปี2552เพื่อซ่อมแซมอาคารดังกล่าว คาดว่าอาจต้องใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณ 1ล้านบาท ผู้มีจิตศรัทธาใน องค์ลป.เสาร์และ ลป.มั่น ขอเชิญร่วมกุศลด้วยกันนะครับ ต้นโพธิ์ที่ปลูกไว้ในงานกฐินปี37 ก็โตใหญ่แล้ว ออกจากวัดแวะไปขอบคุณชาวบ้านที่ช่วยเปลี่ยนยาง เขาจึงชวนไปทำบุญวัดภูระฆัง 7 ที่บ้านเขา ช่วยกันสร้างขึ้นเราได้ถวายผ้าไตร จตุปัจจัยไทยธรรม เดินชมสถานที่เล็กน้อยเพราะเย็นแล้วพระที่ดูแลคือพระอจ.ธำมรงค์ วัด.... อยู่ อ.บุญฑริก ออกจากวัดมีพายุใหญ่ฝนเริ่มตก แต่เราก็ตัดสินใจยังไม่กลับแต่แวะไปบ้านคำบงบ้านเกิด ลป.มั่น ไปถึงวัดศรีบุญเรือง 8 ฝนเบาลง เราจึงได้ถวายปัจจัยไทยธรรม กราบนมัสการวิหาร ลป.มั่นและพระประธานในอุโบสถที่เพิ่งบูรณะเสร็จ ก่อนกลับไปกราบบ้านเกิดของท่านหน้าวัดที่บูรณะเสร็จไม่นานแต่ยังไม่ได้ทำทางเขา เราเลยขอโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดสร้างทางเขาบ้านเกิด ลป. ออกจากวัดฝนตกหนักเราเลยไม่กลับทางเก่าแต่ออกมาทางเส้นตระการพืชผลแทน ถึงอุบลฯแวะซื้อน้ำปานะ พัดลม ไทยธรรมสำหรับวัดที่จะถวายในวันรุ่งขึ้น และไปจองที่พักสำหรับคณะจาริกบุญกฐินประจำปี51 23-26 ต.ค. ที่ศูนย์ ศิลปวัฒนธรรมนี้ก่อนจะเข้าที่พักเวลา5ทุ่ม
19 ก.ค. เช้าเริ่ม06.00น.ไปวัดป่าใหญ่(วัดมหาวนาราม) 9 ถวายเครื่องไทยธรรมเสร็จแล้วไปตลาดซื้อภัตราหารไปถวายจังหัน ณ วัดหนองป่าพง 10 ได้เอาพัดลมใหญ่2ตัวไปกราบถวายหลวงพ่อเลี่ยมพ้อมผ้าอาบละผ้าจำนำพรรษาที่กุฎี หลวงพ่อก่อนจังหัน ท่านเมตตาแสดงธรรมให้ฟังเรื่องความไม่ประมาทในธรรมทั้งกายและใจ เสร็จแล้วไปกราบเจดีย์ลป.ชา อุโบสถ ถวายจังหันก่อนที่จะกราบลาไป วัดป่านานาชาติ 11 สาขาหนองป่าพงที่16ไปถึงช้าไปเกือบ11โมงจึงรออยู่นานไม่พบท่านเจ้าอาวาสใหม่ ท่านเฮ็นนิ่ง เกวลี ได้แต่ฝากถวายไว้ วัดสวยขึ้นมากกว่าตอนที่มาพักบ่อยๆ 20ปีก่อน ออกจากวัดย้อนกลับไปทางเดชอุดมเข้าวัดป่ามณีรัตน์ 12 วัดของ ลป.ทองรัตน์ครูอาจารย์ลูกศิษย์ลป.มั่นอาจารย์ของ ลป.ชา ตรวจดูอาคารห้องน้ำ 16ห้อง และ5ห้อง อาคารดวงแก้วรวมใจ ระบบน้ำกินน้ำใช้ ที่มูลนิธิได้จัดสร้างถวาย เพื่อจะได้นำถวายพร้อมกฐินที่มูลนิธิฯเป็นเจ้าภาพใน25ต.ค.นี้มีพิธีเวลา08.30น. มีเวลาเชิญร่วมบุญกันครับ ออกจากวัดไปทานอาหารและจองที่สำหับคณะกฐินฯ ที่ร้านอาหารสามชัยกาแฟ ก่อนจะไปกราบถวายไทยธรรม ณ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร 13 วัดเก่าแก่ของครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน ได้ชมขบวนแห่เทียนที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศด้วย ท่านกำลังปรับปรุงวัดหลายอย่างเราเลยปาวารนาจองถวายผ้าป่าในวันที่25ต.ค.ด้วย เสร็จแล้วเข้าวัดศรีอุบล 14ก่อนจะไปวัดบูรพา 15 วัดที่ครูบาอาจารย์สายกรรมฐานมาพักและผ่านไปมาเสมอตั้งแต่สมัย ลป.มั่น และที่สำคัญ เป็นที่ถวายเพลิงพระศพ ลป.เสาร์อีกด้วย ถวายเครื่องไทยธรรมกับท่านเจ้าอาวาส พระครูสมุห์ วิศิษฐศักดิ์ กัลป์ยาโณ ลูกศิษย์พระอจ.แดง ท่านได้นำบาตรน้ำมนต์ของลป.เสาร์มารดน้ำพระพุทธมนต์ให้คณะเราด้วย เราได้ปรารภถึงบริเวณถวายเพลิงพระศพลป.เสาร์ ที่ขาดการบูรณะ เราจึงขอบูรณะใหม่เป็นศาลาทรงไทยและขอสร้างรูปหล่อเหมือนลป.เสาร์ ไว้ให้คณะศรัทธาลูกศิษย์กรรมฐานได้มากราบไหว้พ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคารพของพวกเรา ท่านก็ได้เมตตาอนุญาต เสร็จแล้วก็มุ่งหน้ากลับสนามบิน ยังมีไทยธรรมและเวลาเหลือเราจึงแวะเข้าวัดสารพัด 16นึกหน้าสนามบินทำบุญต่ออีกหน่อยก่อนขึ้นเครื่อง TG 1031 กลับกทม. 2ทุ่ม จบการจาริกบุญครั้งนี้
ของถวายไทยธรรมแต่ละวัด
ผ้าไตร+ชุดยา หนังสือธรรมะ1ชุด11เล่ม + สังฆทาน ของใช้สงฆ์1ชุด วัดละ1ชุด
+พัดลม 16 ” 3 ตัว วัดหนองป่าพง2 วัดป่ามณีรัตน์1+ปัจจัย12000บาท

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วัดในใจ

วัดในใจ
พญ. อมรา มลิลา
ชมรมพุทธธรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี
เมื่อ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๖
การที่เราตั้งจุดมุ่งแสวงหาวัดในใจนั้น ไม่ใช่เย่อหยิ่งคิดว่าการไปวัดจริง ๆ เป็นสิ่งไม่ดี หรือจะเลิกไปวัดกัน แต่คงเข้าทำนององุ่นเปรี้ยว คือ เมื่อเรายังไม่มีโอกาสไปวัดได้ดังใจปรารถนา ก็ปลอบใจตัวเองว่า ทำอย่างไรจึงสามารถถึงวัดได้ทุก ๆ ครั้งที่ต้องการ
จุดประสงค์ของการไปวัด ก็เพื่อหาความสงบร่มเย็นให้กับใจ แท้ที่จริงแล้ว ความสงบร่มเย็นนั้นเกิดมาจากในใจของเราเอง หาได้มาจากวัดที่ไปไม่ แต่บรรยากาศที่วุ่นวาย ที่รุ่มร้อนรอบ ๆ ตัวทุกวันนี้ ถ้าเราจะเริ่มหยุดใจของเรา ทำใจของเราให้สงบนั้น เริ่มได้ยาก ทำได้ยาก เราจึงต้องไปอาศัยร่มเงาของสถานที่ที่วิเวก ที่สงบ เป็นที่ตั้งต้นก่อน แต่เมื่อไปแล้ว หลาย ๆ คนเลยลืมไปว่า แท้ที่จริงความสงบนั้นมาจากในใจของเราเอง เป็นสิ่งซึ่งเราต้องพากเพียรสร้าง แล้วคอยประคับประคองหล่อเลี้ยงให้เจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้น เหมือนอย่างกับเราปลูกต้นไม้ให้เติบโตอยู่บนเนื้อนาคือ ใจของเรานี้เอง เราก็เลยหลงไปว่า ถ้าไม่มีเวลาไปวัดแล้วจะไม่สามารถหาความสงบได้
โปรดเตือนตนไว้ว่า วัด หมายถึงการสร้างความสงบให้บังเกิดขึ้นที่ในใจของเราเอง ปละเมื่อระลึกได้ดังนี้แล้วก็มาใคร่ครวญว่า จะทำอย่างไร จึงสามารถนำวัดให้เข้ามาอยู่ในใจได้ตลอดเวลา เพราะการที่เรายังต้องทำงานอยู่ทุกวันอย่างนี้ ย่อมเป็นการยากที่ทุก ๆ อย่างจะราบรื่นถูกใจไปทั้งหมด
ตราบเท่าที่เรายังไม่สามารถอยู่โดยลำพัง และทำอะไรด้วยตัวของตัวเองได้ ให้ระลึกไว้ว่า ผลที่จะเกิดสืบเนื่องมาแต่การกระทำของเรานั้นเป็นปัจจัยร่วมกันระหว่าง “เรา” กับ โลก คือผู้อื่น สิ่งอื่น ที่มาสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย เป็นต้นว่า เรามีครอบครัว และจะไปทึกทักให้ทุกคนในครอบครัวมีความคิดความเห็นเหมือนเราทั้งหมดย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะแต่ละคนก็มีใจของตน เป็นใจเขา ใจเรา แตกต่างกันไป เราจะจัดระบบอย่างไร ทุก ๆ คนในครอบครัวจึงจะมีสิทธิ มีเสียง เป็นอิสระของตนได้รับความพึงพอใจ โดยไม่ไปเบียดเบียนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น กล่าวคือ ไม่ใช่ผู้หนึ่งได้ดังใจ ขณะที่อีกผู้หนึ่งต้องเดือดร้อน อดทน
ต่อจากครอบครัว ก็เป็นที่ทำงาน ซึ่งเป็นสถานที่รวมของคนที่ต่างจิตต่างใจกัน การที่แต่ละคนจะรู้ใจของกันและกัน จะทำให้ได้ดังใจนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ ความราบรื่นจะมีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับแยบคายอุบายที่แต่ละคนจะสามารถกามาหล่อเลี้ยงใจของตน เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นของกลาง ๆ ไม่มีความหมายด้วยตัวของมันเอง มันจะให้สุขหรือทุกข์ ก็เพราะใจไปให้ความหมายกับเหตุการณ์นั้น ๆ ต่างหาก
เมื่อไม่นานมานี้ ดิฉันได้พาคนไข้โรคจิตมารักษากับจิตแพทย์ จนคนไข้มีอาการดีขึ้น สามารถออกจากโรงพยาบาลกลับไปบ้านได้ โดยเอายาไปกินต่อ คนไข้มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดค่อนข้างไกลจากกรุงเทพฯ คุณหมอจึงจัดยาให้ไปสำหรับหนึ่งเดือน แล้วนัดให้คนไข้กลับมาพบอีก คนไข้ก็ประท้วงว่า ไม่ต้องมาไม่ได้หรือเพราะเดินทางไกลเหลือเกิน คุณหมอก็ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ทำอย่างไรเราจึงจะได้พบกันอีกเล่า คนไข้ก็ตอบทันควันว่า ให้คุณหมอย้ายไปอยู่จังหวัดที่เขาอยู่ก็แล้วกัน ไปอยู่ใกล้ ๆ บ้านของเขา จากเหตุการณ์นี้ คุณจะเห็นได้ว่า เพราะวิธีตอบสนองสิ่งมากระทบของคนไข้เป็นอย่างนี้เอง เขาจึงมีความคับข้องใจสูงจนเกิดเป็นโรคจิตขึ้น
พระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ว่า ก่อนที่จะคิด จะพูด จะทำอะไร ให้เอาสติ เอาปัญญากำกับไว้ ไตร่ตรองให้เป็นสัมมาทิฐิเสียก่อนจึงค่อยกระทำ เมื่อเป็นสัมมาทิฐิแล้ว ใจของเราจะสงบสุข ใจของเราจะร่มเย็น
โดยปกติธรรมชาติธรรมดา ไม่ว่าเราจะเห็นแก่ตัวอย่างไร ๆ เราก็คงรู้เหตุผลพอที่จะไม่ไปบอกให้คุณหมอเป็นฝ่ายย้ายที่อยู่เป็นแน่ แต่คนไข้รายนี้ ทำให้เราได้เห็น โดยเอาใจแท้ ๆ ของเขาออกมาแผ่ให้เห็นว่า หากเราไม่ละลายตัวตน ไม่เอาสติมารักษาใจไว้แล้ว เราจะสำคัญตัวเราเป็นจุดศูนย์รวม เหมือนโลกมีแรงดึงดูดของโลก เมื่อเราขว้างอะไรออกไป แรงดึงดูดนี้จะดูดทุกอย่างให้ตกลงมาที่โลกอีก ในคนเราก็เช่นกัน หากเราเห็นตัวเองเป็นแกนสำคัญมากเท่าใด ก็ย่อมเกิดความคับข้อง เกิดความยากลำบากในการที่จะอยู่ในโลกนี้มากเท่านั้น เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใจที่นึกถึงแต่ตนเอง จะแปลทุกอย่างให้เป็นความไม่สะดวกไม่สบายไปหมด เพราะมันไม่เป็นไปดังใจปรารถนา
คำตอบของคนไข้ที่ให้คุณหมอย้ายไปอยู่ใกล้ ๆ เขานั้นชัดเจนที่สุด เพราะเขาคิดเพียงว่า ตัวเขาเป็นศูนย์รวมที่ต้องทะนุถนอมให้ได้รับความสะดวก สบายทุกประการ อะไรก็ตามที่มาเกี่ยวข้องกับเขา ต้องเป็นฝ่ายปรับตัวเพื่ออำนวยความสะดวกสบายเหล่านั้น โดยไม่ได้คำนึงว่า ตนอยู่ในฐานะใด สิ่งที่ต้องการนั้นถูกควร เหมาะกับกาลเทศะเพียงใด หรือไม่ เขาคิดเพียงว่า ถ้าอะไรก็ตามไม่โอนอ่อนตามที่ปรารถนาแล้ว ถือเป็นการเสียดทาน เป็นความคับข้องทั้งสิ้น ใจดวงนั้นจึงรุ่มร้อนคับข้องอยู่ตลอดเวลา
นี่เป็นตัวอย่างสุดปลายทางของตัวตน
หรือถ้าพิจารณาดูในเด็กเล็ก ๆ ก็จะพบการตอบสนองในทำนองเดียวกัน เมื่อใดที่ต้องการของเล่น ต้องการดื้อ หรือต้องการอะไรก็ตาม ถ้าพ่อ แม่ หรือผู้เกี่ยวข้องไม่ให้ดังใจ เด็กจะร้อง จะลงดิ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น แต่เพราะเราไปเห็นว่ายังเด็ก ยังไม่เดียงสา กิริยาเหล่านี้จึงเป็นสิ่งน่าเอ็นดู เป็นสิ่งปกติ แท้จริงแล้ว นี่คือใจที่ไม่ได้เอาสติ เอาปัญญากำกับไว้ ใจที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีกำกับจะเป็นใจเช่นนี้เอง หากมันเติบใหญ่ไปกับกายโดยไม่มีการอบรม หรือมีวัฒนาการอันใดเลย ใจอันนี้จะเป็นความเดือดร้อน ระส่ำระสายของโลก
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ใจที่ไม่มีธรรมะนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในที่กว้างใหญ่ไพศาลเพียงไหนก็ตาม มันย่อมคับ ย่อมครูด ย่อมกระทบกระทั่งกับของทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว เพราะอย่างนี้เอง เพราะอัตตาที่ไม่เคยอิ่ม ไม่เคยพอ ที่พร่องอยู่ตลอดเวลาที่เรียกร้อง ที่แสวงหาจะเอาให้ได้ดังใจ คอยบังคับเอาไว้ พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เราไตร่ตรองจนได้สัมมาทิฐิเสียก่อน
คำว่า “สัมมาทิฐิ” นี้อย่าไปตีความเข้มงวดลึกซึ้งว่า ต้องเป็นความเห็นชอบที่เที่ยงแท้ที่สุด ให้ถือเพียงเป็นปัญญาเห็นชอบที่ทำให้เราเกิดอุบายแยบคาย พอปรับใจให้อยู่กับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ด้วยความมีเหตุ มีผล มีธรรมะสามารถรักษาใจให้สงบผาสุกอยู่ได้ ไม่ว่าโลกรอบตัวจะร่มเย็นหรือจะรุ่มร้อน และสัมมาทิฐินี้ยังไม่สมบูรณ์แบบตราบเท่าที่จิตยังไม่บริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสทั้งปวง แต่สัมมาทิฐิเหล่านี้แต่ละขณะ แต่ละขณะ ก็เปรียบเหมือนประตูที่เปิดรับเราเข้าไปสู่มรรค และจะค่อย ๆ ละเอียดเข้าไป ๆ ๆ เหมือนกับเรากำลังยืนอยู่ชั้นล่าง แล้วจะขึ้นไปชั้นเก้าของตึกนี้ เราก็ต้องไปตามบันไดทีละขั้น ๆ ปัญญาที่จะเป็นสัมมาทิฐิเพื่อพาเราไปตนถึงจุดหมายนั้น ก็จะค่อย ๆ ละเอียดรอบรู้มากขึ้น ๆ เป็นของเที่ยงแท้เพิ่มขึ้นทีละขั้น ๆ เหมือนที่เราขึ้นบันไดไปฉันนั้น ดังนั้นหากสิ่งที่ได้ไตร่ตรองจนเห็นว่าดีที่สุด สุดสติปัญญาความสามารถของเราแล้ว อีกเดือนหนึ่งต่อมา เกิดเห็นข้อบกพร่องก็อย่าตกใจ อย่าเสียใจ นั่นแสดงว่าคุณได้ทำตัวให้เจริญก้าวหน้างอกงามขึ้นไปแล้ว เพราะจิตที่ยังคละเคล้าอยู่กับกิเลสที่ยังเป็นสมมตินั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลง มีการเจริญ การเสื่อม เป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์
การปฏิบัติธรรมคืออย่างนี้เอง เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ที่มาสัมผัสจิตใจของเรา เปรียบเหมือนหินที่คอยลับสติปัญญาให้แหลมคมขึ้นเรื่อย ๆ สติปัญญาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องฝึกฝน ฝึกปรือ ให้เพิ่มพูนขึ้น และอยู่กับจิต เป็นพี่เลี้ยงคอยประคับประคองรักษาจิต ติดต่อกันสืบเนื่องกันให้ยาวนานที่สุด เท่าที่สามารถทำได้
จิตที่มีสติปละมีปัญญาคอยรักษา คือจิตที่ถึงวัด
เพราะวัดนั้นไม่ใช่อะไรอื่นไกลเลย วัดก็คือสถานที่ที่ทำให้ใจของเรามีความสงบ มีความอิ่มพอในตัวเอง ไม่ใช่เห็นอะไรก็คับข้อง เห็นอะไรก็อยากได้ไม่รู้จบ ไม่รู้จักสิ้น
เมื่อเราเข้าใจความหมายเช่นนี้แล้ว เราจะได้คอยระมัดระวัง รักษาไม่ให้วัดหลุดหายไปจากใจของเรา
ใจของคนเราย่อมไม่หยุดนิ่งหรืออิ่มเต็มอยู่ได้ตลอดเวลา เพราะใจอันนี้จะไม่พาให้มีตัวเราเกิดขึ้น ถ้ามันสิ้นกิเลสแล้ว ใจที่ไม่มีกิเลสเคลือบแฝงอยู่ ไม่มีอวิชชา และอุปาทานแปดเปื้อนจะไม่เกิดอีก เมื่อมีการเกิด ร่างกายอันนี้ก็คือ เศษของกรรม ของวิบากเก่า ๆ ที่เปรียบเหมือนหนี้ตกค้าง เมื่อเรารัก เราชังสิ่งใดไว้ ความรู้สึกนั้นก็ก่อให้เกิดแรงดูด แรงผลักประยุกต์กัน เกิดเป็นตัวเราขึ้นมาอย่างนี้และมาเจอะเจอสิ่งรอบข้างที่ล้วนมีส่วนร่วมสร้างแรงประยุกต์มากับเรา แล้วจิตของเราก็ดูด ก็ผลักสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไปตามความเคยชินที่ฝังอยู่เป็นพื้นนิสัย เหมือนกับว่า ใจอันนี้เป็นเศษเหล็กที่วางอยู่ในสนามแม่เหล็กโลก คนที่มีกรรมถักทอกับเราก็ล้วนเป็นเศษเหล็กเช่นกัน ที่ต้องมาตกอยู่ในสนามอันนี้ด้วยกัน แล้วบางอันก็เกิดแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน บางอันก็ผลักกัน เกิดแรงที่ประยุกต์ต่อกันและกันอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นความรัก ความชัง ความชอบ ความไม่ชอบ พัดเวียนวนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ใจของเราไม่สงบราบเรียบอยู่บนฐาน แต่เป็นใจที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ เป็นคลื่นอยู่ตลอดเวลา
ใจที่แกว่ง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ อยู่อย่างนี้ คือใจที่ไม่มีความสุข
ถ้าดูจริง ๆ แล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เราทุกข์ แต่ใจที่ไปพะวง ใจที่ไปคาดคะเนไปห่วงว่าจะได้อย่างนี้หรือไม่ได้ นั้นต่างหากที่ทำให้เรากังวล ให้เราทุกข์
สมมติเราไปสมัครสอบจะไปเรียนเมืองนอก สอบจริง ๆ นั้นเสร็จไปแล้ว แต่ใจของเราคอยไปนึกว่า เอ....เราจะได้ หรือเราจะไม่ได้ ใจที่ควรสงบก็เลยเกิดความพะวักพะวน จริง ๆ นั้น เราจะได้ หรือเราจะไม่ได้ก็ไม่ทุกข์เท่าช่วงเวลาที่คอยผลด้วยใจที่พะวักพะวน และในช่วงเวลานั้น หากมีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งเราควรต้องเอาสติปัญญาไปจดจ่อ ไปอยู่กับขณะเดี๋ยวนั้น ที่กำลังเป็นความจริงนั้น ใจของเรากลับแตกแยก ไม่ไปจดจ่ออยู่กับความเป็นจริงตรงนั้น หากไปห่วงอยู่แต่ว่า เอ....เราจะได้หรือจะไม่ได้ ทำให้เกิดความเผลอ ไม่ได้ดูสิ่งที่ควรเอาใจทั้งใจไปมองดูโดยรอบคอบ เราก็อาจทำความผิดอะไรขึ้นมาด้วยความพลั้งเผลอ ด้วยความที่เอาใจไปผูกกังวลอยู่กับสิ่งที่ไม่มีอยู่ สิ่งใดที่เป็นอดีตไปแล้ว ซึ่งไม่ว่าเราจะกังวลแค่ไหน การจะสอบได้หรือไม่ได้ ก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเหตุจริง ๆ นั้นได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อตอนเราไปสอบ เราแก้ไขอะไรที่เหตุไม่ได้อีกแล้ว เปรียบเหมือนเราหว่านเม็ดอะไรอย่างหนึ่งลงไปในดินเรียบร้อยแล้ว แล้วเราจะมานั่งสงสัยว่า เอ...เม็ดที่เราหว่านลงไปเมื่อกี้นั้น เป็นเม็ดที่เราต้องการหรือเปล่า ใช่เม็ดเขียวเสวยที่อยากได้หรือเปล่า ไม่มีโอกาสแก้ไขหรือทำอะไรอีกแล้ว เพราะเมื่อเม็ดนั้นลงไปถูกกับดิน ถูกกับน้ำ ก็เกิดขบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพเพื่องอกเป็นต้นต่อไปโดยลำดับ
กรรมของคนเราก็เช่นกัน เหมือนเม็ดพืชที่ถูกหว่านลงไปในดิน เมื่อเราได้คิด ได้พูดหรือได้กระทำอะไรลงไปแล้ว มันก็เริ่มก่อผล เป็นวิบากขึ้นในจิต ซึ่งเป็นประจุกรรม เหมือนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เราจะไปลบไป ล้าง ไปเปลี่ยน ไปแปลงอะไรไม่ได้อีกแล้ว ได้อยู่อย่างเดียว คือ คอยจนมันงอกออกมา และผลิดอกออกผลให้เราเก็บเกี่ยว
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงสอนว่า สิ่งที่ทำลงไปแล้วอย่าย้อนคิดเสียดาย อย่าเก็บมากังวลครุ่นคิด แต่ก่อนจะกระทำสิ่งใดให้ไตร่ตรองจนรอบคอบเสียก่อน ด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยเหตุผล ก่อนจะทำ เรามีโอกาสเต็มที่ว่า จะทำอย่างไร เพื่อที่จะไม่ย้อนคิดเสียใจ เสียกำลัง เสียเวลาเพื่อล้มล้างสิ่งที่เอาคืนมาอีกไม่ได้แล้ว
ก่อนจะทำนั้นจะตรึกตรองอย่างไร จะเลือกเฟ้นอย่างไร ไม่เป็นปัญหา เวลามีอยู่ เรามีสิทธิเต็มที่ที่จะขีดเส้นที่เราต้องการจะไป ที่เราต้องการจะเป็น ที่เราต้องการจะได้
แต่ครั้งหนึ่งที่ได้กระทำลงไปแล้ว จบสิ้นไปแล้ว พอสิ่งนั้นผ่านพ้นไปแล้ว เป็นเงาไปแล้ว เหมือนนกที่เกาะอยู่พอมันขยับปีกบินไปแล้ว เราหารอยของมันไม่เจอ มันไม่เหลือรอยอะไรทิ้งไว้ในอากาศที่บินผ่านไปเลย หรือเหมือนเราขีดไปในน้ำ ขีดแล้วก็หายไป ไม่มีอะไรเหลือ
เหตุอันใดก็ตามที่เป็นอดีตไปแล้ว เป็นอย่างนั้น คงเหลือแต่ผลซึ่งจะงอกผลอดอกออกผลมาให้เราได้เก็บเกี่ยวใช้สอย
อนาคต ก็เช่นกัน ถ้าเราทำเหตุในปัจจุบันเฉพาะหน้า แต่ละขณะด้วยความรอบคอบ ด้วยความแน่ใจ มั่นใจ ไม่ต้องห่วงว่าอนาคตจะดีหรือไม่ดี สมมติเราอยากได้มะม่วงเขียวเสวย ถ้าเรารอบคอบ เลือกเม็ดมะม่วงและแน่ใจว่าเป็นเขียวเสวย เอาเพาะลงดิน รับรองว่า ถ้าเม็ดนี้งอกขึ้นเมื่อใด เราต้องได้มะม่วงเขียวเสวยแน่ ๆ ไม่มีทางจะกลายเป็นขนุน เป็นละมุดหรือต้นอะไรอื่นใดเป็นอันขาด
เมื่อเห็นจริงดังนี้ เราอยากได้สิ่งใดในชีวิต ก็โปรดรอบคอบกับการกระทำทุก ๆ อย่าง แล้วผลในอนาคตไม่ต้องห่วง ไม่ต้องกังวล เป็นที่แน่นอนว่า จะต้องเป็นไปดังใจปรารถนา
แต่โปรดอย่าเพิ่งทึกทักว่า ทุก ๆ อย่างจะเป็นดังนี้ทั้งหมด เพราะกรรมที่เรากระทำนั้นย่อมมีวาระแตกต่างกัน เช่น เมล็ดพืชบางชนิดต้องเพาะไว้เป็นเดือนจึงงอก บางอย่างโปรยลงไปวันสองวันก็งอกแล้ว กรรมของเราก็เช่นกัน บางสิ่งเราได้ทำไว้แต่เก่าก่อน จนความจำอันน้อยนิดนี้ระลึกไม่ได้แล้วมันเพิ่งส่งผลออกมา เราจะไปลงความเห็นว่า ไม่จริงเลยที่ว่า เราคือผู้รับผลแห่งการกระทำของเรา ยังไม่ได้
ตราบเท่าที่จิตของเรายังไม่ละเอียด ยังไม่รู้แจ้งเห็นจริงรอบไปหมดอย่างพระพุทธองค์ เราจะไม่สามารถสาวหาต้นเหตุแต่ละอัน ๆ ให้เห็นแจ่มชัดได้ทุกกรณี แต่ถึงเราจะ หูกระทะ ตาไม่ไผ่ อย่างนี้ หากพากเพียรฝึกฝนเรื่อยไปไม่ละ ไม่ถอย ก็จะมีหลาย ๆ สิ่งมาแสดงให้เห็น ให้เกิดศรัทธาอันมั่นคงว่า การกระทำ คำพูด ความคิดของเรา คือตัวที่ผลิเป็นดอกผลให้เก็บเกี่ยว เพราะกับตัวเองก็มีอะไรหลาย ๆ สิ่งเกิดขึ้น ที่ทำให้ต้องเชื่ออย่างมั่นคงว่า เราเป็นผู้รับผลของการกระทำของเราเองจริง ๆ หากกรรมมีว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น แม้จะพยายามหลบเลี่ยงอย่างไร ๆ ก็หลบเลี่ยงไม่พ้น เพราะฉะนั้นถ้าเราเป็นหนี้ใครอยู่ เวลาถูกเจ้าหนี้ทวง ก็อย่าหลบเลี่ยง แต่ให้บอกตัวเองว่า เมื่อครั้งหนึ่งเราโง่ เซ่อ ไปก่อหนี้สินล้นพ้นตัวเอาไว้ บัดนี้เราเข้าใจแล้ว เรารู้แล้ว ก็หน้าชื่นตาบานรีบใช้หนี้เสีย พร้อมทั้งระมัดระวังที่จะไม่ก่อหนี้ใหม่ขึ้นมาอีก วันหนึ่งบัญชีหนี้ย่อมต้องหมดไป เหมือนเรามีน้ำสกปรกอยู่โอ่งหนึ่ง และเรารู้แล้วว่าน้ำในโอ่งนี้สกปรก เราก็ตั้งหน้าตั้งตาวิดทิ้ง โดยไม่เผลอใส่น้ำใหม่เข้าไป วันหนึ่งน้ำในโอ่งต้องหมด เราก็ล้างโอ่ง แล้วเอาน้ำใสสะอาดใส่เข้าไป โอ่งของเราก็จะมีแต่น้ำดี น้ำบริสุทธิ์ น้ำเป็นประโยชน์ เอาไปใช้กินใช้ดื่ม ใช้ทำอะไรก็ได้
ใจของเราก็เช่นกัน ใจที่มีอวิชชา มีอุปาทาน มีกิเลสทั้งหลายเคลือบแฝงอยู่ ก็เปรียบเหมือนน้ำที่สกปรก ถ้ายังไม่มีเหตุการณ์อะไรมากระทบกระทั่ง เราอาจหลงเข้าใจว่าใจของเรานี้ ใสสะอาดแล้ว เพราะกิเลสทั้งหลายลงไปนอนก้น จับเป็นตะกอนเรียบอยู่ เมื่อมองผาด ๆ ก็เห็นว่าใสดีแล้ว ครั้นมีเหตุการณ์บางอย่างที่ไม่คาดฝัน ที่รุนแรงเกินกว่าสติปัญญาจะควบคุมได้มากระทบ เราก็อาจจะโกรธจนเส้นเลือดแตก หัวใจวาย เราก็อาจทำผิดพลาดไป เช่น ข่าวในหนังสือพิมพ์ สามีภรรยาซึ่งรักกัน พอเกิดเรื่องขัดใจ ตกลงกันไม่ได้ ฝ่ายหนึ่งก็เอาปืนมายิงอีกฝ่ายถึงตาย เพราะชั่ววูบเดียว สิ่งกระทบกระทั่งนั้นทำให้สติหลุดออกไปจากใจ หรือเรากำลังมีหนี้ล้นพ้นตัว มีตู้เพชรเดินได้มาล่อ เราก็อาจกลายเป็นผู้ร้ายปล้นชิงทรัพย์ หรือฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย ของอย่างนี้รู้ไม่ได้ ห้าบาท สิบบาท เราไม่ทำ แต่ถ้าล้านสองล้าน คนดี ๆ ก็อาจกลายเป็นคนไม่ดีไปได้
ใจของคนเรานั้น ไม่ใช่สิ่งที่มองเห็นทะลุปรุโปร่งได้เหมือนแก้วน้ำใบนี้ มีผู้เปรียบใจเหมือนต้นกล้วย ส่วนที่เป็นจิตสำนึก ที่ถูกพ่อแม่อบรม ถูกครูบ่มสอน ที่มีสติปัญญารักษานั้น คือกาบนอกสุดของต้นกล้วยเราเห็น เรารู้จัก แต่กาบที่อยู่ข้างใน ๆ เข้าไป ที่เป็นจิตใต้สำนึก ที่เป็นจิตไร้สำนึก ซึ่งสติยังหยั่งเข้าไปไม่ถึง ปัญญายังตามเข้าไปรักษาไม่ถึงนั้น เราไม่เห็น เราไม่รู้จัก ถ้าอะไรก็ตามที่มากระทบ รุนแรงจนสั่นสะเทือนเข้าไปถึงอาณาบริเวณที่สติและปัญญายังตามเข้าไปไม่ถึงนั้น เราไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่า เราจะตอบสนองสิ่งกระทบนั้นออกไปอย่างไร เราอาจจะทำไปแล้วนึกไม่ออกว่า นี้หรือที่เราทำลงไป หรือว่าไอ้ผีบ้าตัวไหนมาสิงเราให้เป็นไปอย่างนั้น แท้ที่จริงไม่ใช่ผีตัวไหนเลย มันเป็นใจที่เป็นป่าดงดิบของเรานั่นเอง ถ้าย้อนไปมองดูใจของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนดี คนชั่ว คนยากไร้ หรือคนร่ำรวยแค่ไหนก็ตามมันจะเป็นสิ่งเดียวนี้เท่านั้น คือ จะเป็นใจที่มันเป็นกิเลส เป็นอวิชชา เป็นอุปาทาน เคลือบแฝงปนอยู่กับใจที่เป็นธาตุรู้ เป็นพุทธะ แล้วเราก็ไม่รู้ว่า ใจอันนี้นั้นจะหงายเอาพุทธะออกมา หรือจะหงายเอากิเลสออกมา ทั้งนี้สุดแต่ว่า แรงที่มากระทบจะเร้าให้สิ่งไหนเกิดกำลังเป็นวัวปากคอก โผนวิ่งออกมาเป็นตัวแสดง ถ้าเราเอาสิ่งที่เป็นกิเลส สิ่งที่เป็นตัวตน สิ่งที่เป็นความเห็นแก่ตัวทั้งหลายทั้งปวงออกมา ร้อยเปอร์เซ็นต์มันจะเป็นอย่างที่เรียนเมื่อกี้ว่า มันจะไม่มีการคิดถึงคนอื่นเลย จะคิดถึงแต่ประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้งถ่ายเดียวและจะไม่ได้นึกว่า สิ่งที่พูดหรือแสดงออกมานั้นจะน่าเกลียดหรือเหมาะสม หรือเป็นอย่างไร
การที่เราไปว่าว่า คนโน้นคนนี้เป็นบ้า แล้วเอาเก็บไปรักษาในโรงพยาบาลโรคจิตนั้น เราเองก็มีตัวบ้าตัวนี้อยู่ในจิตเช่นกัน ชั่วแต่มันจะมีเวลาแสดงออกมาให้เราได้เห็นหรือไม่เท่านั้นเอง
การที่เราจะไปให้ถึงวัด การที่เราจะปฏิบัติธรรมนั้น คือการเอาสติเพ่งมองเข้าไป จนกระทั่งได้เป็นจิตที่เป็นป่าดงดิบอันนี้ของเรา เมื่อเห็นแล้ว เราจะได้สลดใจ เราจะได้คิดว่า เออหนอ...เรานึกว่าเราดีแล้ว เราได้ศึกษาพากเพียรมาถึงแค่นี้แล้ว เราเป็นคนละเอียดละออ ละเมียดละไม ได้ขัดเกลาแล้ว แท้ที่จริงยังไม่พอ....
กิเลสที่ในจิตของเรานั้น เหมือนรอยที่เขียนไว้บนฟิล์มหนัง เมื่อเอาฟิล์มไปฉาย เงาบนจอจะตัวใหญ่หรือตัวเล็กนั้น ขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างจอกับเครื่องฉาย ถ้าเราตั้งจอติดกับเครื่องฉาย เงาที่เห็นก็ตัวเล็ก เหมือนอย่างกับเราที่ได้ขัดเกลาแล้ว แม้จะยังโลภ แต่ความโลภอันนั้นก็ไม่ขรุขระน่าเกลียด เราโลภอยากรวย เราก็เลยสนใจแต่คนไข้ที่เป็นเศรษฐีฐานะดี ไม่ใส่ใจกับจรรยาบรรณ คนที่เอาแต่อารมณ์ก็เหมือนจอที่ถูกขยับห่างออกไป ๆ ๆ คนที่ไม่มีสติเหนี่ยวรั้งเลย ก็เหมือนจอกลางแปลง ตัวตนก็โต ขรุขระน่าเกลียด เมื่ออยากจะได้สิ่งใด จะไม่คิดว่าสิ่งนั้นเป็นของใคร หากหยิบฉวยได้ก็จะหยิบฉวยเอา ขโมยได้ก็จะขโมย เขาไม่ให้ก็ทุบตีแย่งเอาซึ่ง ๆ หน้า คนประเภทนี้ใคร ๆ ก็ทนไม่ได้ ก็รู้สึกว่าเป็นคนน่ารังเกียจ แต่แท้ที่จริงแล้ว ตราบเท่าที่รอยกิเลสอันใด เช่น รอยโลภะยังมีอยู่ในใจ เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าสิ่งที่มากระทบนั้น จะดึงจอให้อยู่ใกล้ชิดเครื่องฉาย หรือจะผลักออกไปไกลจนกระทั่งใจของเรากระฉอกความขรุขระน่าเกลียดน่าชังอย่างนั้นออกมา
เมื่อใดที่เราได้แลเห็นกิเลสตัวใดในใจของเรา แม้เพียงรอยเล็กนิดเดียว อย่านิ่งนอนใจ อย่านึกเปรียบเทียบว่า คนอื่นสิ่งอื่นแลวกว่าเรา ต้องให้เขาแก้ไขตัวของเขาเสียก่อน เราจึงจะแก้ตัวเรา
การที่เราต้องการไปวัด คือ การต้องการขัดเกลาแก้ไขตัวของเราเอง เพราะเห็นแล้วว่าใจอันนี้ยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ ยังไม่มีความสงบร่มเย็นพอเป็นที่พักพิงได้ เราจึงอยากแก้ไข อยากทำให้ใจของเราเต็มอิ่ม ผาสุกร่มเย็น เมื่อใดที่เห็นความไม่ดี ความบกพร่องในตน ให้รีบแก้ไขปรับปรุงเสีย อย่ามัวมองออกนอก คอยตำหนิผู้อื่น สิ่งอื่น เขายังพอใจกับตัวของเขา ถึงเราจะเห็นเขารุ่มร้อน ขาด ๆ เกิน ๆ แต่เขาคิดว่าเขาเป็นสุข เขายังหลับเพลินอยู่ด้วยความหลงผิดก็ปล่อยเขา ไม่ต้องไปคิดเกี่ยงงอน
การปฏิบัติธรรมที่ยังเปรียบเทียบตัวเรากับผู้อื่น โดยคิดว่าผู้นั้น สิ่งนั้น เลวกว่าเรา เสมอกับเรา หรือดีกว่าเรา เป็นการปฏิบัติที่ไม่ทำให้เราสงบ เบาบางจากกิเลส เพราะมี ตัวเรา เป็นแกนอยู่ในความรู้ทุก ๆ อย่าง แกนนี้จะคอยจัดอันดับเรากับสิ่งที่มาเกี่ยวข้องตลอดเวลา เป็นภาวนาสะสมกิเลส ยิ่งภาวนาก็ยิ่งหนัก ยิ่งใหญ่คับจักรวาล ยิ่งอยากอวด อยากประกาศให้โลกรู้ถึงความวิเศษของตน แทนที่จะยิ่งปฏิบัติยิ่งเบา ยิ่งรู้ ละ และปล่อยวาง หรือเมื่อใดมีความคิดว่า เลวแค่นี้ยังไม่เป็นไร ช่างมันเถอะ เราจะไม่มีวันถึงวัดในใจได้เลย เพราะการปฏิบัตินั้นมีอัตตาเป็นที่ตั้ง เป็นสรณะ จิตที่เป็นป่าดงดิบของเรายังพอใจว่า แม้จะเลว แต่ความเลวนั้นก็ยังเป็นของน่ารักน่าเอ็นดู ความคิดเช่นนั้นเป็น อวิชชา
ถ้าจะตัดตรงไปให้ถึงวัด เมื่อเห็นอะไรยังไม่ดี ยังทำให้ผู้อื่น สิ่งอื่น เดือดร้อน ระคายทั้งใจเขาและใจเรา ให้รีบแก้ไขเสีย หากไม่มีกำลังพอจะแก้ไขก็ให้รู้ในใจว่า ยังมีข้อบกพร่องนี้อยู่ แล้วพยายามฝึกใจหมีสมาธิมากขึ้น ถ้าเปรียบใจเป็นมีดดาบ มีดดาบที่คมอย่างเดียว คือมีแต่ปัญญา แต่ไร้ น้ำหนัก คือ สมาธิ ความแน่วนิ่งของใจ เมื่อใช้ตัดอะไร มันกระทบสิ่งนั้นจริง แต่น้ำหนักที่จะย้ำคมลงไปตัดให้สิ่งนั้นขาดมีไม่พอ พอเรายกมีดดาบขึ้น สิ่งที่ลู่ไปตามแรงกระทบก็ลับเป็นปกติ ไม่ขาดจากกัน ฉันใด ใจที่มีปัญญา เฉลียวฉลาด รู้เท่าทันกิเลส แต่ไม่มีความแน่วนิ่งเพียงพอ ก็ไม่สามารถตัดหรือขุกรากถอนโคน กิเลสออกไปได้ หรือมีแต่สมาธิ ก็เหมือนมีดที่หนัก แต่ทื่อ เหวี่ยงลงไป มันกระแทกสิ่งนั้นจริง แต่คมไม่มีจะตัดให้ขาดได้ เช่น เรามีความคับข้องใจเพื่อนร่วมงาน พยายามหาเหตุผลมาสอนใจให้ชอบเขา ให้มองเขาในแง่ดีก็ไม่สำเร็จ สิ่งที่พอช่วยได้ คือ กำหนดใจให้เป็นสมาธิ ไม่ไปใส่ใจกับกิริยาวาจาของเขา ความคับข้องใจก็คลายไป แต่พอมีเรื่องอื่นมากระทบใจ จนสมาธิหลุดออกไป ความคับข้องหงุดหงิดใส่เขาก็จู่โจมผสมโรงเข้ามาอีก เหมือนเราเอาหินทับหญ้าไว้ เรานึกว่าหญ้าคงตายหมดแล้ว แต่พอขยับหินออก หญ้าก็ชูต้นชูใบขึ้นดังเดิม พอได้แดดได้น้ำค้างก็เขียวขจีแตกหน่อแตกใบงอกงาม แพร่กระจายใหม่อีก ดังนั้น สมาธิหรือปัญญาเต่เพียงอย่างใดอย่างเดียวไม่สามารถพาเราให้ไปถึงที่ที่ปรารถนาได้ ต้องช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน คือต้องเป็นมีดดาบทีทั้งคมและทั้งหนัก จึงจะช่วยให้เราสามารถขุดตัดกิเลสออกไปจากใจได้สำเร็จ
หรือจะเปรียบความนิ่งของจิตเหมือนสารส้มก็พอได้ สมาธิเป็นเหมือนสารส้ม ใจที่ระส่ำระสาย รุ่มร้อน ไม่มีความสงบนั้น เหมือนน้ำที่ขุ่น จะเอาปัญญาคือตะแกรงอะไร ๆ ไปช้อน หรือผ้าไปกรอง ความขุ่นก็ลอดรูตะแกรงหรือผ้ากรองไปกับน้ำด้วย ทำให้เราไม่สามรถช้อนตะกอนออกได้ แต่ถ้าเราเอาสารส้มไปแกว่ง แล้วรอให้ตะกอนค่อย ๆ รวมตังเป็นก้อนใหญ่จึงกรองสำเร็จ
ใจขณะที่ระส่ำระสาย รุ่มร้อนนั้น คือแตกแยกหักล้างกันเอง ทำให้ขาดความแน่วแน่ เดี๋ยวจะเอาอย่างนั้น เดี๋ยวจะเอาอย่างนี้ รักพี่เสียดายน้อง ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไปไม่ได้ ยิ่งคิดยิ่งรุ่มร้อน วกวน ระส่ำระสายยิ่งขึ้น เหมือนเราไม่สบาย ปวดหัว ปวดครั่นทั่วตัว จับไข้ สะบัดร้อนสะบัดหนาว จะกินยาก็ไม่แน่ใจว่าเป็นหวัดหรือเป็นอะไรกันแน่ พยายามคิด ก็ยิ่งว้าวุ่นหนักขึ้น แต่ถ้าสงบใจให้หยุดคิดเสีย ความระส่ำระสายจะค่อยลดลง ใจที่หักล้างกันเองก็ค่อย ๆ แน่วนิ่งเข้า ก็เริ่มเห็นอาการชัดขึ้นว่า ที่ปวดหัวนั้น จริง ๆ แล้วมันร้าวมาแต่เขี้ยวข้างซ้าย แก้มก็เริ่มอักเสบตามไปด้วย พอปัญญารู้ชัดอย่างนี้ ใจก็มีกำลังเกิดความเชื่อมั่นว่า อาการทุกอย่างนั้นเพราะรากฟันอักเสบ เราก็เอายามารักษาได้ถูก
ใจที่อาศัยแต่สมาธิอย่างเดียว เสี่ยงต่ออันตราย เหมือนมีระเบิดเวลาที่ถอดสลักแล้วผูกติดอยู่ คนบางคนชำนาญในการเข้าสมาธิ พออะไรมากระทบ จะเกิดความไม่พอใจ ก็กำหนดจิตให้นิ่งลงรวมสงบไปได้ แต่วิธีนี้เป็นการสะสมกิเลส เป็นการภาวนาสะสมกิเลส เหมือนน้ำที่พอขุ่นขึ้นมาทีหนึ่งก็เอาสารส้มแกว่ง ตะกอนก็รวมตัว ตกลงไปที่ก้นภาชนะ น้ำข้างบนใสจริง แต่ตะกอนเหล่านั้นหาได้สูญหายไปไม่ เมื่อไรก็ตามที่มีเหตุการณ์มากระทบอีก ตะกอนที่นอนก้นอยู่ ก็จะปั่นป่วนขึ้นมาใหม่ ทำให้เรารู้สึกถึงความหงุดหงิดคับข้องเก่า ๆ ขึ้นมาอีกทุกครั้ง ๆ ๆ ไป
ใจของมนุษย์นี้แปลกอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าต้องทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเกิดความเบื่อหน่าย เกิดความท้อถอย เกิดความสงสัยว่า เราปฏิบัติธรรมมาจนขั้นนี้แล้ว ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นเลย จะปฏิบัติต่อไปอีกทำไม เราคงบุญน้อย วาสนาน้อย เลิกปฏิบัติเสียดีกว่า
มันก็พาให้เราหลงทางไปเสีย
สมมติเรามีเด็กอยู่คนหนึ่ง เราบอกให้ไปช่วยปิดประตูให้ เด็กก็ยิ้มรับคำเป็นอันดี แต่กลับเดินไปเปิดหน้าต่าง เราหงุดหงิด แต่ก็บอกตัวเองว่า ไปโกรธเขาก็ไม่ช่วยให้ประตูปิดเข้ามาได้ รักษาใจของเราไว้ดีกว่า ใจที่หงุดหงิดก็ค่อยสงบเป็นปกติ วันรุ่งขึ้น เราก็บอกให้เด็กช่วยเอาหนังสือไปวางบนโต๊ะ ปรากฏเด็กกลับเอาไปทิ้งตะกร้าขยะ เราก็อาจใช้สติเบรกความโกรธ ความหงุดหงิด และกำหนดใจให้สงบได้ทุกครั้ง ๆ จนสักวันหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดซ้ำซาก ซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่นนี้ สะสมจนถึงจุดระเบิด สมาธิที่เคยอาศัยเป็นหลุมหลบภัยไม่ยอมเป็นให้ เพราะความโกรธที่ถูกแรงสมาธิทับไว้นั้น ไม่ได้สูญหายไปข้างไหน คงอัดสะสมอยู่ในจิตใต้สำนึก และจดบัญชีเอาไว้...ไอ้บ้านี้ มันชักจะมากไปแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ห้าร้อยแล้วนะ ความอดทนก็ขาดผึง โทสะที่ถูกอัดสะสมไว้ รวมพลังระเบิดเปรี้ยงขึ้นมา ตรงข้าม ถ้าเราใช้ปัญญาช่วยด้วย เมื่อใจสงบเป็นสมาธิแล้วคอยสังเกต คิดค้นหาเหตุผลว่า ทำไมผลจึงออกมาอย่างนี้ เพราะเราพูดไม่ชัด เด็กฟังไม่เข้าใจ เด็กไม่ได้ยิน... ฯลฯ ...ค่อยสังเกตไป จนวันหนึ่งพบว่า อ๋อ....เจ้านี่หูหนวก พอรู้ชัดอย่างนี้ ความหงุดหงิดที่สะสมตั้งแต่ครั้งที่หนึ่ง จนถึงครั้งที่ห้าร้อย หมดความหมายไปทันที เพราะทุกคนย่อมเข้าใจ ลงใจว่า การที่จะให้คนหูหนวกเข้าใจคำพูดของเรานั้น ไม่มีทางเป็นไปได้
ปัญญาที่ไปขุดรากถอนโคนกิเลสให้หมดสิ้นไปเป็นทำนองนี้ เมื่อรู้เห็นแจ่มชัดขึ้นในใจแล้วก็ไม่เหลืออะไรค้างคาเป็นตะกอน ไม่ว่านายคนนี้จะทำอะไรผิดขึ้นมาอีก เราจะไม่ถือสาไม่หงุดหงิด เพราะทุกอย่างสมเหตุสมผลทั้งนั้น และถ้าเรามีสิทธิที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้ได้ เราก็จัดการให้เขาได้ไปรับการตรวจรักษาหูจนเป็นปกติ หรือหาเด็กใหม่มาแทน การภาวนาที่ถูกวิธีคืออย่างนี้
เมื่อฝึกสมาธิให้กำกับใจอยู่อย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ แล้ว เราจะละเอียดรอบคอบขึ้นโดยลำดับ ถึงปัญญาไม่พอจะแก้ปัญหาให้ตกไปในทันที ก็ช่วยเลี้ยงใจให้สงบระงับอยู่กับใจของตัวเอง อยู่กับปัจจุบันเฉพาะหน้า ไม่ปรุงคิดระส่ำระสาย แล้วเมื่อไรทีมีเวลามากพอที่จะยกเรื่องนั้นกลับมาย้อนคิดพิจารณาไตร่ตรองได้ ก็น้อมมาไตร่ตรอง คิดค้นหาเหตุผล ครั้งแรกอาจต้องอาศัยสัญญา อาศัยตำรับตำราครูบาอาจารย์ หรือเพื่อนผู้รู้ที่มีแยบคายอุบายสามารถช่วยได้เป็นแนวทางก่อน เรียกว่า อาศัยสัญญาเป็นมรรค เมื่อฝึกฝนต่อ ๆ ไป ก็สามารถอาศัยปัญญาของตนเอง เหมือนเมื่อเริ่มเรียนเลข ยังไม่สามารถทำโจทย์ได้เอง ต้องให้ครูช่วยคิดหรือตรวจแนะให้ เมื่อทำโจทย์บ่อย เข้า ๆ ๆ ก็เกิดความชำนาญในโจทย์ชนิดนั้น ไม่ว่าโจทย์จะพลิกแพลงมาในรูปใด พอเห็น เราก็สามารถทำได้ด้วยความแน่ใจ มั่นใจ และทำสำเร็จลุล่วงไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นในใจก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางโลก ปัญหาทางธรรม จะเกี่ยวกับเรื่องการงาน เรื่องส่วนตัว หรือเรื่องอะไรก็ตาม มันก็เป็นหินลับสติปัญญาเราทั้งนั้น ให้ตั้งอกตั้งใจอย่าไปคิดว่า อันนี้เรื่องเล็ก อันนั้นไม่น่าในใจ
ถ้าเราตั้งใจปฏิบัติธรรมจริงจัง อย่าคิดแยกว่า นี่เป็นเรื่องทางโลก นี่เป็นเรื่องทางธรรม ทุกอย่างเป็นธรรมะทั้งนั้น เพราะร่างกายอันนี้เกิดมาจากเศษของกรรม เรื่องต่าง ๆ ที่เราต้องเจอะต้องเจอก็คือดอกผลของกรรมเก่าที่เราต้องชำระสะสางบัญชีให้หมดไป เราจึงเป็นอิสระได้ เราจึงสามารถจะไปทำอย่างอื่นที่เราต้องการได้ เมื่อเราจะหงุดหงิด จะคับข้องว่า ทำไมจึงต้องเป็นเรา ? ทำไมคนอื่นอยู่เวรไม่เห็นต้องเจอคนไข้หนักอย่างเรา ทำไมเขาไม่มีคนไข้มาก... ฯลฯ ... อย่าไป “ทำไม” อย่างนั้น ให้นึกว่า เมื่อเจ้าหนี้มาทวง เราพอมีใช้เขาเท่าไรก็รีบใช้เสีย ถ้ายังใช้ไม่ได้ ก็พูดจาสุภาพอ่อนหวาน ประนีประนอมกันก่อน พอให้หายใจคล่อง แล้วค่อยผ่อนใช้ นี้เป็นการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลและสติปัญญา แต่ถ้ามัวคิดว่า ทำไมต้องเป็นเราที่ซวยอย่างนี้ พอจะพูดกับเขาดี ๆ ใจที่หงุดหงิดคับข้องก็ทำสีหน้าของเราไม่ดี เสียงที่ออกมาก็กระแทกกระทั้น เขาก็เลยมีปฏิกิริยาตอบสนอง เราก็ยิ่งหงุดหงิด เกิดเป็นวงจรกระทบสันดอนกลับไปกลับมา ทำให้จิตใจของทั้งสองฝ่ายเหมือนถ่านที่ถูกลมกระพือเอาลูกไฟกระเด็นโป้งป้าง ๆ ใส่กัน เรื่องที่ไม่เป็นเรื่องก็กลายเป็นเรื่องขึ้นมา
ถ้าเรายึดหลักไว้ว่า เหตุการณ์จริง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่ตัวทุกข์หรือตัวสุข แต่ใจที่ไปแปลความหมายต่างหาก เป็นตัวทำให้เราเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข เพราะถ้าเราคิดว่า ทำไมถึงซวยอย่างนี้ อะไรหยดลงมานิดหนึ่ง เราก็คับข้องในใจ แต่ถ้าเราคิดเสียว่า เออ ดีเหมือนกัน เพราะมีอันนี้เกิดขึ้น เราจึงได้ทำแบบฝึกหัดเพื่อตรวจสอบว่า ที่เราคิดว่ามีสติ มีสมาธิอยู่กับใจนั้น เรามีจริง ๆ แค่ไหน ถ้ามองว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นหินลับสติปัญญาทั้งนั้น เราจะเกิดความสนุก เมื่อเกิดความสนุกแล้ว ถึงจะเป็นหน้าที่ ก็รู้สึกว่า ไม่ใช่เป็นข้อบังคับ ไม่ใช่เป็นของที่เราคอยดูว่า นี่เที่ยงแล้วหรือยัง จะได้ไปกินข้าว นี่สี่โมงครึ่งหรือยัง จะได้กลับบ้าน เราจะไม่ไปคอยกำหนดกับเวลาอย่างนั้น แต่จะเอาใจทั้งใจไปทำด้วยความสนุก ด้วยความเต็มใจ เมื่อสนุกแล้ว จะมีฉันทะ และมีวิริยะ มีจิตตะ มีวิมังสา เป็นอิทธิบาทสี่ ทำให้งานการทุกอย่างลุล่วงไปอย่างดีที่สุด ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยและนอกจากผลจะเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว ใจก็ไม่เหนื่อย ใจก็ไม่แห้งแล้ง ไม่รู้สึกว่า ต้อกัดฟันทน หรือมีความรู้สึกเหมือนต้องเข็นครกขึ้นภูเขา เพราะอะไรก็ตามที่ไม่เต็มใจ ไม่พอใจจะทำ แม้นิดหนึ่งก็รู้สึกว่าหนักเหลือเกิน แต่ถ้าเต็มใจแล้ว ถึงจะหนักก็ยินดีทำ และคิดหาวิธีว่า เออ มันหนักนัก เราเอาคานดีดขึ้นไป หรือไปหาเพื่อนฝูงมาช่วยหอบหิ้วขึ้นไปดีกว่า
ใจของคนเรานี้เป็นของแปลก คือสามารถที่จะหมุนของสิ่งเดียวนั้น ให้เป็นของดีก็ได้ ไม้เป็นของไม่ดีก็ ให้เป็นของร้อนก็ได้ ให้เป็นของเย็นก็ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงตรัสไว้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจทั้งนั้น
การที่เราแสวงหาวัดนั้น ก็ไม่ใช่อะไรอื่นเลย แท้ที่จริงก็คือการแสวงหาที่อยู่ ที่อาศัยให้ใจของตน ให้เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ แทนที่จะเป็นสิ่งซึ่งพลิกคว่ำพลิกหงายไปตามอารมณ์ พยายามทำให้เป็นใจที่มีคุณภาพทั้งกับตัวของเราเอง และทั้งกับผู้ที่มาเกี่ยวข้องกับตัวเรา เพราะถ้าใจอันนี้ร่มเย็นแล้ว มันก็เป็นพลังดีที่แผ่กระจายเมตตาธรรมออกไป ใครเข้าใกล้ก็รู้สึกร่มเย็น เหมือนเราเดินฝ่าแดดมา พอเข้าไปในห้องแอร์จะรู้สึกชื่นใจ เมื่อเราเข้าใกล้คนที่มีเมตตาธรรมในใจ ใจที่กำลังเหนื่อย กำลังร้อน กำลังโหย ก็จะมีกำลังขึ้นมา จะรู้สึกเย็นชุ่มชื่นขึ้นมา เหมือนเข้าห้องแอร์ฉันนั้น ใครที่เคยไปวัดคงเข้าใจความรู้สึกดังกล่าวนี้
เวลาไปกราบครูบาอาจารย์ ทั้ง ๆ ก่อนไปเรากำลังทุกข์และคิดว่าไปถึงท่านแล้วจะเล่า ๆ ๆ ความทุกข์เหล่านั้น แต่ครั้นไปถึงท่านเข้าจริง ๆ แล้ว ใจที่ทุกข์กลับเงียบ กลับสงบ เกิดความไม่อยากพูด และรู้สึกเหมือนความทุกข์ทั้งหลายได้ละลายไปหมด อันนั้นล่ะ คือไอเย็นของเมตตาธรรมที่ท่านแผ่มาถึงเรา และทำให้ใจที่กำลังเหมือนดินแห้งผาก เกิดมีน้ำฝนตกลงมา จนดินนั้นชุ่มฉ่ำ
ในโลกอันนี้ที่เราว่ามันร้อน บุคคลแห้งแล้งน้ำใจต่อกัน คนทุกคนร้ายกาจต่อกันนั้น ถ้าเราแต่ละคน ๆ ๆ เริ่มต้นสร้างวัดขึ้นในใจของตน และทำนุบำรุงหล่อเลี้ยงให้วัดนี้สว่างไสวด้วยสติ ด้วยปัญญา เช่นวัดที่ตามประทีปโคมไฟให้ส่องสว่างอยู่ตลอดเวลา มันก็จะเกิดความสว่าง ความร่มเย็น ทั้งด้วยปัญญาและด้วยเมตตา เป็นที่พักพิงของคนอื่น สัตว์อื่น ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้ากัน แล้วอะไร ๆ ที่เป็นปัญหาแก้ยาก แก้ไม่ได้ เป็นสิ่งที่เลว ที่ไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไรนั้น ก็อาจมีทางออกขึ้นมา
ท่านอาจารย์ท่านพูดอยู่เสมอว่า เราไม่ต้องวิ่งไปหาพระอรหันต์ที่ไหนดอก เพราะเราต่างมีพระอรหันต์อยู่ในบ้านแล้วทุกคน ท่านบอกว่า พ่อแม่คือพระอรหันต์องค์แรกของลูก ถ้าใครไม่เคารพ ไม่กตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่แล้ว ไม่ทางจะถึงวัด ไม่มีทางที่คนนั้นจะปฏิบัติธรรม ได้ธรรม เป็นธรรม เพราะหากไม่มีพ่อแม่ เราก็จะไม่มีร่างกายอันนี้ที่เป็นมนุษย์ขึ้นมา ซึ่งร่างกายที่เป็นมนุษย์นี้ เป็นสมบัติล้ำค่า พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ อาจผ่านภพชาติที่เป็นอะไร ๆ ก็ได้ ระหว่างที่ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ สะสมบำเพ็ญบารมี แต่ในชาติสุดท้ายที่จะบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านต้องเสวยชาติที่เป็นมนุษย์ เพราะ ภพภูมิของมนุษย์เป็นชุมทางให้เราได้พบทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ถ้ามีภพภูมิที่สูงกว่ามนุษย์ขึ้นไป เราอาจติดสุขจนลืมพากเพียรปฏิบัติธรรม หรือถ้าอยู่ในภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ ความทุกข์ยากในการดำรงชีวิตบีบคั้น และเอาเวลาของเราไปจนไม่เหลืออะไรสำหรับการฝึกอบรมจิตใจ ท่านจึงถือกันว่า ภพภูมิของมนุษย์นั้น เป็นภพภูมิที่ประเสริฐที่สุด เป็นภพภูมิที่เป็นภาชนะสำหรับธรรม
สมัยพุทธกาล มีหญิงงามเมืองคนหนึ่ง มีความงดงามเลื่องลือมาก บังเอิญหญิงนี้ตั้งท้องและคลอดลูกออกมาเป็นชาย สมัยนั้นมีธรรมเนียมว่า ถ้าหญิงงามเมืองใดมีลูกเป็นหญิง เจ้าสำนักจะอนุญาตให้เลี้ยงไว้ได้ แล้วฝึกอบรมให้เป็นหญิงงามเมืองเมื่อถึงวัยสมควร แต่ถ้าเป็นชายต้องเอาไปทิ้งสีย เด็กชายนี้จึงถูกนำไปทิ้งกองขยะ พระเถระองค์หนึ่งออกบิณฑบาต ได้ยินเสียงเด็กร้องจากกองขยะข้างทางจึงเข้าไปดู ก็พบเด็กถูกทิ้งอยู่ ท่านจึงนำมาเลี้ยง แม้เด็กนี้จะเติบโตอยู่ในวัด แต่คนทั่วไปก็ทราบกำเนิดของเด็กว่าเป็นมาอย่างไร พอเด็กรู้ความ คนก็เริ่มล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ เป็นลูกหญิงงามเมือง เด็กจึงเติบโตมาด้วยความขมขื่น และเกลียดแม่อย่างสุดหัวใจ วันหนึ่งพระเถระเห็นเด็กโตพอจะรู้เหตุรู้ผล จึงเรียกเด็กมาสนทนาด้วย โดยถามว่า ถ้ามีใครเอาเงินกหาปนะหนึ่งมาให้ เจ้าจะรู้สึกอย่างไรบ้าง กหาปณะหนึ่งเทียบประมาณหนึ่งตำลึง หรือสี่บาทของเรา เด็กก็ตอบว่าดีใจ และขอบคุณเขาเป็นอย่างยิ่ง ท่านถามว่าทำไมจึงขอบคุณ เด็กตอบว่า ตามปกติ เขาไม่คิดว่าใครจะต้องเอาเงินมาให้ตน เมื่ออยู่ดี ๆ เกิดได้ลาภเช่นนั้นก็ย่อมซึ้งในบุญคุณ ท่านก็ถามว่า ถ้าคนนั้นให้เงินหนึ่งกหาปณะแต่ขอแลกด้วยชีวิตของเด็กล่ะจะเอาไหม เด็กก็ไม่ยอม ท่านเพิ่มเงินขึ้นไป เด็กก็ยืนกรานไม่ยอม ไม่ว่าจะเพิ่มเงินขึ้นไปท่วมท้นล้นฟ้าแค่ไหน ก็ไม่ยอมแลกกับชีวิต เพราะบอกว่าชีวิตของตนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถตีเป็นมูลค่าราคาใด ๆ ได้ ท่านก็ต่อรองว่า ถ้างั้นไม่เอาถึงชีวิตดอก แต่ขอเพียงแขนสักข้าง เด็กก็ไม่ยอม แม้จนปลายนิ้วนิดเดียว หรือชิ้นส่วนใด ๆ ของร่างกาย แม้เพียงน้อยนิดแค่ไหน ก็ไม่ยอแลกกับเงิน ไม่ว่าจะมากมายมหาศาลเพียงใดก็ตาม ท่านจึงสอนว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าไม่คิดบ้างหรือว่า ร่างกายอันนี้ ที่เจ้าไม่ยอมขายให้ใคร ๆ ทั้งสิ้น ไม่ยอมแลกเปลี่ยน ไม่ว่าด้วยมูลค่าเท่าใด ๆ นั้น เจ้าได้มาแต่ผู้ใด ไม่ใช่เพราะแม่ดอกหรือที่ให้เจ้ามา เพราะถ้าแม่ไม่ทนทุกข์ยากอุ้มท้องมา หรือตอนที่คลอดนั้น แม่เกิดบีบจมูกทำให้เจ้าหายใจไม่ได้ เจ้าก็จะไม่ได้ร่างกายอันนี้รอดเติบใหญ่มาได้ เจ้าก็จะไม่มีโอกาสได้สิ่งที่มีค่าหาศาลนี้มาเป็นของเจ้ามิใช่หรือ
เด็กฟังแล้วได้คิด จิตที่หนักไปด้วยความเกลียด ความขมขื่นก็อ่อนโยน ปิติ ซาบซึ้งในบุญคุณของแม่
ท่านจึงสอนต่อไปว่า เพียงแค่แม่ได้ให้ลมหายใจแก่เจ้า ได้ให้อัตภาพร่างกายที่เป็นมนุษย์ซึ่งเป็นภาชนะรองรับธรรมอันนี้แก่เจ้า บุญคุณนี้ย่อมท่วมท้นล้นฟ้า ไม่มีสิ่งใดจะทดแทนให้หมดสิ้นได้ ยิ่งแม่ฟูมฟักเลี้ยงดูให้การศึกษา ให้ปัจจัยใช้สอย ให้ทุกอย่างอีกด้วยแล้ว บุญคุณอันนั้นยิ่งท่วมท้นทวีคูณขึ้นไปตนหาค่าประมาณมิได้
ถ้าใครบังเอิญมีความคิดว่า ไม่จำเป็นต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ เพราะเขาไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากความปรารถนา หรือความรักใคร่พอใจ หากเป็นเพียงผลพลอยได้จากความสนุกของพ่อแม่ก็ได้ โปรดนำเรื่องนี้ไปพิจารณาดูแล้วคงสามารถน้อมใจให้เชื่อ ให้เห็นในบุญคุณของพ่อแม่ได้อย่างนั้นจริง ๆ
เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว เราจะได้รู้ว่า โอกาสที่จะได้ทำบุญกับพระอรหันต์นั้น มีอยู่ทุกขณะจิต ที่ในบ้านของเรานี้เอง ดังนั้นเราก็จะถึงวัดในใจ และวัดในบ้านของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเมื่อมีจุดตั้งต้นออย่างนี้แล้ว ก็คงไม่เป็นการยากที่จะประคับประคองและทำนุบำรุงวัดอันนี้ให้เจริญงอกงามสว่างไสวด้วยสติปัญญาและเมตตาต่อไป

คำถาม สมาธิเหมือนสารส้ม หรือมีดนั้น หมายถึง สมาธิระดับไหน
ตอบ ระดับไหน ๆ ก็เป็นได้ทั้งนั้น จิตที่เริ่มมีความสงบก็เริ่มเป็นสารส้ม เป็นน้ำหนักของมีดได้แล้ว แต่กำลังจะมากจะน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับปัญหาที่กำลังแยงอยู่ในหัวใจของเราขณะนั้น ๆ ว่าจะมากเกินกำลังของสมาธิน้อย ๆ อันนี้หรือเปล่า ถ้าปัญหาไม่เหลือบ่ากว่าแรง แม้จะเป็นสมาธิชั่วขณะที่ยังไม่สามารถประคองให้ต่อเนื่องกันได้ ก็มีประโยชน์ ก็เป็นน้ำหนักได้แล้ว แต่อาจยังไม่เกิดผลเด็ดขาด ตอนที่เราจดจ่อให้ใจสงบได้ ก็รู้สึกคล้าย ๆ ว่า ที่เราจะทนไม่ได้ ๆ นั้นมันคลายความรุนแรงไปเป็นของที่พอสู้กันได้ แต่พอเผลอ สมาธิหลุดออกไป ความรู้สึกในใจก็เต้นขึ้นมาใหม่ คล้าย ๆ ไฟ ที่ทำท่าจะมอดแล้ว เกิดมีลมพัดมาวูบ ทำให้มันลุกโพลงขึ้นมาใหม่ เราก็กำหนดสมาธิใหม่ เอาสติจ่อเข้าไป มันก็ชักคะเย่อคุมเชิงกันอยู่อย่างนี้ หมั่นฝึกไป ทำไป แล้วอีกหน่อยกำลังจะมีมากขึ้น จนสามารถหยุดมันได้ เหมือนหินที่ทับหญ้าลงไป ถึงหญ้าข้างใต้จะยังไม่ตายทันที แต่อย่างน้อย หญ้าก็ดันหินให้เขยื้อนไม่ได้

คำถาม กรุณาเล่าประสบการณ์ในวัด เผื่อจะมีประโยชน์กับพวกเราบ้าง
ตอบ คืออาจารย์ปริยาสงสัยว่า ที่วัดนั้นสงบวิเวก หรือเป็นอย่างไร พอจะเปรียบเทียบกับชีวิตอย่างเรา ๆ ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ได้หรือไม่ ในวัดก็ประกอบไปด้วยคนมาหน้าหลายตา เช่นเดียวกับที่เราพบเห็นทั่ว ๆ ไป อย่างในโรงพยาบาลนี้ เราไปคิดเอาเองว่า ถ้ายังอยู่ทางโลก ก็จะต้องเจอะเจอแต่สิ่งที่ขรุขระ ไม่ได้ดังใจ เพราะคนรอบข้างเรากิเลสหนา ปัญญาหยาบ ส่วนที่วัดคงมีแต่คนดี คนสิ้นกิเลส ทุกอย่างคงราบเรียบเหมือนอยู่บนสวรรค์
ท่านอาจารย์สิงห์ทองท่านเคยสอนว่า อะไรในชีวิตคนเราก็พอจะเปรียบได้กับการกินถั่วของเก่านี่แหละ ท่านเล่าว่า มีตายาย สองคนผัวเมีย ยายต้มถั่วเลี้ยงตาทุกวัน ๆ จนตาเอียนถั่วต้มเต็มทน วันหนึ่งตาก็ปฏิวัติยาย โดยบอกว่า วันนี้ไม่กินข้าวที่บ้าน จะไปกินข้าวในเมือง ว่าแล้วตาก็แต่งตัวออกจากบ้านไปในเมือง เลือกได้ร้านอาหารร้านหนึ่ง ก็เข้าไป ตาอ่านหนังสือไม่ออก แต่ก็เต๊ะท่าวางภูมิ พอบ๋อยเอาเมนูมาให้ ก็เอามาดูอย่างตั้งอกตั้งใจ แล้วก็จิ้มสั่งไปที่รายการอันหนึ่ง ปรากฏพอบ๋อยเอาของมาให้ ก็เป็นถั่วต้ม ตาแค้นใจพูดไม่ออก แต่ก็รักษาหน้าของตน ก้มหน้าก้มตากินถั่วต้มไปโดยไม่ปริปาก แต่ก็สังเกตไปตามโต๊ะข้างเคียง พอดีเห็นเด็กโต๊ะติดกัน กำลังกินอะไรด้วยท่าทางเอร็ดอร่อยเหลือเกิน แทนที่จะเรียกบ๋อยมาถามว่าอาหารจานนั้นชื่อว่าอะไร ตาก็ทำอมภูมิ พอดีเด็กคนนั้นกระดิกนิ้วเรียกบ๋อย แล้วสั่งให้เอาของเก่าอีกจาน ตาเข้าใจว่าอาหารจานนั้นชื่อของเก่า ตาก็ยิ้มในใจแล้วเรียกบ๋อยมาสั่งอย่างภาคภูมิว่า บ๋อย เอาของเก่าจานหนึ่ง ตกลงบ๋อยก็ยกถั่วต้มมาให้ตาอีกถ้วย
ท่านอาจารย์ท่านก็สำทับดิฉันว่า เราก็เหมือนกันนั่นแหละ มันก็เจอแต่ ถั่วของเก่า.....ถั่วของเก่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ครั้งแรกดิฉันก็คิด ท่านอาจารย์เอาอะไรมาล้อ ไม่มีทางหรอก ในวัดจะมีของเก่เหมือนที่เราเต็มกลืนมาจากในโลกอันวุ่นวายนี้ได้อย่างไร แต่เชื่อไหมคะ อะไรก็ตาม ที่สร้างความคันให้แก่ใจของดิฉัน สามารถเรียงแถวเข้ามาสร้างความรู้สึกเก่า ๆ ให้ถึงในวัดได้ครบครันทุกอย่าง ครั้งแรกนั้น ดิฉันตกม้าตายสนิทยิ่งกว่าก่อนเข้าวัด เพราะหลงไปคิดว่า วัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีคนชั่วคนเลวจะเยียบย่างเข้าไปได้ คิดว่าประตูวัดนั้นมีคาถาวิเศษ ความชั่วทั้งหลายต้องกองอยู่นอกประตูวัด เพราะฉะนั้น พอโดนเข้าหมัดแรก ก็ตกม้าตายไม่เป็นท่าตั้งแต่ยังไม่ขึ้นเพลงทวน ท่านอาจารย์ก็ขบขันว่า ก็บอกแล้วอย่างไรเล่าว่า ถั่วของเก่านั่นแหละ
ท่านก็สอนต่อไปว่า อย่านึกนะว่า กิเลสจะเคารพสถานที่นั้น สถานที่นี้ หรือเคารพเพศว่าเป็นพระ เป็นนักบวช ไม่ใช่ว่าพออาผ้าเหลือคลุมกาย กิเลสจะถอนไปจากจิต ทำให้จิตนั้นบริสุทธิ์หมดจด เป็นพระอรหันต์ ท่านบอก หากเป็นอย่างนั้นจริง ชาวบ้านแถวเสาชิงช้าคงเป็นพระอรหันต์หมดแล้ว เพราะบริเวณนั้นมีไตรจีวรหนาแน่นเต็มไปหมดทุก ๆ ร้าน ท่านว่าจะเป็นพระหรือ อุบาสก อุบาสิกา ที่มาถึงวัดนั้นก็เป็นคนด้วยกันทุกคน ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทำการชำระซักฟอกใจ ใจดวงนั้นก็จะเป็นพุทธะ และกิเลสคลุกเคล้าคละกัน เดี๋ยวก็เป็นผีดี เดี๋ยวก็เป็นผีบ้า เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ เหมือนกับโลกนี้ ไม่ได้มีคนจีน คนไทย คนฝรั่ง คนแขกหรอก มันมีเพียงคนดีกับคนชั่ว คนที่มองเห็นว่าจิตที่ไม่ได้ฝึก เป็นจิตที่เป็นพิษเป็นภัยทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น ย่อมเกิดความกลัว ตั้งหน้าตั้งตาฝึกฝนขัดเกลาตัวของตัว ส่วนคนที่ยังหลับอยู่ในมิจฉาทิฐิ ก็เห็นไปว่า เรานี้สบายแล้ว ถึงจะไปเยียบหัวแม่เท้าใครก็ช่างมันเป็นไร เรามีสิทธิ์จะเหยียบได้
ทุกคนก็ทราบใช่ไหมว่า ทั้งถ่านและเพชรต่างก็เป็นอัญรูปของธาตุคาร์บอน แต่ทั้งที่ทราบคนเราก็ยังอยากได้เพชรมาเป็นสมบัติ แต่ไม่มีใครสนใจถ่าน ตุใจก็เหมือนกัน ถ้าฝึกฝนอบรมจนถึงที่สุดแล้วก็มีค่าดุจเพชร ส่วนใจที่ไม่ได้ฝึกก็เหมือนถ่าน

คำถาม ที่กลับมาอยู่กรุงเทพฯ นาน เพราะเจอหินลับมีดชนิดดีหนึ่ง ที่จะช่วยให้มีดคมขึ้นไปอีกหรืออย่างไรคะ
ตอบ มาถึงตอนนี้ ไม่ได้คิดแล้วว่า เราต้องไปอยู่ที่ไหน มาที่ไหน คิดแต่เพียงธาตุขันธ์อันนี้เป็นเศษของกรรม ถ้าเจ้าหนี้ของเราอยู่ตรงไหนหนาแน่น แรงดูดจากเจ้าหนี้ก็ดึงจนเราต้องไปที่ตรงนั้นเอง เมื่อก่อนนี้ ได้มีโอกาสไปอยู่วัด ระหว่างอยู่คงได้ผ่อนหนี้ที่นั่นให้พอเบาบางลง เจ้าหน้าที่กรุงเทพฯ เลยชักจะหนาแน่นกว่า จึงดูดเอามาไว้อย่างนี้ เราก็เลยมาอยู่ใช้หนี้ที่กรุงเทพฯ กระมังคะ จะอยู่ที่ไหน ก็ดีเหมือนกันทั้งนั้น เพราะตอนท่านอาจารย์สิงห์ทอง ท่านเรือบินตก มรณภาพ ดิฉันได้ไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว และยังจำคำพูดของท่านมาเป็นกำลังใจให้กับตัวเอง ท่านบอกว่า นี่แหละ คือโอกาสทองของเรา ที่จะได้พิสูจน์กับใจว่า ธรรมะที่ครูบาอาจารย์เหนื่อยยาก สอนเรามาจนองค์ท่านได้กลายเป็นขี้ฝุ่นขี้ผงไปแล้วนั้น ได้แปรเป็นขี้ฝุ่นขี้ผงเหมือนองค์ท่าน หรือเรายังเก็บรักษาเอาไว้ในใจ แล้วค่อยนำมาขัดถูใจของเราให้เป็นธรรมะขึ้นมาอย่างท่าน
เมื่อใดที่กิเลสคอยกระซิบกระซาบว่า โอ๊ย....ไม่ไหวแล้ว คำพูดของท่านก็จะเตือนขึ้นมา ทำให้ฉุกคิด ละอายว่า นี่เรากำลังจะทำธรรมะของท่านอาจารย์ให้เป็นขี้ฝุ่นขี้ผง หรือจะเอามันมาขัดใจของเราให้ดีขึ้นกว่านี้สักนิดหนึ่งก็ยังดี ก็ได้อาศัยกำลังใจจากสิ่งนี้เป็นแรงใจ คอยฉุดลากตัวเองให้ปฏิบัติ ไม่ว่าจะอยู่ทีไหนก็ตาม ก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ ว่ามีดคมขึ้น หรือทื่อลงกันแน่

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ขาย Clinic บางนา


ขายคลินิคหมอปิโยรสที่บางนา
ม.ไพโรจน์ 2ห้องนอน.2ห้องน้ำ,1ห้องผ่าตัด,
ห้องพักฟื้น,ห้องเปลี่ยนชุด,ห้องทานอาหาร,
ห้องsupply,ห้องตรวจ2,ห้องเคาเตอร์,
ห้องรับแขก, air con. 6ตัว, ระบบน้ำ +ไฟฟ้า
ราคา3.5ล้านบาท ตั้งใจจะนำปัจจัยไปสร้างวัดครับ
สนใจติดต่อคุณหมอสพฤดี 081-875-5588