วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พิธี กฐิน

พิธีถวายกฐิน การทำพิธีถวายกฐินดังนี้
คำอาราธนาศีล ๕
(นำ)          มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  
ทุติยัมปิ     มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  
ตะติยัมปิ    มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ

พระภิกษุให้ศีล ๕
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ, (๓ ครั้ง)
    (ฆราวาสกล่าวตาม ๓ ครั้ง)
    ปาณาติปาตา         เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,  
    อะทินนาทานา        เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
    กาเมสุมิจฉาจารา    เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,    
    มุสาวาทา              เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ,        สีเลนะ สุคะติง ยันติ,
    สีเลนะ โภคะสัมปะทา,              สีเลนะ นิพพุติง ยันติ,   
    ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
ฆราวาสกล่าว  สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ  พร้อมกัน  และกล่าวว่า   นิพพานัง ปะระมัง สุขัง.
(กราบและกล่าว ๓ ครั้ง)

            จากนั้นผู้นำการถวาย กล่าวถึงมูลเหตุการทอดกฐินว่าบังเกิดมีขึ้นได้อย่างไร (ตามข้อมูลปฐมเหตุการทอดกฐิน)
            บัดนี้ท่านทั้งหลาย ได้มีโอกาสสร้างบุญมหากุศลไว้ในเขตบุญของพระพุทธศาสนา ในการทอดกฐิน อันมีอานิสงส์สำคัญยิ่ง การทอดกฐินเป็นการสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ให้ได้รับอานิสงส์อันยิ่ง ๕ ประการ (อานิสงส์ กฐิน ๕ ประการ) เราท่านทั้งหลายได้มาที่วัดที่พระภิกษุสงฆ์ จำพรรษาได้ถูกต้องตามพุทธวินัย ขอทุกท่านได้เกิดความปลื้มปิติอนุโมทนาว่า สิ่งที่ท่านได้กระทำมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศลมารบกวน ไม่ว่าจะเป็นกฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง  ที่จะทำให้กฐินเดาะ ไม่มีสุรายาเมา ไม่มีการฆ่าสัตว์ ไม่มีการดุด่าโกรธเคืองกัน กฐินของเราท่านทั้งหลาย ครบถ้วนบริบูรณ์ บริสุทธิ์ผุดผ่องสมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ขอทุกท่านได้สมาทานน้อมใจอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาตามที่ได้ตั้งใจมาแล้วที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาให้เป็นไป เพื่อมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
(ท่านผู้อัญเชิญผ้ากฐิน และผ้าจำนำพรรษาอาจยืนหรือนั่งก็ได้เพื่อกล่าวคำอธิษฐานธรรม)

คำกล่าวนอบน้อมพระพุทธเจ้า
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,     ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, 
                                     พระองค์นั้น,
อะระหะโต,                      ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ,            ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง,   
(กล่าว ๓ ครั้ง)

คำกล่าวอธิษฐานธรรม
(นำกล่าวและทุกท่านกล่าวตาม)
อัปมาโน พุทโธ     คุณของพระพุทธเจ้า        ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ
อุปมาโน ธัมโม      คุณของพระธรรมเจ้า        ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ
อุปมาโน สังโฆ      คุณของพระอริยสงฆเจ้า   ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ

ด้วยอานิสังสทาน ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญ ณ โอกาสบัดนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ จงถึง มัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
               สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
               นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ทุติยัมปิ    สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
               นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ตะติยัมปิ   สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
               นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ขอทุกท่าน ตั้งใจมั่นในการถวายกฐิน ถวายผ้าให้พระภิกษุสงฆ์ ได้ใช้เป็นไปตามพุทธานุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

               คำถวายผ้ากฐิน
    อิมัง ภันเต,  สะปะริวารัง,  กะฐินะจีวะระทุสสัง,  สังฆัสสะ, 
    โอโณชะยามะ,  สาธุ โน ภัณเต,  สังโฆ,  อิมัง สะปะริวารัง, 
    กะฐินะจีวะระทุสสัง,  ปะฏิคคัณหาตุ,  ปะฏิคคะเหตวา จะ, 
    อิมินา,  ทุสเสนะ,  กะฐินัง,  อัตถะระตุ,  อัมหากัง, 
    ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ,  สุขายะ,    
    นิพพานะ ปัจจะโย  โหตุ.

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์   ขอพระสงฆ์จงรับ  ซึ่งผ้ากฐินจีวร  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
ครั้นรับแล้ว  ขอพระสงฆ์จงกรานกฐิน  ด้วยผ้าผืนนี้   เพื่อประโยชน์  เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่งมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาลชาตินี้ เทอญ ฯ

คำถวายผ้าจำนำพรรษา
อิมานิ มะยัง ภันเต, วัสสาวาสิกะ จีวะรานิ, สะปะริวารานิ,
ภิกขุสังฆัสสะ, โอโนชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ,
อิมานิ วัสสาวาสิกะ จีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุ, อาทีนัญจะ, ญาติ มิตตานัญจะ, ราชานัญจะ, เปตานัญจะ, เทวะตานัญจะ, สัพพะสัตตานัญจะ, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ, นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ.

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่ง มัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาล ชาตินี้ เทอญ.
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

             เจ้าภาพกฐินถวาย "ผ้ากฐิน" แก่พระภิกษุ โดยนำถวายตั้งไว้พระภิกษุสงฆ์จะนำไปกระทำพิธี "อุปโลกน์กฐินและกรานกฐิน" อันเป็น "สังฆกรรม" ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
            เมื่อพระภิกษุสงฆ์เสร็จพิธีในการกรานกฐิน เรียบร้อยแล้ว คณะจึงถวายผ้าจำนำพรรษา และพระภิกษุสงฆ์จะถอนจีวรเก่าและพินทุอธิษฐานผ้าพร้อมกัน พร้อมทั้งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ครองผ้าจีวรใหม่ทันที เพื่อเจ้าภาพจะได้อานิสงส์ ในทันใด

๘. พระภิกษุสงฆ์ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถ พร้อมมาลาพุทธบูชา เมื่อพระภิกษุสงฆ์ครองผ้าจีวรเรียบร้อยแล้ว ได้ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถพร้อมมาลาพุทธบูชา ๓ รอบ แล้วนำมาลาสักการะบูชาคุณพระรัตนตรัย ภายในพระอุโบสถ

๙. คณะศรัทธาถวายเครื่องบริวารกฐิน คณะศรัทธาน้อมนำเครื่องบริวารกฐินทั้งหมด ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในเขตบุญพระพุทธศาสนา ด้วยจิตใจเบิกบานผ่องใส

๑๐. การแสดงธรรมของพระภิกษุสงฆ์มีอานิสงส์ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ถวายสักการะบูชาพระรัตนตรัยเรียบร้อยแล้ว ท่านจะมีสัมโมทนียกถา พร้อมทั้งกล่าวแสดงธรรมด้วย ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง .....
            ห้วงน้ำย่อมยังมหาสมุทรให้เต็มได้ฉันใด....
            คณะเจ้าภาพกฐินควรตั้งใจสดับธรรม ขณะพระสงฆ์กล่าวแสดงธรรม "ยะถา" ยังมิใช่วารกาลกรวดน้ำ และไม่ควรกล่าวธรรมอื่นใด พร้อมพระภิกษุ เพราะพระธรรมเป็นธรรมให้ถึงความเป็นพระอริยบุคคล การตั้งใจฟังธรรมเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรม เมื่อจบพิธีสงฆ์แล้ว ให้ตั้งใจกรวดน้ำอุทิศกุศลด้วยบทธรรมกรวดน้ำอัปปมัญญา (ดังข้อ ๑๓)
            เรื่องของอำมาตย์ ๒ ท่าน จากพระสูตร และอรรถกถา แปล ฑีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่ม ๑๔/๙๑ น. ๔๖ - ๔๙ ดังความว่า
            สมัยหนึ่ง ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวจาริกไปตามชนบทมาถึงพระเชตวัน เมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาทรงนิมนต์มาถวายทาน พระราชาถวายทานติดต่อกัน ๗ วัน ด้วยมหาทานอันยิ่งใหญ่  ในวันที่ ๗ พระราชาทรงถวายบังคมแล้วกราบทูลพระทศพลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด" ในบริษัทนั้น มีอำมาตย์ ๒ ท่าน คือท่านกาฬะ และท่านชุณหะ ฝ่ายท่าน กาฬะ คิดอกุศลว่า "สมบัติของราชตระกูลจะฉิบหาย" ส่วนท่านชุณหะ คิดเป็นกุศลว่า "ความเป็นพระราชานี้ยิ่งใหญ่ ใครอื่นจะทำสิ่งเหล่านี้ได้" เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทก็ทรงทราบอัธยาศัยของอำมาตย์ทั้งสองท่าน ทรงพระดำริว่า "ถ้าตถาคตจะแสดงธรรมตาม อัธยาศัยของชุณหะในวันนี้ ศีรษะของกาฬะจักแตกเป็น ๗ เสี่ยง ตถาคตบำเพ็ญบารมีมาด้วย ความสงสารสัตว์ แม้ในวันอื่น เมื่อตถาคตแสดงธรรม ชุณหะ ก็คงจักแทงตลอด มัคคผล สำหรับวันนี้ จักเห็นแก่กาฬะ" (เป็นการแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณของพระพุทธองค์) ทรงตรัสคาถา ๔ บท แก่พระราชาว่า
            พวกคนตระหนี่ จะไปเทวโลกไม่ได้
            พวกคนโง่ จะไม่สรรเสริญทานเลย
            แต่นักปราชญ์ พลอยยินดีตามทาน
            เพราะเหตุนั้นเอง  เขาจึงมีความสุขในโลกหน้า
พระราชาได้รับฟังธรรมเพียงเล็กน้อย ไม่พอกับพระราชหฤทัยประสงค์ทรงข้องพระทัย ภายหลังเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว เสด็จไปถวายอภิวาท และทูลถามพระบรมศาสดา ถึงสาเหตุที่ทรงแสดงธรรมเพียง ๔ บท แก่พระองค์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ได้ถวายมหาทานถึง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความปริวิตกของอำมาตย์ กาฬะ พระราชาตรัสถามกาฬะว่า "เธอเดือดร้อนอะไรด้วยเล่าในการถวายทานของพระองค์" จากนั้นตรัสเรียกชุณหะ มาถามความจริง และทรงประทานทรัพย์จากพระราชวังให้อำมาตย์ชุณหะ ถวายทานดุจราชาเป็นเวลา ๗ วัน อย่างที่พระองค์ถวาย ครั้นถวายเสร็จแล้วในวันที่ ๗ พระราชากราบทูลพระพุทธองค์โปรดแสดงธรรมแก่พระองค์
            พระบรมศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาทาน แม้ทั้งสองครั้งให้เป็นอันเดียวกัน เหมือนทรงกระทำแม่น้ำใหญ่สองสายให้เต็มด้วยห้วงน้ำเดียวกัน  ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านอำมาตย์ชุณหะ ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล พระราชาทรงเลื่อมใส ทรงถวายผ้าชื่อ "ปาวาย" แด่พระทศพล พึงทราบว่าก็ลาภสำเร็จยิ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยอาการอย่างนี้
            จบการให้พร (แสดงพระธรรมเทศนา) ของพระภิกษุสงฆ์ แล้วคณะเจ้าภาพกฐิน รับด้วย สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ พร้อมกราบสักการะพระภิกษุสงฆ์พร้อมกัน

  

๑๒. กราบบูชาคุณพระรัตนตรัย อีกครั้ง

๑๓. กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลเป็นอัปปมัญญา ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ ไปสู่สัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ อันประกอบด้วย เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉาน
   
คำกรวดน้ำอัปปมัญญา
                ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม
    เตสัญจะภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาป ปะมาณะกา
                สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
    จงมีส่วนแห่งบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ และแห่งบุญอื่น
    ที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว และจงเป็นพลวปัจจัย ให้ทุกท่าน
    ถึงซึ่ง มัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
    โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาลชาตินี้ เทอญ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

๑๔. อัญเชิญเทพพรหมเทวากลับทิพยวิมาน
เทวะตาอุยยะ โยชะนะคาถา
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา,      ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา,        โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน,
เอตตา วะตา จะ อัมเหหิ,         สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง,
สัพเพ เทวานุโมทันตุ,        สัพพะสัม ปัตติสิทธิยา,
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ,        สีลัง รักขันตุ สัพพะทา,
ภาวะนาภิระตา โหนตุ,        คัจฉันตุ เทวะตาคะตา,
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา,        ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง,
อะระหัน ตานัญจะ เตเชนะ,    รักขัง พันธา มิ สัพพะโส.

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

๑๕. การอนุโมทนามหากุศลที่ได้บำเพ็ญมา ซึ่งกันและกัน ในวารกาลสุดท้าย เราท่านทั้งหลายได้บำเพ็ญมหากุศล กฐินทานอันเป็นกาลทานถูกต้องตามพระธรรมวินัย มาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๓๐ ประการ (กายกรรม ๑๐ วจีกรรม ๑๐ มโนกรรม ๑๐)  ทั้งบุพพเจตนา เจตนาก่อนกระทำ มุญจเจตนา เจตนาขณะกำลังกระทำและอปรเจตนา เจตนาภายหลังกระทำ เป็นไปในกระแสมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ และน้อมนำกระแสบุญไปยังสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ได้มีส่วนในมหากุศลอันเป็นทานมัยถูกต้องตามพุทธวินัย เมื่อปฏิบัติถูกต้องก็เข้าสู่กระแสพุทธอริยะ สมควรที่เราท่านทั้งหลายควรเปล่งวาจาอนุโมทนามหาทานอันเป็นกระแสแห่งโลกุตตระ อนุโมทนาซึ่งกันและกันพร้อมสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ในวาระแห่งปัจฉิมกาลพร้อมกัน เทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

  

กฐิน
สังฆกรรมส่วนของพระภิกษุสงฆ์

คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังฆัสสะ,
โอโณชะยามะ  สาธุ โน ภัณเต,  สังโฆ,  อิมัง สะปะริวารัง, 
กะฐินะจีวะระทุสสัง,  ปะฏิคคัณหาตุ,  ปะฏิคคะเหตวา จะ, 
อิมินา,  ทุสเสนะ,  กะฐินัง,  อัตถะระตุ,  อัมหากัง,
ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ,  สุขายะ,
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
(คำแปล)
            ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์   ขอพระสงฆ์จงรับ  ซึ่งผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  ครั้นรับแล้ว   จงกรานกฐิน  ด้วยผ้าผืนนี้   เพื่อประโยชน์  และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย 
            และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่งมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันชาตินี้เทอญ

คำอุปโลกน์กฐิน
แบบ ๒ รูป
            ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้  เป็นของ ....... พร้อมด้วย ....... ผู้ประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
            ก็แลผ้ากฐินทานนี้เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศ แล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์  จะได้จำเพาะเจาะจง ลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า  ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง  เพื่อจะทำซึ่งกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบาย สังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพกิจ เป็นต้น  ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร เพื่อจะกระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้   
            บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะพิจารณาเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ.

รูปที่ ๒
            ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่ .......  เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถเพื่อกระทำกฐินัตถารกิจ  ให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควรจงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์  (หยุดนิดหนึ่ง)    ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นให้พร้อมกันเทอญ.
(พระสงฆ์ทั้งปวงนั้นอนุโมทนาพร้อมกันว่า "สาธุ")

คำอุปโลกน์กฐิน
แบบ ๔ รูป
            ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้  เป็นของ ............... ผู้ประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะน้อมนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
            ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์  ดุจเลื่อนลอยมาทางนภากาศ  แล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์  จะได้จำเพาะเจาะจง ลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ให้แก่ภิกษุผู้มีจีวรอันเก่า หรือจีวรทพพลภาพ หรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งมีสติปัญยาสามารถกระทำกฐินัตถารกิจ มิให้เพี้ยนผิด ต้องตามวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต
            เมื่อได้กรานกฐินแล้วไซร้ อานิสังสคุณจะพึงบังเกิดมี ๕ ประการ คือ อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยทุติยกฐินสิกขาบท ๑ เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยปฐมกฐินสิกขาบท ๑ ฉันคณโภชน์ปรัมปรโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยคณโภชนะและปรัมปรโภชนะสิกขาบท ๑  เข้าไปในละแวกบ้านได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยอนามันตจาริกสิกขาบท ๑ จีวรลาภที่บังเกิดขึ้นในอาวาสจะเป็นของภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ๑ ทั้งจีวรกาลจะยืดออกไปอีก ๔ เดือน ตลอดเหมันตฤดู ดังนี้
            บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งหลายจะมีความยินยอมพร้อมกันรับกฐินนี้หรือไม่  ถ้ามีความยินยอมพร้อมกันรับกฐินนี้แล้วไซร้ จงให้สัททสัญญา สาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ
(สาธุ)

รูปที่ ๒
            สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตกฐินัตถารกิจนั้น ให้เป็นการเฉพาะบุคคล สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี จะกรานกฐินไม่ได้ แต่เพราะอนุโมทนาแห่งสงฆ์และคณะและอัตถารกิจแห่งบุคคล  กฐินเป็นอันสงฆ์อันคณะบุคคลกรานได้ ก็แลผ้ากฐินทานนี้ ควรแก่ภิกษุผู้มีจีวรเก่า หรือมีจีวรอันทุพพลภาพ หรือภิกษุรูปใดจะมีอุตสาหะและสามารถทำจีวรกรรม ในวันเดียวนี้ ให้เป็นกฐินัตถารกิจ ต้องตาม พระบรมพุทธานุญาตมิให้วิธีวินัยนิยมทั้งปวงเคลื่อนคลาดได้
            บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวงจะเห็นสมควรแก่พระภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ
(ไม่ต้องสาธุ)
รูปที่ ๓
            ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควร แด่.............. ผู้เป็น ........... ในวัดนี้  ซึ่งเป็นพหุสูตทรงธรรม ทรงวินัย เป็นผู้ชี้แจงชักนำให้สพรหมจารีสงฆ์บริษัทรื่นเริง เป็นผู้ให้โอวาทานุศาสน์แก่ภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ เป็นผู้ทรงกฐินมาติกาฉลาดรู้ในวินัยกรรม จะไม่ให้วินัยนิยมนั้นๆ กำเริบได้ และเป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ อาจกระทำกฐินัตถารกิจ ให้ต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้
            เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงพิจารณาเห็นว่า พระสงฆ์ทั้งปวงจะยินยอมพร้อมกันถวายผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้แด่ ...................  ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้ จงสัททสาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.

รูปที่ ๔
            ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ถ้าแลพระสงฆ์บริษัทมีเอกฉันทานุมัติ พร้อมกัน ยอมถวายแด่................................... แล้ว ขอพระสงฆ์จงอย่าได้ถือเอาผ้าไตรจีวร ซึ่งเป็นบริวารแห่งผ้ากฐินตามลำดับ ผ้าจำพรรษาเลย จงถวายแด่ .................................... ด้วยอปโลกนวาจานี้ ส่วนผ้ากฐินทานนั้น ถึงพระสงฆ์ทั้งปวงจะยินยอมพร้อมกันถวายด้วย อปโลกนวาจาก็ไม่ขึ้น ต้องถวายด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ตามพระบรมพุทธานุญาต
            เพราะฉะนั้น ขอพระสงฆ์จงทำกรรมสันนิษฐานว่า จะถวายผ้ากฐินทานนั้น แด่......................... ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาอันไม่กำเริบ ตามสมควรแก่สถานะ ณ กาลบัดนี้ เทอญ ฯ
(สาธุ)

คำสัตตาหะ
            ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว มีกิจจำเป็นต้องไปค้างที่อื่น ท่านให้ทำสัตตาหะกับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แล้วไปค้างที่อื่นได้ ๗ ราตรี

            สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิ
            ตัสมา มะยา คันตัพพัง
            อิมัสมิง สัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ.
 

  


พิธีการกรานกฐิน

แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ     
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
         
            สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง,   ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสมะโต (อิตถันนามัสสะ) ทะเทยยะ, กะฐินัง อัตถะริตุง, เอสา ญัตติ ฯ
            สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสมะโต   (อิตถันนามัสสะ) เทติ, กะฐินัง  อัตถะริตุง, ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสสะ อายัสมะโต (อิตถันนามัสสะ)  ทานัง, กะฐินัง อัตถะริตุง, โส ตุณหัสสะ, ยัสสะ นักขะมะติ, โส ภาเสยยะ ฯ
            ทินนัง อิทัง สังเฆนะ กะฐินะทุสสัง, อายัสมะโต (อิตถันนามัสสะ) กะฐินัง อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณหี, เอวะเมตัง ธาระยามิ ฯ

หมายเหตุ ในวงเล็บ (อิตถันนามัสสะ)  ให้ใส่ชื่อผู้ครองกฐินแทน

            เมื่อสวดจบแล้ว ทำบุพพกรณ์เสร็จแล้ว ผ้ากฐินนั้นทำเป็นจีวรชนิดใด พึงปัจจุทธรณ์ (ถอน) จีวรชนิดนั้นของเดิมแล้วอธิษฐานจีวรใหม่โดย ชื่อนั้น กระทำโดยพระภิกษุองค์ครองกฐิน

วิธีถอน (ธรรมเนียมโบราณ) ท่านให้ยกผ้าเก่าทับผ้าใหม่แล้วกล่าวคำถอนว่า
    " อิมํ สงฺฆาฏิ ปจฺจุทธรามิ,
      อิมํ อุตฺตราสงฺคํ ปจฺจุทธรามิ,
      อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทธรามิ."
(จะถอนผืนใด พึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)

วิธีอธิษฐาน (ธรรมเนียมโบราณ) ท่านให้ยกผ้าใหม่ทับผ้าเก่าแล้วกล่าวคำอธิษฐานว่า
    " อิมํ สงฺฆาฏิ อธิฏฐามิ,
      อิมํ อุตฺตราสงฺคํ อธิฏฐามิ,
      อิมํ อนฺตรวาสกํ อธิฏฐามิ."
(จะอธิษฐานผืนใด พึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)

การกรานกฐิน พระภิกษุองค์ครองกฐินหันหน้าไปทางพระประธาน กราบพระประธานองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวนะโม ๓ ครั้ง แล้วว่ากรานกฐินให้สงฆ์ได้ยินทั่วกัน จะกรานผ้าสังฆาฏิ อุตตราสงค์ หรืออันตรวาสก ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ คำกรานว่าดังนี้
    "อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ"   (อิมายะ สังฆาฏิยา กะฐินัง อัตถะรามิ) 
(คำแปล)  ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้
      "อิมาย อุตตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" (อิมินา อุตตะราสังเคนะ กะฐินัง อัตถะรามิ)
(คำแปล)  ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์ผืนนี้
    "อิมาย อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" (อิมินา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง อัตถะรามิ)
(คำแปล)  ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

    เมื่อกรานจะพึงทำอย่างไรด้วยจีวรนั้นท่านมิได้กล่าวไว้ แต่โดยอาการที่ทำกันมา มือจับหรือลูบผ้านั้นด้วย ในขณะเปล่งคำกรานนั้นๆ ครั้นกรานเสร็จแล้ว พึงหันหน้ามาหาสงฆ์ทั้งปวง ประนมมือกล่าวว่า
    "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ
    ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ"
(คำแปล) "ท่านเจ้าข้า กฐิน ของสงฆ์ กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด"
ภิกษุเหล่านั้น พึงประนมมือ กล่าวคำอนุโมทนาว่า

    "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ
    ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม"
(คำแปล) "แน่ะเธอ  กฐินของสงฆ์ กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา"
    ผู้อนุโมทนาที่พรรษามากกว่าผู้กรานพึงว่า
    "อาวุโส" แทน "ภันเต"
    เมื่อว่าพร้อมกันถึง "ภันเต"
    พึงนิ่งเสีย เพียงเท่านี้ เป็นเสร็จพิธีกรานกฐิน

พิธีการ-พิธีกรรม

พิธีการ-พิธีกรรม
                                               นิทัศน์ พงษ์บุปผา
            พิธีกรรม  มีทั้งที่เป็นพิธีการและไม่เป็นพิธีการ   ควรทำอย่างไร... เป็นคำถามที่ท่านควรรู้ ผมจึงนำบทความของนาวาเอก สุนทรสันติธัช มาฝากท่านทั้งหลาย  เพื่อความมั่นใจในการประกอบพิธีกรรม

            พิธีการ คือ การกำหนดรายละเอียดของพิธีต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดของพิธีนั้น ๆ จะปรากฏอยู่ในพิธีกรรมทั่วไป เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา กำหนดการพิธีทำบุญประจำปีวันกองทัพเรือ กำหนดการพิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นต้น             พิธีกรรม คือ การกระทำพิธีต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งพิธีเล็กพิธีใหญ่ บางพิธีเป็นพิธีการ บางพิธี
ไม่เป็นพิธีการ เช่น พิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย พิธีการศพพิธีสักการบูชา ศาลพระภูมิ เป็นต้น
ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติปรากฏอยู่ในพิธีกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
พิธีทำบุญทั่วไป
            พิธีทำบุญในศาสนาพุทธ มี ๒ พิธี คือ
            
๑. พิธีทำบุญงานมงคล เพื่อเป็นสิริมงคล ความสุข ความเจริญ เช่น ทำบุญขึ้นบ้าน ใหม่งานวันเกิดงานแต่งงาน เป็นต้น
            
๒. พิธีทำบุญงานอวมงคล เพื่อบำบัดความทุกข์โศกปัดเป่าความชั่วร้ายให้หมด ไป เช่น
ทำบุญงานศพแร้งจับที่บ้านรุ้งกินน้ำในบ้าน อาเพศภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น
            พิธีทำบุญทั้ง ๒ พิธีดังกล่าว มีขั้นตอนการปฏิบัติทั้งขั้นเตรียมการและขั้นปฏิบัติการ ส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่จะมีความ แตกต่างกันบ้าง โดยบางพิธีตัดบางอย่าง ออกไปบางพิธี เพิ่มบางอย่างเข้ามา ดังนี้
 ขั้นเตรียมการ
            
๑. โต๊ะหมู่บูชา ตั้งด้านขวาอาสน์สงฆ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกทิศเหนือ หรือ ทิศ ใต้ ไม่นิยม
ทิศตะวันตก (เว้นความ จำเป็น) เช่น โต๊ะหมู่บูชาชุดหมู่ ๗ ประกอบด้วย
                        - พระพุทธรูป ๑ องค์
             - แจกันดอกไม้ ๕ แจกัน หรือ พานดอกไม้ ๕ พาน
            - กระถางธูป ๑ ชุด พร้อมธูป ๓ ดอก
            - เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมเทียน ๒ เล่ม
            - เชิงเทียนชนวน ๑ อัน พร้อมเทียน ๑ เล่ม
             ๒. อาสน์สงฆ์ (ที่ยกพื้นสำหรับพระสงฆ์นั่ง) หรืออาสนะ (ที่นั่ง,เครื่องปูรองนั่ง) ตั้งด้านซ้าย
โต๊ะหมู่บูชา (หากจำเป็นตั้งด้านขวาก็ได้) แยกต่างหากจากที่นั่งฆราวาสประกอบ ด้วยโต๊ะ หรือตั่ง เสื่อ
หรือพรม (ใหญ่-เล็ก) หมอนอิง
             
๓. เครื่องรับรอง ประกอบด้วย ภาชนะน้ำร้อน ภาชนะน้ำเย็นกระโถนตั้งไว้ด้าน ขวามือพระสงฆ์
โดยตั้งกระโถนไว้ด้านในสุด ถัดออกมาเป็นภาชนะน้ำเย็น ส่วนภาชนะ น้ำร้อน จัดถวายเมื่อพระสงฆ์เข้านั่งแล้ว
            
๔. ที่นั่งเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน

            - จัดไว้ด้านหน้าอาสน์สงฆ์ แยกต่างหากจากอาสน์สงฆ์
            - ถ้าที่นั่งเนื่องเป็นอันเดียวกับอาสนะ ให้ปูเสื่อ หรือพรมทับผืนที่เป็นที่นั่งฆราวาส
       
๕. ภาชนะน้ำมนต์/เทียนน้ำมนต์/หญ้าคา
            - จัดในงานมงคลทุกชนิด ตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชาด้านขวามือของประธานสงฆ์
            - งานอวมงคล เช่น ทำบุญหน้าศพ๗ วัน๕๐ วัน๑๐๐ วันวันคล้ายวันตาย เป็นต้น
ไม่ต้องจัดภาชนะน้ำมนต์
            - งานอวมงคลเพื่อปัดเป่าความชั่วร้าย เช่น แร้งจับที่บ้านรุ้งกินน้ำในบ้านอาเพศภัยพิบัติ
ต่าง ๆ เป็นต้น ต้องจัดภาชนะ น้ำมนต์
            - เทียนน้ำมนต์ ใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ น้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป
             - หญ้าคา ใช้สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ หากไม่มีจะใช้ใบมะยมแทนก็ได้
            
๖. ด้ายสายสิญจน์
            - งานมงคล ใช้วงรอบบ้านเรือนในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ทำบุญบ้านประจำปีทำบุญปัดเป่า
ความเสนียดจัญไร (อวมงคล) เป็นต้น
            - งานอวมงคลเกี่ยวกับศพ ไม่ใช้ด้ายสายสิญจน์วงรอบบ้านเรือนใช้โยงจากศพมา
เพื่อให้พระสงฆ์บังสุกุล
วิธีวงด้ายสายสิญจน์
                         - งานมงคล เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ เริ่มต้นที่พระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาหรือ หิ้งพระ
ในบ้าน หรือในที่ประกอบพิธีสงฆ์ วงเวียนขวารอบอาคารบ้านเรือน หรือรอบบริเวณ งาน แล้วนำมาวงเวียน
ขวารอบฐานพระพุทธรูป ๑ หรือ ๓ รอบ แล้วโยงมาวงรอบภาชนะน้ำ มนต์ วางกลุ่มด้ายสายสิญจน์
ใส่พานไว้ด้านซ้ายโต๊ะหมู่บูชา
                         - งานมงคลอื่น ๆ ให้วงรอบที่ฐานพระพุทธรูปแล้วโยงมาวงรอบภาชนะน้ำมนต์เลย
วิธีใช้ด้ายสายสิญจน์บังสุกุล
            - งานมงคล หากเชิญโกศอัฐิบรรพบุรุษมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วย จะใช้ด้ายสาย สิญจน์
อีกกลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มเดียวกันนั้น เด็ดให้ขาดจากพระพุทธรูป แล้วเชื่อมโยงโกศอัฐิให้พระสงฆ์บังสุกุล
                        - งานอวมงคล โยงจากศพ จากโกศอัฐิ จากรูปผู้ตาย หรือจากรายนามผู้ตาย
มาให้พระสงฆ์บังสุกุล
       
     ๗. เทียนชนวน อุปกรณ์ประกอบด้วย
            - เชิงเทียนทองเหลืองขนาดกลาง ๑ อัน
            - เทียนขี้ผึ้ง/เทียนไขไส้ใหญ่ ๆ ๑ เล่ม
            - น้ำมันชนวน (เทียนขี้ผึ้ง /เทียนไข ผสมน้ำมันเบนซิน)
       
     ๘. ภาชนะกรวดน้ำ ใส่น้ำสะอาดเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลาใช้
             
๙. การนิมนต์พระสงฆ์ 
            - งานมงคลพิธีหลวง หรือพิธีทางราชการ นิมนต์ ๑๐ รูป
            - งานมงคลพิธีราษฎร์ทุกประเภท รวมทั้งงานมงคลสมรส นิมนต์ ๙ รูป (เลข ๙ ออกเสียง
ใกล้เคียงคำว่า ก้าวŽ, กำลังพระเกตุ ๙พระพุทธคุณ ๙และ โลกุตรธรรม ๙)
            - งานอวมงคลเกี่ยวกับพิธีศพทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ นิมนต์พระสงฆ์เหมือนกัน
            - สวดพระอภิธรรม ๔ รูป
            - สวดหน้าไฟ ๔ รูป
                        - สวดพระพุทธมนต์ ๕๑๐ รูป ตามศรัทธา (พิธีหลวง นิมนต์ ๑๐ รูป)
            - สวดแจง ๒๐๒๕๕๐๑๐๐๕๐๐ รูป หรือทั้งวัด
            - สวดมาติกาบังสุกุล นิยมนิมนต์เท่าอายุผู้ตาย หรือตามศรัทธา
ข. ขั้นปฏิบัติการ
            ๑. การใช้เทียนชนวน
            - การถือเทียนชนวน พิธีกรถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือ ใช้นิ้วมือสี่นิ้ว (เว้นนิ้ว หัวแม่มือ) รองรับฐานเชิงเทียน แล้วใช้หัวแม่มือกดฐานเชิงเทียนเข้าไว้ ไม่นิยมจับกึ่งกลาง เชิงเทียน เพราะจะทำให้
ประธานในพิธีรับไม่สะดวก
              - การส่งเทียนชนวน พิธีกรจุดเทียนชนวนถือด้วยมือขวาเดินเข้าไปหาประธานใน พิธี ยืนตรงโค้งคำนับ เดินตามประธานในพิธีไปยังที่บูชา โดยเดินเยื้องทางด้านขวามือ ประธานในพิธี ถ้าประธานในพิธีหยุดยืนหน้าที่บูชา พิธีกรน้อมตัวลงเล็กน้อยส่งเทียนชนวน (ปกติส่งด้านขวามือประธานในพิธี แต่บางกรณีส่งด้านซ้ายมือประธานในพิธีก็ได้) ถ้าประธาน ในพิธีนั่งคุกเข่า พิธีกรก็นั่งคุกเข่าตามแล้วส่งเทียนชนวนด้วยมือขวา มือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว
                        - การรับเทียนชนวน เมื่อประธานในพิธีจุดธูปเทียนเสร็จแล้ว พิธีกรรับเทียน ชนวน โดยยื่นมือ
ขวาแบมือเข้าไปรองรับ ถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อย โค้งคำนับแล้วกลับ หลังหันเดินออกมา
            ๒. การปฏิบัติของประธานในพิธีที่โต๊ะหมู่บูชาเมื่อเริ่มพิธีการ
            - พร้อมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา รับเทียนชนวนจากพิธีกรด้วยมือขวา
            - จุดเทียนเล่มซ้ายมือของประธานในพิธีก่อน แล้วจุดเทียนเล่มขวามือ
            - จุดธูปดอกซ้ายมือของประธานใน พิธีก่อน แล้วจุดธูปดอกที่ ๒ และ ๓ ตาม ลำดับ
            - ส่งเทียนชนวนคืนให้พิธีกร
            - กราบบนที่กราบพระ ๓ ครั้ง ลำดับการปฏิบัติ คือ
            - คุกเข่า
            - ตั้งลำตัวตรง [๑. ประนมมือ ๒. น้อมศีรษะลง ๓. แนบฝ่ามือทั้งสองบนที่กราบ ๔. จรดหน้าผากลงระหว่างมือ (ให้หน้าผากสัมผัสที่กราบ) ๕.ยกศีรษะขึ้นพร้อมยกมือประนม ขึ้นตาม ๖. ตั้งลำตัวตรง] รวม ๖ จังหวะ นับเป็น ๑ ครั้ง 
หมายเหตุ การก้มศีรษะลง แล้วแบะฝ่ามือใส่ที่กราบ ๓ ครั้ง ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ไม่พึงปฏิบัติ เช่นนั้น
            - ยืนขึ้น แล้วถอยหลังออกมาหนึ่งก้าวหรือพอเหมาะ ทำเฉียงซ้ายแล้วโค้งคำนับ ธงชาติ ทำเฉียงขวาแล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ (กรณีมีสิ่งเคารพทั้งสอง) และกลับเข้าสู่ที่รับรองเมื่อจบพิธีการ
            - พร้อมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา กราบบน ที่กราบพระ ๓ ครั้ง (ไม่ต้องดับไฟเทียนบน โต๊ะหมู่บูชา)
            - ถอยหลังออกมาหนึ่งก้าว หรือพอเหมาะ ทำเฉียงซ้ายแล้วโค้งคำนับธงชาติ ทำ เฉียงขวาแล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นอันเสร็จพิธี
               ๓. พิธีกรอาราธนาศีล/พระปริตร
            - เมื่อประธานในพิธี หรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้วกลับนั่ง ที่เดิม พิธีกรเริ่มกล่าวคำอาราธนาต่อไป
             - ถ้าอาสนะอยู่ระดับพื้น ผู้ร่วมพิธีทั้งหมด นั่งกับพื้น พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง แล้วจึงกล่าวคำอาราธนา ถ้าอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น แต่ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่ง อยู่กับพื้นก็นั่งคุกเข่าอาราธนาเช่นกัน
            - ถ้าอาสน์สงฆ์ยกสูง ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่งเก้าอี้ พิธีกรพึงยืนทางท้ายอาสน์สงฆ์ ข้างหน้าพระสงฆ์รูปที่ ๑ หรือที่ ๒ จากท้ายแถว หรือที่อันเหมาะสม ทำความเคารพประธาน ในพิธี แล้วหันหน้าไปทางประธานสงฆ์ประนมมือ กล่าวคำอาราธนาศีล โดยหยุดทอดเสียง เป็นจังหวะ ๆ ดังนี้
คำอาราธนาศีล
            มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
            ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะติสะระเณนะ สะหะปัญจะสีลานิยาจามะ,
            ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะสีลานิยาจามะ,
             - เมื่อรับศีลเสร็จแล้วพึงอาราธนาพระปริตรต่อไป จบแล้ว ถ้านั่งคุกเข่าก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ายืนก็
ยกมือไหว้ เสร็จแล้วทำความเคารพประธานในพิธีอีกครั้งหนึ่งhttp://www.navy.mi.th/navic/document/890308a.html
คำอาราธนาพระปริตร
            วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะทุกขะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
            วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะภะยะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
            วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะโรคะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
            
๔. การจุดเทียนน้ำมนต์
            - ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพต้องรอคอยจุดเทียนน้ำมนต์อีกครั้งหนึ่ง
                        - เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงบท นโมการอัฏฐกะ คือ นะโม ๘ บท ประมาณ บทที่ ๕ (เริ่ม นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ฯลฯ) พิธีกรจุดเทียนชนวนเข้าไปเชิญ ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพไปจุดเทียนน้ำมนต์แล้วยกภาชนะน้ำมนต์ถวายประธานสงฆ์ ยกมือ ไหว้แล้วกลับไปนั่งที่เดิม
      
      ๕. การบูชาข้าวพระพุทธ/ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ เมื่อเจ้าหน้าที่เตรียมสำรับ อาหารเพื่อบูชาพระพุทธและภัตตาหารถวายพระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว

ประธานในพิธี
            - พร้อมที่โต๊ะวางสำรับอาหาร (ไม่ต้องจุดธูป เพราะถือเป็นพิธีต่อเนื่องจากการจุดธูป เทียนตอนเริ่ม
พิธีการ)
            -นั่งคุกเข่า หรือยืนตามความเหมาะสมของสถานที่ ประนมมือกล่าวคำบูชาข้าว พระพุทธโดยว่า
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"  (๓ จบ) แล้วกล่าวคำ บูชาข้าวพระพุทธดังนี้
     "      อิมัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนานัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ" (เพียง ๑ จบ)
            -กราบ ๓ ครั้ง หรือยกมือขึ้นจบ ๑ ครั้ง ตามความเหมาะสมของสถานที่ (ยกมือขึ้นจบ คือ ยกมือขึ้นแล้วก้มศีรษะลงพองาม โดยให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดที่ระหว่างคิ้ว ส่วนปลาย นิ้วจรดที่ไรผม)
            
๖. การลาข้าวพระพุทธ

                        เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือพิธีกรเข้าไปนั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำลาข้าวพระพุทธ แล้วยกอาหารไปได้
หมายเหตุ การลาข้าวพระพุทธเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีคำลาข้าวพระพุทธดังนี้
                        เสสัง มังคะลัง ยาจามิ"
            (ข้าพเจ้าขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคลนี้)
            
๗. กล่าวคำถวายสังฆทาน

            - การถวายภัตตาหาร (อาหารสด) งานทำบุญพิธีหลวง ไม่มีการกล่าวคำถวาย สังฆทาน
            - การถวายภัตตาหาร (อาหารสด) งานทำบุญพิธีราษฎร์ มีทั้งกล่าว และไม่กล่าว
(ตามความประสงค์เจ้าภาพ)
            - การถวายอาหารแห้ง ทั้งพิธีหลวง และพิธีราษฎร์ ต้องมีกล่าวคำถวายสังฆทาน เสมอ
            ๗.๑ คำถวายสังฆทานแบบมี ภัตตาหารเป็นหลัก (ถวายก่อนเที่ยง)
                        นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
อิมานิ มะยัง ภันเต/ ภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/ โอโณชะยามะ/ สาธุ โน ภันเต/ ภิกขุสังโฆ/
อิมานิ/ ภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ปะฏิค คัณหาตุ/ อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ
                        ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งภัตตาหาร/พร้อมทั้ง
ของบริวารเหล่านี้/ แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ/ ซึ่งภัตตาหาร/ พร้อมทั้งของ บริวารเหล่านี้/
ของข้าพเจ้าทั้งหลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ตลอด กาลนาน เทอญ
              ๗.๒ คำถวายสังฆทานแบบมีเฉพาะของใช้สอยหลายชนิด (ถวายได้ตลอดวัน)
                        นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
อิมานิ มะยัง ภันเต/ กัปปิยะภัณฑานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/ โอโณชะยามะ/ สาธุ โน ภันเต/ ภิกขุสังโฆ/
อิมานิ/ กัปปิยะภัณฑานิ/ ปะฏิคคัณหาตุ/ อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ
            ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ซึ่งกัปปิยภัณฑ ์ เหล่านี้/
แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ/ ซึ่งกัปปิยภัณฑ์เหล่านี้/ ของข้าพเจ้าทั้ง หลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ตลอดกาลนาน เทอญ
            ๗.๓ คำถวายสังฆทานอุทิศ (ถวายเจาะจง)
                        นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
อิมานิ มะยัง ภันเต/ มะตะกะภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/โอโณชะยามะ / สาธุ โน ภันเต/
ภิกขุสังโฆ/ อิมานิ/ มะตะกะภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ปะฏิคคัณหาตุ/ญาตะกา นัญจะ/ กาละกะตานัง/
อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ
                         ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งมะตะกะภัตตาหาร/
พร้อมทั้งของบริวารเหล่านี้/ แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ/ซึ่งมะตะกะภัตตา หาร/ พร้อมทั้ง
ของบริวารเหล่านี้/ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ญาติทั้งหลาย/ มี...เป็นต้น/
ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย/ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย/ ตลอดกาลนาน เทอญ.
             
๘. การจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระ
                        - เครื่องไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายพระสงฆ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔ และสิ่งของ
ที่นับเนื่องในปัจจัย ๔
                        - สิ่งของที่ประเคนพระได้ในเวลาช่วงเช้าถึงเที่ยง ได้แก่อาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท (หากนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวาย ในเวลาหลังเที่ยงแล้วไม่ต้อง ประเคน เพียงแต่แจ้งให้พระรับทราบแล้วมอบให้ศิษย์ เก็บรักษาไว้จัดทำถวายในวันต่อไป)
            - สิ่งของที่ประเคนพระได้ตลอดเวลา ได้แก่ ประเภทเครื่องดื่ม เครื่องยารักษาโรค และประเภท
เภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หมากพลู ฯลฯ หรือสิ่งของไม่ใช่สำหรับขบฉัน
            - สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนพระได้แก่ เงินและวัตถุสำหรับใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร
(ในการถวาย ควรใช้ใบปวารณาแทนตัวเงินส่วนตัวเงินมอบไว้แก่ไวยาวัจกรของพระ นั้น)
              ๙. การประเคนของพระ
                        -
 ถ้าเป็นชาย ยกส่งให้ถึงมือพระ ถ้าเป็นหญิง วางถวายบนผ้าที่พระทอด รับประ เคน หรือ
นั่งคุกเข่าประเคนตามความเหมาะสม
            - ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น พึงนั่งคุกเข่าประเคน ถ้าพระสงฆ์นั่งเก้าอี้ พึงยืนหรือนั่ง คุกเข่าประเคน
            - ภัตตาหารทุกชนิดที่ประเคนแล้ว ห้ามคฤหัสถ์จับต้องอีก ถ้าเผลอไปจับต้องประเคนใหม่
            ลักษณะการประเคนที่ถูกต้อง ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
                        ๑. สิ่งของที่จะประเคนไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป ขนาดคนปานกลางคนเดียวยกได้
และต้องยกสิ่งนั้นพ้นจากพื้นที่สิ่งของนั้นตั้งอยู่
                        ๒. ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นอย่างมาก (ไม่เกิน ๒ ศอก)
                        ๓. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของเข้าไปด้วยกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อม
                        ๔. กิริยาอาการที่น้อมสิ่งของเข้าไป จะส่งด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพีตักถวาย ฯลฯ ก็ได้
                        ๕. พระผู้รับประเคนนั้น จะรับด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น จะใช้ผ้าทอดรับ
ใช้บาตรรับ หรือ ใช้ภาชนะรับ ฯลฯ ก็ได้
            ๑๐. การกรวดน้ำ 
                        - งานทำบุญทุกชนิด ต้องมีการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปด้วย
                        - ใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสีหรือสิ่งอื่นใดเจือปน
                        - ใช้ภาชนะ (เต้า) กรวดน้ำโดยเฉพาะ ถ้าไม่มี ก็ใช้แก้วน้ำหรือขันน้ำแทน
โดยจัดเตรียมไว้ก่อนถึงเวลาใช้
                        - เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาว่า ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำโดยจับภาชนะกรวดน้ำด้วย
มือทั้งสองรินน้ำให้ไหลลงเป็นสาย ไม่ให้ขาดตอนเป็นระยะ
                        - ถ้าภาชนะกรวดน้ำปากกว้าง เช่น แก้วน้ำหรือขันน้ำ ฯลฯ ควรใช้นิ้วมือรองรับสาย น้ำเพื่อให้ไหลลงตามนิ้วมือ ถ้าภาชนะกรวดน้ำปากแคบ เช่น เต้ากรวดน้ำ ฯลฯ ไม่ต้องใช้นิ้วมือรองรับสายน้ำ
                        - เมื่อพระสงฆ์ขึ้นอนุโมทนาว่า สัพพีติโย... พึงเทน้ำให้หมดภาชนะกรวดน้ำแล้ว
ประนมมือรับพรต่อไป
                         - พิธีกร เข้าไปนำภาชนะกรวดน้ำพร้อมทั้งน้ำที่กรวดแล้วออกมาทันที เทลงพื้นดิน ที่สะอาด ในที่กลางแจ้ง หรือที่โคนต้นไม้ใหญ่ ภายนอกตัวอาคารบ้านเรือน ห้ามเทลงในกระ โถน หรือในที่สกปรก 
เป็นอันขาด
            คำกรวดน้ำ
     
                   อิทัง เม ญาตีนัง โหตุสุขิตา โหนตุ ญาตะโย.
                        อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุสุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร.
                        อิทัง เม เทวะตานัง โหตุสุขิตา โหนตุ เทวะตาโย.
                        อิทัง เม สัพเพสัง สัตตานัง โหตุสุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา.

ขอส่วนบุญของข้าพเจ้านี้ จงสำเร็จ แก่ญาติ มารดาบิดา เทวดา และสรรพสัตว์
ทั้งหลาย ขอให้ญาติ มารดา บิดา เทวดา และสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด

วิสุทธิ 7

วิสุทธิ 7
(ความหมดจด, ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ, ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน — purity; stages of purity; gradual purification)
1. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ — purity of morality) วิสุทธิมรรคว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล 4 [160]
2. จิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา — purity of mind) วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ สมาบัติ 8 พร้อมทั้งอุปจาร
3. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะเป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความหลงผิด — purity of view; purity of understanding) จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจ
4. กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย, ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง 3 — purity of transcending doubts) ข้อนี้ ตรงกับ ธรรมฐิติญาณ หรือ ยถาภูตญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจ
5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย อันเรียกว่าอุทยัพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือวิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมีวิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง 10 แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณนั้นต่อไป — purity of the knowledge and vision regarding path and not-path) ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจ
6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิดโคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่งความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ 9 — purity of the knowledge and vision of the way of progress)
7. ญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ในอริยมรรค 4 หรือ มรรคญาณ อันเกิดถัดจากโคตรภูญาณเป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆ ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น — purity of knowledge and vision)
วิสุทธิ 7 เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน ดุจรถ 7 ผลัดส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย โดยนัยดังแสดงแล้ว