วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พิธี กฐิน

พิธีถวายกฐิน การทำพิธีถวายกฐินดังนี้
คำอาราธนาศีล ๕
(นำ)          มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  
ทุติยัมปิ     มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ  
ตะติยัมปิ    มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ ฯ

พระภิกษุให้ศีล ๕
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ, (๓ ครั้ง)
    (ฆราวาสกล่าวตาม ๓ ครั้ง)
    ปาณาติปาตา         เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,  
    อะทินนาทานา        เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
    กาเมสุมิจฉาจารา    เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,    
    มุสาวาทา              เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี,  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,
    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ,        สีเลนะ สุคะติง ยันติ,
    สีเลนะ โภคะสัมปะทา,              สีเลนะ นิพพุติง ยันติ,   
    ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
ฆราวาสกล่าว  สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ  พร้อมกัน  และกล่าวว่า   นิพพานัง ปะระมัง สุขัง.
(กราบและกล่าว ๓ ครั้ง)

            จากนั้นผู้นำการถวาย กล่าวถึงมูลเหตุการทอดกฐินว่าบังเกิดมีขึ้นได้อย่างไร (ตามข้อมูลปฐมเหตุการทอดกฐิน)
            บัดนี้ท่านทั้งหลาย ได้มีโอกาสสร้างบุญมหากุศลไว้ในเขตบุญของพระพุทธศาสนา ในการทอดกฐิน อันมีอานิสงส์สำคัญยิ่ง การทอดกฐินเป็นการสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ให้ได้รับอานิสงส์อันยิ่ง ๕ ประการ (อานิสงส์ กฐิน ๕ ประการ) เราท่านทั้งหลายได้มาที่วัดที่พระภิกษุสงฆ์ จำพรรษาได้ถูกต้องตามพุทธวินัย ขอทุกท่านได้เกิดความปลื้มปิติอนุโมทนาว่า สิ่งที่ท่านได้กระทำมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ไม่มีสิ่งที่เป็นอกุศลมารบกวน ไม่ว่าจะเป็นกฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง  ที่จะทำให้กฐินเดาะ ไม่มีสุรายาเมา ไม่มีการฆ่าสัตว์ ไม่มีการดุด่าโกรธเคืองกัน กฐินของเราท่านทั้งหลาย ครบถ้วนบริบูรณ์ บริสุทธิ์ผุดผ่องสมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ขอทุกท่านได้สมาทานน้อมใจอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาตามที่ได้ตั้งใจมาแล้วที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาให้เป็นไป เพื่อมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
(ท่านผู้อัญเชิญผ้ากฐิน และผ้าจำนำพรรษาอาจยืนหรือนั่งก็ได้เพื่อกล่าวคำอธิษฐานธรรม)

คำกล่าวนอบน้อมพระพุทธเจ้า
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส ฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,     ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, 
                                     พระองค์นั้น,
อะระหะโต,                      ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส,
สัมมาสัมพุทธัสสะ,            ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง,   
(กล่าว ๓ ครั้ง)

คำกล่าวอธิษฐานธรรม
(นำกล่าวและทุกท่านกล่าวตาม)
อัปมาโน พุทโธ     คุณของพระพุทธเจ้า        ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ
อุปมาโน ธัมโม      คุณของพระธรรมเจ้า        ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ
อุปมาโน สังโฆ      คุณของพระอริยสงฆเจ้า   ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ

ด้วยอานิสังสทาน ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญ ณ โอกาสบัดนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ จงถึง มัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
               สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
               นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ทุติยัมปิ    สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
               นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ตะติยัมปิ   สุทินนัง วะตะเมทานัง อาสะวักขะยาวะหัง
               นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
ขอทุกท่าน ตั้งใจมั่นในการถวายกฐิน ถวายผ้าให้พระภิกษุสงฆ์ ได้ใช้เป็นไปตามพุทธานุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

               คำถวายผ้ากฐิน
    อิมัง ภันเต,  สะปะริวารัง,  กะฐินะจีวะระทุสสัง,  สังฆัสสะ, 
    โอโณชะยามะ,  สาธุ โน ภัณเต,  สังโฆ,  อิมัง สะปะริวารัง, 
    กะฐินะจีวะระทุสสัง,  ปะฏิคคัณหาตุ,  ปะฏิคคะเหตวา จะ, 
    อิมินา,  ทุสเสนะ,  กะฐินัง,  อัตถะระตุ,  อัมหากัง, 
    ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ,  สุขายะ,    
    นิพพานะ ปัจจะโย  โหตุ.

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์   ขอพระสงฆ์จงรับ  ซึ่งผ้ากฐินจีวร  กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย
ครั้นรับแล้ว  ขอพระสงฆ์จงกรานกฐิน  ด้วยผ้าผืนนี้   เพื่อประโยชน์  เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย  และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่งมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาลชาตินี้ เทอญ ฯ

คำถวายผ้าจำนำพรรษา
อิมานิ มะยัง ภันเต, วัสสาวาสิกะ จีวะรานิ, สะปะริวารานิ,
ภิกขุสังฆัสสะ, โอโนชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ,
อิมานิ วัสสาวาสิกะ จีวะรานิ, สะปะริวารานิ, ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัญเจวะ, มาตาปิตุ, อาทีนัญจะ, ญาติ มิตตานัญจะ, ราชานัญจะ, เปตานัญจะ, เทวะตานัญจะ, สัพพะสัตตานัญจะ, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ, นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ.

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้าจำนำพรรษา กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่ง มัคค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาล ชาตินี้ เทอญ.
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

             เจ้าภาพกฐินถวาย "ผ้ากฐิน" แก่พระภิกษุ โดยนำถวายตั้งไว้พระภิกษุสงฆ์จะนำไปกระทำพิธี "อุปโลกน์กฐินและกรานกฐิน" อันเป็น "สังฆกรรม" ถูกต้องตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
            เมื่อพระภิกษุสงฆ์เสร็จพิธีในการกรานกฐิน เรียบร้อยแล้ว คณะจึงถวายผ้าจำนำพรรษา และพระภิกษุสงฆ์จะถอนจีวรเก่าและพินทุอธิษฐานผ้าพร้อมกัน พร้อมทั้งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ครองผ้าจีวรใหม่ทันที เพื่อเจ้าภาพจะได้อานิสงส์ ในทันใด

๘. พระภิกษุสงฆ์ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถ พร้อมมาลาพุทธบูชา เมื่อพระภิกษุสงฆ์ครองผ้าจีวรเรียบร้อยแล้ว ได้ทักษิณาวัตรรอบพระอุโบสถพร้อมมาลาพุทธบูชา ๓ รอบ แล้วนำมาลาสักการะบูชาคุณพระรัตนตรัย ภายในพระอุโบสถ

๙. คณะศรัทธาถวายเครื่องบริวารกฐิน คณะศรัทธาน้อมนำเครื่องบริวารกฐินทั้งหมด ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ในเขตบุญพระพุทธศาสนา ด้วยจิตใจเบิกบานผ่องใส

๑๐. การแสดงธรรมของพระภิกษุสงฆ์มีอานิสงส์ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ถวายสักการะบูชาพระรัตนตรัยเรียบร้อยแล้ว ท่านจะมีสัมโมทนียกถา พร้อมทั้งกล่าวแสดงธรรมด้วย ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง .....
            ห้วงน้ำย่อมยังมหาสมุทรให้เต็มได้ฉันใด....
            คณะเจ้าภาพกฐินควรตั้งใจสดับธรรม ขณะพระสงฆ์กล่าวแสดงธรรม "ยะถา" ยังมิใช่วารกาลกรวดน้ำ และไม่ควรกล่าวธรรมอื่นใด พร้อมพระภิกษุ เพราะพระธรรมเป็นธรรมให้ถึงความเป็นพระอริยบุคคล การตั้งใจฟังธรรมเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรม เมื่อจบพิธีสงฆ์แล้ว ให้ตั้งใจกรวดน้ำอุทิศกุศลด้วยบทธรรมกรวดน้ำอัปปมัญญา (ดังข้อ ๑๓)
            เรื่องของอำมาตย์ ๒ ท่าน จากพระสูตร และอรรถกถา แปล ฑีฆนิกาย มหาวรรค เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่ม ๑๔/๙๑ น. ๔๖ - ๔๙ ดังความว่า
            สมัยหนึ่ง ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวจาริกไปตามชนบทมาถึงพระเชตวัน เมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาทรงนิมนต์มาถวายทาน พระราชาถวายทานติดต่อกัน ๗ วัน ด้วยมหาทานอันยิ่งใหญ่  ในวันที่ ๗ พระราชาทรงถวายบังคมแล้วกราบทูลพระทศพลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด" ในบริษัทนั้น มีอำมาตย์ ๒ ท่าน คือท่านกาฬะ และท่านชุณหะ ฝ่ายท่าน กาฬะ คิดอกุศลว่า "สมบัติของราชตระกูลจะฉิบหาย" ส่วนท่านชุณหะ คิดเป็นกุศลว่า "ความเป็นพระราชานี้ยิ่งใหญ่ ใครอื่นจะทำสิ่งเหล่านี้ได้" เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทก็ทรงทราบอัธยาศัยของอำมาตย์ทั้งสองท่าน ทรงพระดำริว่า "ถ้าตถาคตจะแสดงธรรมตาม อัธยาศัยของชุณหะในวันนี้ ศีรษะของกาฬะจักแตกเป็น ๗ เสี่ยง ตถาคตบำเพ็ญบารมีมาด้วย ความสงสารสัตว์ แม้ในวันอื่น เมื่อตถาคตแสดงธรรม ชุณหะ ก็คงจักแทงตลอด มัคคผล สำหรับวันนี้ จักเห็นแก่กาฬะ" (เป็นการแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณของพระพุทธองค์) ทรงตรัสคาถา ๔ บท แก่พระราชาว่า
            พวกคนตระหนี่ จะไปเทวโลกไม่ได้
            พวกคนโง่ จะไม่สรรเสริญทานเลย
            แต่นักปราชญ์ พลอยยินดีตามทาน
            เพราะเหตุนั้นเอง  เขาจึงมีความสุขในโลกหน้า
พระราชาได้รับฟังธรรมเพียงเล็กน้อย ไม่พอกับพระราชหฤทัยประสงค์ทรงข้องพระทัย ภายหลังเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว เสด็จไปถวายอภิวาท และทูลถามพระบรมศาสดา ถึงสาเหตุที่ทรงแสดงธรรมเพียง ๔ บท แก่พระองค์ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ได้ถวายมหาทานถึง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความปริวิตกของอำมาตย์ กาฬะ พระราชาตรัสถามกาฬะว่า "เธอเดือดร้อนอะไรด้วยเล่าในการถวายทานของพระองค์" จากนั้นตรัสเรียกชุณหะ มาถามความจริง และทรงประทานทรัพย์จากพระราชวังให้อำมาตย์ชุณหะ ถวายทานดุจราชาเป็นเวลา ๗ วัน อย่างที่พระองค์ถวาย ครั้นถวายเสร็จแล้วในวันที่ ๗ พระราชากราบทูลพระพุทธองค์โปรดแสดงธรรมแก่พระองค์
            พระบรมศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาทาน แม้ทั้งสองครั้งให้เป็นอันเดียวกัน เหมือนทรงกระทำแม่น้ำใหญ่สองสายให้เต็มด้วยห้วงน้ำเดียวกัน  ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านอำมาตย์ชุณหะ ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล พระราชาทรงเลื่อมใส ทรงถวายผ้าชื่อ "ปาวาย" แด่พระทศพล พึงทราบว่าก็ลาภสำเร็จยิ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ด้วยอาการอย่างนี้
            จบการให้พร (แสดงพระธรรมเทศนา) ของพระภิกษุสงฆ์ แล้วคณะเจ้าภาพกฐิน รับด้วย สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ พร้อมกราบสักการะพระภิกษุสงฆ์พร้อมกัน

  

๑๒. กราบบูชาคุณพระรัตนตรัย อีกครั้ง

๑๓. กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลเป็นอัปปมัญญา ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ ไปสู่สัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ อันประกอบด้วย เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉาน
   
คำกรวดน้ำอัปปมัญญา
                ปุญญัสสิทานิ กะตัสสะ ยานัญญานิ กะตานิ เม
    เตสัญจะภาคิโน โหนตุ สัตตานันตาป ปะมาณะกา
                สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ
    จงมีส่วนแห่งบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้ และแห่งบุญอื่น
    ที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว และจงเป็นพลวปัจจัย ให้ทุกท่าน
    ถึงซึ่ง มัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
    โดยเฉียบพลันในปัจจุบันกาลชาตินี้ เทอญ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

๑๔. อัญเชิญเทพพรหมเทวากลับทิพยวิมาน
เทวะตาอุยยะ โยชะนะคาถา
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา,      ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา,        โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน,
เอตตา วะตา จะ อัมเหหิ,         สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง,
สัพเพ เทวานุโมทันตุ,        สัพพะสัม ปัตติสิทธิยา,
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ,        สีลัง รักขันตุ สัพพะทา,
ภาวะนาภิระตา โหนตุ,        คัจฉันตุ เทวะตาคะตา,
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา,        ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง,
อะระหัน ตานัญจะ เตเชนะ,    รักขัง พันธา มิ สัพพะโส.

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

๑๕. การอนุโมทนามหากุศลที่ได้บำเพ็ญมา ซึ่งกันและกัน ในวารกาลสุดท้าย เราท่านทั้งหลายได้บำเพ็ญมหากุศล กฐินทานอันเป็นกาลทานถูกต้องตามพระธรรมวินัย มาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๓๐ ประการ (กายกรรม ๑๐ วจีกรรม ๑๐ มโนกรรม ๑๐)  ทั้งบุพพเจตนา เจตนาก่อนกระทำ มุญจเจตนา เจตนาขณะกำลังกระทำและอปรเจตนา เจตนาภายหลังกระทำ เป็นไปในกระแสมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ และน้อมนำกระแสบุญไปยังสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ได้มีส่วนในมหากุศลอันเป็นทานมัยถูกต้องตามพุทธวินัย เมื่อปฏิบัติถูกต้องก็เข้าสู่กระแสพุทธอริยะ สมควรที่เราท่านทั้งหลายควรเปล่งวาจาอนุโมทนามหาทานอันเป็นกระแสแห่งโลกุตตระ อนุโมทนาซึ่งกันและกันพร้อมสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ในวาระแห่งปัจฉิมกาลพร้อมกัน เทอญ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

  

กฐิน
สังฆกรรมส่วนของพระภิกษุสงฆ์

คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังฆัสสะ,
โอโณชะยามะ  สาธุ โน ภัณเต,  สังโฆ,  อิมัง สะปะริวารัง, 
กะฐินะจีวะระทุสสัง,  ปะฏิคคัณหาตุ,  ปะฏิคคะเหตวา จะ, 
อิมินา,  ทุสเสนะ,  กะฐินัง,  อัตถะระตุ,  อัมหากัง,
ทีฆะรัตตัง,  หิตายะ,  สุขายะ,
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
(คำแปล)
            ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวาย  ซึ่งผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระสงฆ์   ขอพระสงฆ์จงรับ  ซึ่งผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  ของข้าพเจ้าทั้งหลาย  ครั้นรับแล้ว   จงกรานกฐิน  ด้วยผ้าผืนนี้   เพื่อประโยชน์  และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย 
            และสัตวะทั้ง ๓๑ ภูมิ ให้ถึงซึ่งมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑ โดยเฉียบพลันในปัจจุบันชาตินี้เทอญ

คำอุปโลกน์กฐิน
แบบ ๒ รูป
            ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้  เป็นของ ....... พร้อมด้วย ....... ผู้ประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
            ก็แลผ้ากฐินทานนี้เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศ แล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์  จะได้จำเพาะเจาะจง ลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า  ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง  เพื่อจะทำซึ่งกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบาย สังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพกิจ เป็นต้น  ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร เพื่อจะกระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้   
            บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะพิจารณาเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ.

รูปที่ ๒
            ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่ .......  เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถเพื่อกระทำกฐินัตถารกิจ  ให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควรจงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์  (หยุดนิดหนึ่ง)    ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นให้พร้อมกันเทอญ.
(พระสงฆ์ทั้งปวงนั้นอนุโมทนาพร้อมกันว่า "สาธุ")

คำอุปโลกน์กฐิน
แบบ ๔ รูป
            ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้  เป็นของ ............... ผู้ประกอบด้วยศรัทธาอุตสาหะน้อมนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
            ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์  ดุจเลื่อนลอยมาทางนภากาศ  แล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์  จะได้จำเพาะเจาะจง ลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ให้แก่ภิกษุผู้มีจีวรอันเก่า หรือจีวรทพพลภาพ หรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งมีสติปัญยาสามารถกระทำกฐินัตถารกิจ มิให้เพี้ยนผิด ต้องตามวินัยนิยมบรมพุทธานุญาต
            เมื่อได้กรานกฐินแล้วไซร้ อานิสังสคุณจะพึงบังเกิดมี ๕ ประการ คือ อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยทุติยกฐินสิกขาบท ๑ เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยปฐมกฐินสิกขาบท ๑ ฉันคณโภชน์ปรัมปรโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยคณโภชนะและปรัมปรโภชนะสิกขาบท ๑  เข้าไปในละแวกบ้านได้ ไม่ต้องอาบัติด้วยอนามันตจาริกสิกขาบท ๑ จีวรลาภที่บังเกิดขึ้นในอาวาสจะเป็นของภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ๑ ทั้งจีวรกาลจะยืดออกไปอีก ๔ เดือน ตลอดเหมันตฤดู ดังนี้
            บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งหลายจะมีความยินยอมพร้อมกันรับกฐินนี้หรือไม่  ถ้ามีความยินยอมพร้อมกันรับกฐินนี้แล้วไซร้ จงให้สัททสัญญา สาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ
(สาธุ)

รูปที่ ๒
            สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตกฐินัตถารกิจนั้น ให้เป็นการเฉพาะบุคคล สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี จะกรานกฐินไม่ได้ แต่เพราะอนุโมทนาแห่งสงฆ์และคณะและอัตถารกิจแห่งบุคคล  กฐินเป็นอันสงฆ์อันคณะบุคคลกรานได้ ก็แลผ้ากฐินทานนี้ ควรแก่ภิกษุผู้มีจีวรเก่า หรือมีจีวรอันทุพพลภาพ หรือภิกษุรูปใดจะมีอุตสาหะและสามารถทำจีวรกรรม ในวันเดียวนี้ ให้เป็นกฐินัตถารกิจ ต้องตาม พระบรมพุทธานุญาตมิให้วิธีวินัยนิยมทั้งปวงเคลื่อนคลาดได้
            บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวงจะเห็นสมควรแก่พระภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ
(ไม่ต้องสาธุ)
รูปที่ ๓
            ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควร แด่.............. ผู้เป็น ........... ในวัดนี้  ซึ่งเป็นพหุสูตทรงธรรม ทรงวินัย เป็นผู้ชี้แจงชักนำให้สพรหมจารีสงฆ์บริษัทรื่นเริง เป็นผู้ให้โอวาทานุศาสน์แก่ภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ เป็นผู้ทรงกฐินมาติกาฉลาดรู้ในวินัยกรรม จะไม่ให้วินัยนิยมนั้นๆ กำเริบได้ และเป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ อาจกระทำกฐินัตถารกิจ ให้ต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้
            เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงพิจารณาเห็นว่า พระสงฆ์ทั้งปวงจะยินยอมพร้อมกันถวายผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้แด่ ...................  ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็นไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้ จงสัททสาธุการขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.

รูปที่ ๔
            ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ถ้าแลพระสงฆ์บริษัทมีเอกฉันทานุมัติ พร้อมกัน ยอมถวายแด่................................... แล้ว ขอพระสงฆ์จงอย่าได้ถือเอาผ้าไตรจีวร ซึ่งเป็นบริวารแห่งผ้ากฐินตามลำดับ ผ้าจำพรรษาเลย จงถวายแด่ .................................... ด้วยอปโลกนวาจานี้ ส่วนผ้ากฐินทานนั้น ถึงพระสงฆ์ทั้งปวงจะยินยอมพร้อมกันถวายด้วย อปโลกนวาจาก็ไม่ขึ้น ต้องถวายด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ตามพระบรมพุทธานุญาต
            เพราะฉะนั้น ขอพระสงฆ์จงทำกรรมสันนิษฐานว่า จะถวายผ้ากฐินทานนั้น แด่......................... ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาอันไม่กำเริบ ตามสมควรแก่สถานะ ณ กาลบัดนี้ เทอญ ฯ
(สาธุ)

คำสัตตาหะ
            ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว มีกิจจำเป็นต้องไปค้างที่อื่น ท่านให้ทำสัตตาหะกับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แล้วไปค้างที่อื่นได้ ๗ ราตรี

            สัตตาหะกะระณียัง กิจจัง เม อัตถิ
            ตัสมา มะยา คันตัพพัง
            อิมัสมิง สัตตาหัพภันตะเร นิวัตติสสามิ.
 

  


พิธีการกรานกฐิน

แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ     
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
         
            สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง,   ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสมะโต (อิตถันนามัสสะ) ทะเทยยะ, กะฐินัง อัตถะริตุง, เอสา ญัตติ ฯ
            สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะทุสสัง อุปปันนัง, สังโฆ อิมัง กะฐินะทุสสัง อายัสมะโต   (อิตถันนามัสสะ) เทติ, กะฐินัง  อัตถะริตุง, ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิมัสสะ กะฐินะทุสสัสสะ อายัสมะโต (อิตถันนามัสสะ)  ทานัง, กะฐินัง อัตถะริตุง, โส ตุณหัสสะ, ยัสสะ นักขะมะติ, โส ภาเสยยะ ฯ
            ทินนัง อิทัง สังเฆนะ กะฐินะทุสสัง, อายัสมะโต (อิตถันนามัสสะ) กะฐินัง อัตถะริตุง, ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณหี, เอวะเมตัง ธาระยามิ ฯ

หมายเหตุ ในวงเล็บ (อิตถันนามัสสะ)  ให้ใส่ชื่อผู้ครองกฐินแทน

            เมื่อสวดจบแล้ว ทำบุพพกรณ์เสร็จแล้ว ผ้ากฐินนั้นทำเป็นจีวรชนิดใด พึงปัจจุทธรณ์ (ถอน) จีวรชนิดนั้นของเดิมแล้วอธิษฐานจีวรใหม่โดย ชื่อนั้น กระทำโดยพระภิกษุองค์ครองกฐิน

วิธีถอน (ธรรมเนียมโบราณ) ท่านให้ยกผ้าเก่าทับผ้าใหม่แล้วกล่าวคำถอนว่า
    " อิมํ สงฺฆาฏิ ปจฺจุทธรามิ,
      อิมํ อุตฺตราสงฺคํ ปจฺจุทธรามิ,
      อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทธรามิ."
(จะถอนผืนใด พึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)

วิธีอธิษฐาน (ธรรมเนียมโบราณ) ท่านให้ยกผ้าใหม่ทับผ้าเก่าแล้วกล่าวคำอธิษฐานว่า
    " อิมํ สงฺฆาฏิ อธิฏฐามิ,
      อิมํ อุตฺตราสงฺคํ อธิฏฐามิ,
      อิมํ อนฺตรวาสกํ อธิฏฐามิ."
(จะอธิษฐานผืนใด พึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)

การกรานกฐิน พระภิกษุองค์ครองกฐินหันหน้าไปทางพระประธาน กราบพระประธานองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวนะโม ๓ ครั้ง แล้วว่ากรานกฐินให้สงฆ์ได้ยินทั่วกัน จะกรานผ้าสังฆาฏิ อุตตราสงค์ หรืออันตรวาสก ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ คำกรานว่าดังนี้
    "อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ"   (อิมายะ สังฆาฏิยา กะฐินัง อัตถะรามิ) 
(คำแปล)  ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้
      "อิมาย อุตตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" (อิมินา อุตตะราสังเคนะ กะฐินัง อัตถะรามิ)
(คำแปล)  ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์ผืนนี้
    "อิมาย อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" (อิมินา อันตะระวาสะเกนะ กะฐินัง อัตถะรามิ)
(คำแปล)  ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้

    เมื่อกรานจะพึงทำอย่างไรด้วยจีวรนั้นท่านมิได้กล่าวไว้ แต่โดยอาการที่ทำกันมา มือจับหรือลูบผ้านั้นด้วย ในขณะเปล่งคำกรานนั้นๆ ครั้นกรานเสร็จแล้ว พึงหันหน้ามาหาสงฆ์ทั้งปวง ประนมมือกล่าวว่า
    "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ
    ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ"
(คำแปล) "ท่านเจ้าข้า กฐิน ของสงฆ์ กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด"
ภิกษุเหล่านั้น พึงประนมมือ กล่าวคำอนุโมทนาว่า

    "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ
    ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม"
(คำแปล) "แน่ะเธอ  กฐินของสงฆ์ กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา"
    ผู้อนุโมทนาที่พรรษามากกว่าผู้กรานพึงว่า
    "อาวุโส" แทน "ภันเต"
    เมื่อว่าพร้อมกันถึง "ภันเต"
    พึงนิ่งเสีย เพียงเท่านี้ เป็นเสร็จพิธีกรานกฐิน

ไม่มีความคิดเห็น: