วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565

ประเพณีวันสารทเดือนสิบ


 ประเพณีวันสารทเดือนสิบ

การทำบุญวันสารทเดือนสิบ หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้นในเดือนสิบ(กันยายน)
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข
มีการทำบุญที่วัด 2 ครั้ง
ครั้งแรก วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันรับเปรต
ครั้งที่สองวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต
การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และ รู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น
ขนมเดือนสิบ จัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบ ที่จำเป็นมี 5 อย่าง คือ
1.ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
2.ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
3.ขนมกง ( ขนมไข่ปลา ) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
4.ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหูหรือขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
5. ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
ครั้งแรก วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันรับเปรต
ครั้งที่สองวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่าวันชิเปรตเป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรตชนมาเยี่ยมลูกหลาน ลูกหลานก็ทำบุญต้อนรับครั้งหนึ่งใน วันแรม 15 ค่ำเดือนสิบเรียกว่าวันส่งเปรตเป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง

1.การตักบาตร
มีลักษณะที่แตกต่างกันไปในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ
การตักบาตรที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่นได้แก่

ตักบาตรขนมกระยาสารท
ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วยมีความเชือที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้

ตักบาตรน้ำผึ้ง
เป็นที่นิยมในบางท้องถิ่นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นชาวไทยมอญ ที่นิยมตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง เนื่องจากมีเรื่องเล่าตามพุทธประวัติว่า "ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ ป่าปาริไลยก์ เพียงพระองค์เดียว แต่มีผู้ถวายอุปัฏฐากเป็นช้างปาริเยยกะ เป็นผู้คอยถวายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และลิงเป็นผู้หาผลไม้มาถวาย วันหนึ่งลิงได้นำน้ำผึ้งมาถวาย การถวายน้ำผึ้งจึงเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา"

2.ฟังธรรมเทศนา
3.ถือศีลภาวนา
4.ปล่อยนกปล่อยปลา
:ฐิตรโส
ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ
คุณ, Baew Preeyanont, Saranya Sartsasi และ คนอื่นๆ อีก 44 คน
ความคิดเห็น 8 รายการ
แชร์ 14 ครั้ง
แชร์

ต้นทุนชีวิต

 ต้นทุนชีวิต

คนเราเกิดมาด้วยต้นทุนที่ไม่เท่ากัน แต่...แม้ต้นทุนจะแตกต่างกันแต่ความสำเร็จในชีวิตนั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งต้นทุนเสมอไป ด้วยปัญญา ความเพียรพยายาม กัดไม่ปล่อยสู้ไม่ถอย ก็อาจสำเร็จได้ ชีวิตจึงต้องอดทนพยายามอย่างเต็มที่ เท่าที่ต้นทุนที่มีอยู่
แต่ถ้ามองย้อนกลับไป ต้นทุนที่แตกต่างกันนั้น ก็เป็นเพราะทำไว้ไม่เท่ากัน คนรอบข้างเรา บางคนมีชีวิตแสนสุขสบายด้วยต้นทุนเดิม แต่ก็-ได้แต่ใช้ไปไม่แสวงหาเพิ่มเติม เพราะไม่เข้าใจ บางคนแม้ต้นทุนเดิมน้อยแต่ก็ขยันสร้างตัวและสร้างทุนไว้ในภพต่อๆไป ความแตกต่างนี้เองที่วนเวียนให้ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายแตกต่างกัน
หลายๆคนได้แต่คิดว่าเงินคือต้นทุนสำคัญของชีวิต แต่มีสิ่งอื่นๆอีกมากมายมี่สามารถเป็นต้นทุนได้ ในคำสอนข้อแรกของพระพุทธศาสนาเรื่อง อริยทรัพย์ สิ่งแรกคือ ..ศรัทธา ..ศรัทธาในคำสอนในพระธรรมของพระพุทธองค์ ทำให้เราไม่หลงไปกับกิเลศ ตัญหา อุปาทาน สิ่งนี้จึงสำคัญยิ่ง นอกจากนั้น ปัญญา วิริยะ ความแข็งแรงของร่างกาย สุขภาพ ร่างกายที่สมบูรณ์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นต้นทุนที่สำคัญยิ่ง ความจริง สำคัญยิ่งกว่าเงินทองด้วยซ้ำ โปรดพิจารณา
กรรม- คำตอบ -ที่แม่นยำถูกต้องที่สุด พระพุทธองค์ได้ทรงประทาน พระธรรม คำสอนไว้โดยแจกแจง จำแนก กรรมและผลของกรรมไว้อย่างชัดเจนแล้ว จงหยุดคิดสักนิด มาสร้างต้นทุนสำหรับวันใหม่กันนะครับ
สร้างโภคทรัพย์ที่ท่านมีจากวันนี้ หรือต้นทุนเดิม ให้เป็นอริยทรัพย์ที่จะเป็นต้นทุนติดตัวตลอดไป
ชีวิตดีๆ-ต้องสร้างเอง- ทำดี พูดดี คิดดี เริ่มจากวันนี้-เดี๋ยวนี้ ...นะครับ
ถ้า...
สามารถหลุดพ้นจากวงเวียนที่เรียกว่าวัฏฏนี้ได้ โดยปฏิบัติตามคำของพระบรมศาสดา เข้าสูู่กระแสธรรม สู่อริยบุคคล ย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

บุญข้าวประดับดิน

 



บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน ประวัติบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ประเพณีภาคอีสาน ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์นรกหรือเปรต ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมาในภาคอีสาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี

ทั้งนี้ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต

นอกจากนี้ บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่

โบราณท่านเขียนไว้ในหนังสือฉลอง ความว่า "ครั้งที่มหาโมคคัลลาน์แทรกแผ่นดินลงไปเยือนนรก ซึ่งเขากำลังเสวยกรรมอยู่ในแดนต่างๆ พอท่านไปถึงก็บันดาลให้ไฟนรกดับ สัตว์นรกก็ไม่ได้เสวยกรรม พอท่านจะกลับมายังโลกมนุษย์พวกสัตว์นรกได้สั่งท่านให้มาบอกญาติพี่น้องทางโลกได้ทราบ

และทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้บ้าง เมื่อพระโมคคัลลาน์กลับมาถึงชมพูทวีปก็ประกาศข่าวนี้ให้ประชาชนทราบ ซึ่งวันนั้นตรงกับวันดับเดือนเก้า (วันแรม 15 ค่ำ)จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันทำบุญข้าวประดับดิน"

สาเหตุที่ต้องทำพิธีตั้งแต่เช้ามืดเพราะเชื่อว่าพญายมราชปล่อยผีเปรตให้มีเวลาอยู่บนโลกมนุษย์เพียง 2 ชั่วโมง จากตี 4 ถึง 6 โมงเช้า และที่ต้องวางเครื่องไทยทานไว้กับพื้นดินนั้นเพื่อให้เปรตรับเอาง่ายๆ โดยไม่ต้องมีพิธีรีตอง เดียวจะกลับไม่ทันเวลา

 พอได้เรียนรู้ประเพณีดี ๆ ของภาคอีสาน อย่างประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้ากันแล้ว เชื่อว่าหลาย คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน คงช่วยกันสานต่อประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้มีโอกาสเรียนรู้ประเพณี และวัฒนธรรมดี ๆ แบบนี้ด้วยเช่นกัน

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2565

วันสงกรานต์

 




วันสงกรานต์


นี่เรียกว่าวันสงกรานต์ วันลดทิฐิมานะเข้าสู่กัน เป็นเพื่อนสนิทสนมกันคือวันเช่นนี้วันสงกรานต์ ไม่ให้มีถือสีถือสากัน อะไรๆ ให้เป็นกันเองไปหมดเลย จึงเรียกว่าวันสงกรานต์ วันให้อิสรภาพความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงเสมอหน้ากันไปหมด ให้พากันจำเอา
ผู้ที่ไม่ไปสงกรานต์กับเขาก็ให้ภาวนา อย่าลืมนะภาวนา ภาวนานี่เป็นสงกรานต์สาดน้ำใส่กิเลส กิเลสมันสกปรกมากในหัวใจของเรา วันนี้เป็นวันสงกรานต์สาดน้ำใส่กิเลสนะ อย่าให้กิเลสสาดมูตรสาดคูถใส่หัวเรา ฉิบหายเลย ถ้ากิเลสได้สาดมูตรสาดคูถ ความขี้เกียจขี้คร้านภาวนา นี่ละไอ้ตัวกิเลสตัวนี้มันมาสาดใส่หัวเรา ให้ระวังให้ดี วันนี้พูดเพียงเท่านี้ละ "
โอวาทธรรม
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
รดน้ำดำหัว
พิธีสำคัญที่มาคู่กับวันสงกรานต์เสมอก็คือ พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หลายคนรู้จักกันดีว่าพิธีนี้คือการนำน้ำหอมๆ มารดใส่ในมือของผู้ใหญ่ที่เราเคารพ แต่เดี๋ยวก่อน…เคยรู้กันไหมว่าจริงๆ แล้วพิธีน่ารักๆ แบบนี้มีความเป็นมาอย่างไร และวิธีการรดน้ำผู้ใหญ่ที่ถูกต้องตามหลัก ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ประเพณีรดนํ้าดําหัว เป็นประเพณีของไทยอันสืบเนื่องมาจากประเพณีวันสงกรานต์ หรือ วันขึ้นปีใหม่ของไทยที่แสดงถึงความเคารพนบนอบต่อผู้ใหญ่หรือผู้ที่เคารพนับถือและผู้มีพระคุณ เพื่อแสดงความกตัญญูพร้อมกับการขอขมาและขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองเนื่องในวันสําคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่หรือวันสงกรานต์ของไทยในเดือนเมษายน “การดําหัว” ก็คือการรดนํ้านั่นเองแต่เป็นคําเมืองทางเหนือการดําหัวเรียกกันเฉพาะการรดนํ้าผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่การงานสูง เช่น พ่อเมือง เป็นต้น เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไป หรือขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ สิ่งที่ต้องนําไปในการรดนํ้าดําหัวก็คือ นํ้าใส่ขันเงินใบใหญ่ ในนํ้าใส่ฝักส้มป่อยโปรยเกสรดอกไม้และเจือนํ้าหอม นํ้าปรุงเล็กน้อยพร้อมด้วยพานข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องสักการะอีกพานหนึ่ง การรดนํ้าดําหัวมักจะไปกันเป็นหมู่ โดยจะถือเครื่องที่จะดําหัวไปด้วย เมื่อขบวนรดนํ้าดําหัวไปถึงบ้าน ท่านเจ้าของบ้านก็จะเชื้อเชิญให้เข้าไปในบ้าน พอถึงเวลารดนํ้าท่านผู้ใหญ่ก็จะสรรหาคําพูดที่ดีที่เป็นมงคลและอวยพรให้กับผู้ที่มารดนํ้าดําหัว ปัจจุบันนี้พิธีรดนํ้าดําหัวในจังหวัดต่างๆ ทางเหนือมักจะจัดเป็นพิธีใหญ่ ในบางแห่งมีขบวนแห่งและมีการฟ้อนรําประกอบ เช่น พิธีรดนํ้าดําหัวในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น
1. ทำไมต้อง 'รดน้ำ' และ 'ดำหัว'
สำหรับความเป็นมาของ พิธีรดน้ำดำหัว นั้น ว่ากันว่า เป็นพิธีโบราณมาจากทางเหนือ โดยคำว่า 'รดน้ำดำหัว' เป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมาและขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ ซึ่งในอดีตนั้นการรดน้ำคือ การอาบน้ำจริงๆ ส่วนการดำหัวก็คือการสระผมให้ผู้ใหญ่นั่นเอง โดยจะใช้น้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูดในการสระผม (คำว่า ดำหัว เป็นภาษาล้านนาดั้งเดิม หมายถึงการสระผม)
รดน้ำดำหัวเพื่อขอพรมงคลจากผู้ใหญ่
ต่อมาพิธีดังกล่าวก็แพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค นอกจากจะทำเพื่อขอขมาผู้ใหญ่แล้ว ยังถือเป็นการชำระสะสางสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตเพื่อต้อนรับสิ่งดีๆ เข้ามาในวันปีใหม่ จวบจนถึงวันนี้การรดน้ำดำหัวกลายเป็นประเพณีที่ดีงามอย่างหนึ่ง ที่ประชาชนชาวไทยปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาในวันสงกรานต์ทุกปี
2. ความหมายที่แฝงอยู่ในพิธี
การรดน้ำดำหัวไม่ได้เป็นเพียงการชำระสิ่งไม่ดีออกไปเท่านั้น แต่ยังมีความหมายดีๆ แฝงอยู่ นั่นคือ เป็นการแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ผู้ใหญ่ หรือผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย และเพื่อขอโทษขออภัยในปีที่ผ่านมา ที่ผู้น้อยอาจจะเคยล่วงเกินผู้ใหญ่ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตาม รวมถึงเป็นการขอพรจากผู้อาวุโสเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองตลอดปีอีกด้วย
3. คุณค่าระหว่างวัย
ข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งของพิธีนี้ก็คือ ช่วยสานความสัมพันธ์ให้กับคนในครอบครัวได้ด้วย เพราะวันสงกรานต์เป็นช่วงเวลาเดียวของปี ที่คนไทยนิยมเดินทางกลับบ้านเกิดไปรวมตัวกัน หรือที่เรียกว่า วันรวมญาติ-วันครอบครัว เพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่ไทยร่วมกัน ปู่ย่าตายายก็จะได้เห็นหน้าหลานๆ ให้ชื่นใจ ส่วนเด็กๆ เองก็จะได้มีโอกาสใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องดีต่อเด็ก เพราะมีข้อมูลทางวิชาการระบุว่า การให้เด็กอยู่ใกล้ชิดกับคนแก่จะช่วยฝึกให้เด็กมีความนอบน้อม และอ่อนโยนขึ้นได้ ซึ่งการรดน้ำดำหัว เด็กๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้เต็มที่ ตั้งแต่การเตรียมดอกไม้ น้ำหอม น้ำปรุง นอกจากนี้ ผู้ปกครองก็สามารถชี้ชวนและอธิบายถึงความหมายดีๆ ของกิจกรรมนี้ให้ลูกเข้าใจมากขึ้นได้ เช่น บอกว่าคุณแม่กำลังรดน้ำคุณตานะ เดี๋ยวคุณตาจะอวยพรให้แม่แข็งแรง อยู่กับลูกไปนานๆ พอคุณแม่รดน้ำเสร็จ ก็ให้ลูกลองรดน้ำดำหัวบ้าง พร้อมกับคอยแนะนำอยู่ใกล้ๆ เมื่อเด็กได้ทำซ้ำๆ ทุกปี ช่วงเวลาแบบนี้จะเป็นสิ่งที่พวกเขารอคอย และรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ
4. วิธีดำหัวฉบับโบราณ / สมัยใหม่
สำหรับวิธีการรดน้ำดำหัว ขอพาไปทำความรู้จักกับวิธีแบบโบราณกันก่อน ซึ่งเป็นพิธีกรรมในแบบของสงกรานต์ล้านนา โดยสามารถทำได้ 3 แบบ คือ
แบบที่หนึ่ง ดำหัวตนเอง : เป็นพิธีเสกน้ำส้มป่อยด้วยคำที่เป็นสิริมงคล เช่น "สัพพทุกขา สัพพภยา สัพพโรคาวินาสันตุ" แล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะ เพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีออกไป
แบบที่สอง ดำหัวผู้น้อย เช่น ภรรยา บุตร หลาน : เป็นพิธีกรรมต่อเนื่องจากแบบแรก คือ ใช้น้ำส้มป่อยลูบศีรษะภรรยา บุตร หลาน หลังจากดำหัวตนเอง หรือการที่ตนเองรับน้ำส้มป่อย (แบบที่สาม) มาลูบศีรษะตนเองเสร็จแล้วสลัดใส่ศีรษะ หรือลูบศีรษะผู้ที่มาดำหัวตนเอง
แบบที่สาม ดำหัวผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา ครู อาจารย์ พระเถระ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น : กรณีนี้อาจไปดำหัวด้วยตนเอง บางครั้งอาจพาญาติพี่น้องไปเป็นกลุ่ม หรือไปเป็นคณะ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือของชุมชน
การดำหัวนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณมณี พยอมยงค์ ผู้เป็นปูชนียบุคคล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวล้านนาได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการดำหัวสมัยโบราณให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงขนบธรรมเนียมประเพณีล้านนาดังนี้ “สำหรับการดำหัวนั้น นิยมเอาน้ำใส่ขัน คือใส่สลุง เอาน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่ เวลาดำหัวเขาจะเอาไปประเคน คือเอาไปมอบให้ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ที่เราจะไปดำหัวนั้น เขาจะเอามือจุ่มลงในสะหลุงที่มีน้ำขมิ้นส้มป่อยอยู่ แล้วก็เอามาลูบหัวตัวเอง 3 ครั้ง จากนั้นก็เอามือจุ่มน้ำส้มป่อย สลัดเข้าใส่ลูกหลานที่มาดำหัวพร้อมกับอวยพรให้อยู่ดีมีสุข ให้อยู่ดีกินดี
***ไม่นิยมเอาน้ำรดมืออย่างของภาคอื่น ซึ่งถือว่าการทำอย่างนั้นเป็นการรดศพมากกว่า***
5. ต้องเตรียมอะไรบ้าง
เตรียมน้ำอบน้ำปรุง หรือน้ำหอม มาผสมในน้ำสะอาด
สิ่งที่ต้องเตรียมไปในการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ได้แก่ น้ำอบไทย น้ำหอม หรือน้ำส้มป่อย เพื่อนำไปผสมกับน้ำที่จะนำไปรดน้ำผู้ใหญ่ ข้อต่อมาคือเตรียมดอกมะลิ ดอกกุหลาบ หรือดอกไม้อื่นๆ ที่ปลูกอยู่ในบ้านก็ได้ ถัดมาต้องเตรียมขันเงินหรือขันทองเหลือง พานข้าวตอก ดอกไม้ และธูปเทียน ข้อสุดท้าย คือ เตรียมผ้าตัดเสื้อ ผ้านุ่ง ผ้าห่มผืนใหม่ หรือของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อมอบให้แก่ผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ไทย

ภาวนาสัญจร เดือนพฤษภาคม 2565 วิสาขบูชา




ภาวนาสัญจร เดือนพฤษภาคม 2565

เดือนหน้าเรามีกำหนดจะจัดภาวนาสัญจรอีกครั้ง ในคืนวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา ถวายพระรัตนตรัย ร่างกำหนดการเช่นเดิม คือพบกันตอนบ่าย ต่อด้วยภาวนา ณ โบราณสถานร้าง ตกเย็น อาบน้ำเปลี่ยนชุด ทำวัตรเย็น เวียนเทียน ต่อด้วย นั่งภาวนา เนสันชิก ตลอดคืน จนเช้าวันใหม่ ทำวัตรเช้าแล้ว เดินทางไปปล่อยปลาปล่อยชีวิตเป็นมหาทาน เสร็จแล้ว ถวายภัตรทั้งวัด ก่อนทานอาหารร่วมกัน และแยกย้ายกลับบ้าน เป็นอันเสร็จภาวนาสัญจร ในวันวิสาข ปีนี้ครับ
ร่างกำหนดการ ปฏิบัติภาวนา ณ โบราณสถาน วัดร้าง
ภาวนาสัญจร-อยุธยา 2565- 💖💖💖 วิสาขบูชา- 💖💖💖
วันที่ .........อาทิตย์ที่ 15-16 พค. -
13.00น. นัดเจอกันที่วัด.....
14.00น. โบราณสถานวัด... นั่งภาวนา
16.30น. วัด...... ร่วมกันจัดเตรียมสถานที่ภาวนา
(พัก-ปานะ-อาบน้ำ/เปลี่ยนชุด)
18.00น. ทำวัตรเย็น
19.00น. เข้าที่ภาวนา
23.00น พักเข้าห้องน้ำ-สนทนาปัญหาภาวนา
00.00น. เข้าที่ภาวนา
04.00น. ทำวัตรเช้า
05.00น. อาบน้ำ เปลี่ยนชุด
06.00น. ไปตลาด ซื้อปลาปล่อยชีวิต -
07.00น. จัดอาหาร ถวายพระสงฆ์ทั้งวัด
✨✨✨
หมายเหตุ
1. รับไม่เกิน 10 ท่าน
2. ต้องเป็นผู้ที่เคยผ่านการอบรม ณ วัชรธรรม
3. ในกรณีที่ไม่ผ่านอบรมมาก่อน ต้องเคยปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ที่มา
สอนที่วัชรธรรมมาก่อนและสามารถดูแลตัวเองได้ตลอดการอบรม
4. ผู้เข้าอบรมต้องถือศีล 8 และปฏิบัติตามระเบียบข้อแนะนำ
ของธรรมบริกรทุกประการ
5. ระเบียบการแต่งกายชุดขาว หรือ เสื้อขาว ผ้าถุงดำ ไม่อนุญาตลวดลาย
ตัวหนังสือ สีสัน หรือบาง รัดรูปและกางเกงขาสั้น –ขาสามส่วน
6. หลัง18.00น. ไม่อนุญาตให้กลับมาที่รถอีกจนกว่าจะเสร็จทำวัตรเช้า
7. ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องมือสื่อสาร-มือถือ-
รวมทั้งการถ่ายภาพตลอดการอบรม
8. ผู้อบรมต้องแจ้งเบอร์โทรฉุกเฉินไว้และ
ผู้มีโรคประจำตัวต้องเตรียมยามาให้พร้อม
9. อุปกรณ์ของใช้ประจำตัวเช่น ยารักษาโรค, เต็นท์ภาวนา( แบบนั่ง-
โปร่งสีขาวเพื่อให้มองเห็นในเต็นท์ได้) ไฟฉาย น้ำดื่ม (ไม่ให้นำ
อาหาร/ปานะไปทาน)ผ้าห่มกันหนาว ฯ กรุณานำไปเอง
10. กรุณารักษาความเงียบสงบและความมืด ไม่ส่งเสียงดัง
ไม่ใช้ไฟฉาย ถ้าไม่จำเป็น
11. กรุณาอยากออกนอกพื้นที่การอบรม อาจเป็นอันตรายได้
12. ติดต่อสมัครที่ ID line : dkf33 💖🙏💖
😊 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการสมัคร 😊
รับทราบกฏ-ระเบียบ และยินดีปฏิบัติตาม ระเบียบ
1. ชื่อ *
2. นามสกุล *
3. อายุ *
4. มีโรคประจำตัวหรือไม่ โปรดแจ้ง *
5. เบอร์ติดต่อ *
6. ID Line
7. อาชีพ *
8. เคยเข้าอบรมปฏิบัติธรรมที่วัชรธรรมมาก่อนหรือไม่ *
เคย
ไม่เคย
9. เคยเข้าอบรมปฏิบัติธรรมที่อื่นหรือไม่ *
ไม่เคย
เคย ผ่านการอบรมที่อื่น (โปรดตอบข้อ 10. ด้วย)
อื่นๆ:
10. เคยปฏิบัติธรรมที่ไหนมาก่อนบ้าง
🙏🙏🙏🙏🙏

รางวัล "คนดีศรีแผ่นดิน ตามรอบธรรมราชา "






กราบขอบพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

สำหรับรางวัล "คนดีศรีแผ่นดิน ตามรอบธรรมราชา " ดำเนินตามรอยเท้าท่าน….ตลอดไป
 

ประวัติ นพ.ปิโยรส ปรียานนท์ RAdm. Dr. Piyoros Preeyanont M.D. Ph.D ชื่อ พล.ร.ต. นพ.ดร. ปิโยรส ปรียานนท์ ร.น . เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2501 บิดา นพ. ปัญญา ปรียานนท์ ร.น. มารดา นางสินทรา ปรียานนท์ (เป็นธิดาของหลวงทรงบุณยแพทย์,.ท.บุญทรง บุณยชาต แพทย์ประจำพระองค์ ในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ) ภรรยา พล.ร.ต. ทันตแพทย์หญิง สพฤดี อุดหนุน ร.น. ทันตแพทย์ประจำกองทันตกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ประธานมูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการ สถานปฏิบัติธรรมวัชรธรรมสถานประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“รอยยิ้มเพื่อพ่อ1” ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 75 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 2" ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80-85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 3" ประธานกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันประเทศไทย รองประธานมูลนิธิจิ้งซือดวงแก้วในพระสังฆราชูปถัมภ์ ประธานมูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก สถานที่ทำงาน ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 504 ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 มูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ 1/2 ซ.กันตะบุตร(เทศบาล23) ถ.สุขุมวิทต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270 โทรศัพท์ / โทรสาร 02-049-7184 ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2506-2516 ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. 2517-2518 มัธยมศึกษาปีที่4-5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2518-2519 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2519-2522 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2519-2524 คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2524-2525 แพทย์ฝึกหัด รพ.ภูมิพล พ.ศ. 2527-2530 ศัลยกรรมตกแต่ง มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว พ.ศ. 2529-2530 ศัลยกรรมศีรษะและคอ สถาบันมะเร็ง ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2530-2531 -ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center N.Y. -M.S.A. Cornell University N.Y. พ.ศ. 2533-2534 รร.เสนาธิการทหารเรือ พ.ศ. 2534-2536 คณะวิศวกรรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว พ.ศ. 2544-2545 วิทยาลัยการทัพเรือ พ.ศ. 2545-2546 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วุฒิการศึกษาและเกียรติที่เคยได้รับ พ.ศ. 2522 วิทยาศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2524 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศีรษะและคอ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงาม ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2531 วุฒิบัตร ศัลยกรรมตกแต่งและแก้ไขความพิการ ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2531 ประกาศนียบัตร ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center., N.Y., M.S.A. Cornell University N.Y. พ.ศ. 2534 ประกาศนียบัตร รร.เสนาธิการทหารเรือ พ.ศ. 2536 ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการแพทย์ (Laser Medicine) มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว พ.ศ. 2541 รับพระราชทานรางวัลมหิดล -บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทยประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2541 รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2541 พ.ศ. 2542 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2542 พ.ศ. 2543 รางวัลนักวิจัยดีเลิศ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกระทรวงกลาโหมประจำปี 2540-43 พ.ศ. 2544 รับพระราชทานรางวัลนักวิจัยดีเด่น Vincent Award ด้านงานวิจัยทางการแพทย์ ประจำปี 2544 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2544 ประกาศนียบัตรนักบริหารรุ่นใหม่ คณะพานิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2545 รางวัลคนดีสังคมไทย ประจำปี 2545 พ.ศ. 2546 รางวัลนักบริหารดีเด่น ประจำปี 2546 พ.ศ. 2546 ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2560 รางวัล "คนดีศรีแผ่นดิน ตามรอบธรรมราชา พ.ศ. 2561 รางวัลแพทย์ต้นแบบ จากแพทยสภา พ.ศ. 2561รางวัลเพชรชมพู สมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2566 รางวัลเชิดชูเกียรติแพทย์จุฬา ต้นแบบแห่งความสำเร็จ
หลักในการทำงาน ทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ในวันนี้และปัจจุบันนี้ด้วยความสุขในใจธรรมนำการบริหาร หลักในการดำเนินชีวิต ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ทาน - การให้เผื่อแผ่และแบ่งปัน ศีล - ระเบียบในการดำเนินชีวิต ภาวนา - ฝึกฝนอบรมจิตใจให้มั่นคง ประวัติดีเด่นในการทำงานที่ถือได้ว่าเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจได้รับพระราชทานรางวัลมหิดล บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตใหม่มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2541ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ได้มีโอกาสทำงานในสิ่งที่ตนรัก ร่วมกับเพื่อนๆ ที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกันและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นที่ปรึกษา รองนายกฯ ,สำนักพุทธฯ และกระทรวงศึกษาธิการหลายสมัย กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ และโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติการก่อตั้งและดำเนินงานมูลนิธิดวงแก้วนาวาเอก ปิโยรส ปรียานนท์ ได้เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงแก้วขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2531 โดยได้เริ่มทำงานออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาผ่าตัดผู้พิการและด้อยโอกาสในชนบทร่วมกับอาจารย์ ศัลยเวทย์ เลขะกุล และอาจารย์สุกิตต์ เอื้อไพบูลย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 โดยเริ่มออกหน่วยแพทย์กับหน่วยแพทย์ของมูลนิธิ หู คอ จมูก ชนบทก่อน ภายหลังเมื่อมีคนไข้มากขึ้น จึงได้แยกหน่วยออกมาปฏิบัติการเอง โดยใช้ชื่อ“ มูลนิธิดวงแก้ว “ ซึ่งหมายถึงสิ่งประเสริฐดีงาม-พระรัตนตรัย วัตถุประสงค์ ของมูลนิธิดวงแก้ว ได้แก่ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้พิการและด้อยโอกาสให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็นเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ 1.เพื่อช่วยเหลือเด็ก ผู้ด้อยโอกาสและทุพพลภาพ 2.เพื่อส่งเสริมงานด้านวิจัยทางการแพทย์ 3.เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาการดำเนินงานโครงการรณรงค์ต่อต้านความพิการในชนบทจากการที่ได้เล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของผู้พิการ และด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะชนบทที่ห่างไกล ซึ่งการเดินทางเข้ามารับการรักษาภายในตัวเมืองเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความยากจน หรือในบางสถานที่โรงพยาบาลในชุมชนก็ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งเครื่องมือที่เหมาะสม ผู้พิการเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา แต่จะหายหรือดีขึ้นได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น น.พ. ปิโยรสและคณะจึงได้ทำการประสานกับโรงพยาบาลในชุมชน,หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีความต้องการความช่วยเหลือ ขอทราบจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษา โดยประสานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนอื่น ๆ เพื่อที่จะจัดวันออกไปทำการรักษาผ่าตัดให้ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่นั้น ๆ เป็นประจำทุก ๆ เดือน เดือนละอย่างน้อย 1 ครั้ง คณะทำงานประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครประมาณ 10 - 15 คน ทำการรักษาผ่าตัดครั้งละ 2 - 3 วัน วันละ 10 - 20 คน โดยทำการผ่าตัดตั้งแต่เช้า จนกระทั่งสิ้นสุดผู้ป่วยคนสุดท้าย ตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบันประมาณปี 2551 ได้ทำการผ่าตัดผป.ปากแหว่งเพดานโหว่ไปแล้วประมาณ 8,000 ราย รวม ผป.ทุกรายของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มูลนิธิดวงแก้ว ประมาณ15000รายได้จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาผ่าตัดในประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินเดีย ภูฐานฯ ได้จัดทีมแพทย์ช่วยเหลือผู้ประสพภัยพิบัติทั้งในและต่างประเทศเช่น พม่า ศรีลังกา ญี่ปุ่น เซอเบียร์ บังกลาเทศ ฟิลลิปปินส์ เนปาล เป็นต้น ในปี2559 ได้เป็นประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่19แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดสร้างวัดไทยรัตนประทีป ณ กรุงบูดาเปสต์ จัดสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ญาณสังวรานุสรณ์ และอาคาร ญาณสังวรานุสรณ์ เพื่อดูแลและฟื้นฟู ผป.สูงอายุและพิการ