ประเพณีวันสารทเดือนสิบ
การทำบุญวันสารทเดือนสิบ หรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า วันชิงเปรตนั้นในเดือนสิบ(กันยายน)
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข
ครั้งแรก วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันรับเปรต
ครั้งที่สองวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต
การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และ รู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น
ขนมเดือนสิบ จัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบ ที่จำเป็นมี 5 อย่าง คือ
1.ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
2.ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
3.ขนมกง ( ขนมไข่ปลา ) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
4.ขนมเจาะรูหรือขนมเจาะหูหรือขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
5. ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
ครั้งแรก วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันรับเปรต
ครั้งที่สองวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่าวันชิเปรตเป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรตชนมาเยี่ยมลูกหลาน ลูกหลานก็ทำบุญต้อนรับครั้งหนึ่งใน วันแรม 15 ค่ำเดือนสิบเรียกว่าวันส่งเปรตเป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
ครั้งที่สองวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบเรียกว่า วันส่งเปรต ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่าวันชิเปรตเป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรตชนมาเยี่ยมลูกหลาน ลูกหลานก็ทำบุญต้อนรับครั้งหนึ่งใน วันแรม 15 ค่ำเดือนสิบเรียกว่าวันส่งเปรตเป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง
1.การตักบาตร
มีลักษณะที่แตกต่างกันไปในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ
การตักบาตรที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่นได้แก่
ตักบาตรขนมกระยาสารท
ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วยมีความเชือที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้
ตักบาตรน้ำผึ้ง
เป็นที่นิยมในบางท้องถิ่นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นชาวไทยมอญ ที่นิยมตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง เนื่องจากมีเรื่องเล่าตามพุทธประวัติว่า "ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ ป่าปาริไลยก์ เพียงพระองค์เดียว แต่มีผู้ถวายอุปัฏฐากเป็นช้างปาริเยยกะ เป็นผู้คอยถวายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และลิงเป็นผู้หาผลไม้มาถวาย วันหนึ่งลิงได้นำน้ำผึ้งมาถวาย การถวายน้ำผึ้งจึงเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา"
2.ฟังธรรมเทศนา
3.ถือศีลภาวนา
4.ปล่อยนกปล่อยปลา
:ฐิตรโส
47คุณ, Baew Preeyanont, Saranya Sartsasi และ คนอื่นๆ อีก 44 คน
ความคิดเห็น 8 รายการ
แชร์ 14 ครั้ง
แชร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น