วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ปากแหว่งและเพดานโหว่
ปากแหว่งและเพดานโหว่ คือร่องโหว่ที่ปากด้านบนและเพดานปาก ซึ่งร่องเนื้ออาจเริ่มจากลิ้นไก่ผ่านไปถึง เพดานอ่อนชั้นใน เพดานแข็ง กระดูกโคนฟัน และปากด้านบนไปจนถึงจมูกด้านหน้า หรืออาจเป็นร่องที่พาดจากริมฝีปากถึง เพดานปากโดยตลอด โดยทั่วไปเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่ จะเป็นมาแต่กำเนิด ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ทางสภาพร่างกายนั้น เด็กจะดูด - ดื่มนม หรือรับประทานอาหารไม่สะดวกมีความยากลำบากในการดื่ม กิน หรือกลิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยทางรายที่เพดานโหว่ จะสำลักอาหารอยู่บ่อย ๆ ทำให้เด็กมีอาการขาดอาหาร เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนในด้านจิตใจ หากเด็กเหล่านั้นอยู่รอดและเติบโตขึ้นมา จะเห็นร่องรอยความผิดปกติชัดเจน พูดจาไม่ชัด ทำให้มีปมด้อย บางคนถึงขนาดไม่ยอมเรียนหนังสือเพราะกลัวถูกเพื่อนล้อเลียน บางรายก็กับเก็บตัวเองอยู่ในบ้านอย่างโดดเดี่ยวไม่ยอมเข้าสังคม สมมติฐานของปากแหว่งและเพดานโหว่ จากการศึกษาจำนวนเด็กที่เกิดมา และอยู่ในพื้นที่ชนบทอันห่างไกล พบว่าอัตราเด็กที่เกิด 1,000 คน จะเป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ประมาณ 1 คน (0.1%) และตามหลักวิจัยทางการแพทย์นั้น ยังไม่มีหนทางที่จะป้องกันสาเหตุต่าง ๆ ของการเกิดโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตามจากสถิติสาเหตุของโรคนี้ อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือปัจจัยต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อม คือ กรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในครอบครัว ที่มีผลทางพันธุกรรมทำให้เกิดลักษณะที่ผิดปกติขึ้นสิ่งแวดล้อม ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มารดาอาจประสบกับอิทธิพลต่าง ๆ ทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบให้เกิดปากแหว่งและเพดานโหว่ อาทิ การขาดหรือได้รับสารอาหารวิตามินที่ผิดปกติไม่ครบถ้วน หรืออาจสืบเนื่องจากพิษของยา หรือสารเคมีบางอย่าง ตลอดจนการติดเชื้อจากไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิดหรืออันตรายที่เกิดจากการฉายรังสีเอกซ์ - เรย์ และถูกกระทบกระเทือนจากภายนอกกับทารกในระหว่างตั้งครรภ์ ฯลฯ วัตถุประสงค์ของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่สำหรับเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่ ไม่มีสาเหตุที่สามารถอธิบายสมมติฐานของการเกิดโรคปากแหว่งและเพดานโหว่ดังนั้นพ่อแม่ของเด็กที่ปากแหว่งเพดานโหว่ จึงมักจะโทษตัวเองเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาไม่มีความกล้าที่จะเผชิญกับความจริงและปล่อยช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาเด็กเหล่านี้ในขณะเยาว์วัยทำให้เวลาถูกยืดออกไป เด็กพิการเหล่านี้หลายคนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและไม่มีโอกาสที่จะเข้ารับการรักษาผ่าตัดในโรงพยาบาลที่มีศัลยแพทย์ที่สามารถผ่าตัดรักษาให้ได้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การด้อยการศึกษา และปัญหาอื่น ๆ ทางสังคมของพวกเขา ยิ่งอาจทำให้พวกเขาลำบากมากขึ้นที่จะมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ปัญหาแทรกซ้อนในเด็กที่ปากแหว่งและเพดานโหว่ เนื่องจากโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ ได้พัฒนาขั้นในระหว่างที่เด็กเป็นทารกอยู่ในครรภ์ แต่พ่อ - แม่ ส่วนมากมักขาดความรู้ ความเอาใจใส่ตลอดจนทุนทรัพย์ในการรักษาจึงปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทราบว่า วันหนึ่งที่พวกเขาเติบโตขึ้นมา ปัญหาต่าง ๆ จะเกิดขึ้นตามมาด้วยทั้งทางสภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับสารอาหารเด็กที่ปากแหว่ง และเพดานโหว่จะมีความยุ่งยากและลำบากในการรับประทานอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และอาจทำให้เกิดโรคขาดสารอาหารได้ในที่สุด ปัญหาระบบทางเดินหายใจการผิดปกติของกระดูกจมูก และเพดานปาก เป็นเหตุให้การหายใจของเด็กทารกติดขัด หรือสำลัก ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้นด้วย ปัญหาการได้ยินการติดเชื้อในระบบทางเดินของโลหิต และน้ำเหลือภายในของช่องรับเสียง อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะและสูญเสียการได้ยิน ปัญหาของข้อต่อขากรรไกรการผิดปกติของเพดานอ่อน และเพดานแข็งอาจเป็นสาเหตุของการขบฟันไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดการสูญเสียการได้ยินและตามมาด้วยความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ปัญหาการเรียงของฟันการเกิดช่องโหว่ การเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติหรือซี่ของฟันที่ขาดหายไปอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจของพ่อแม่ และตัวเด็กด้วย ในการที่จะเก็บตัวอย่างโดดเดี่ยว ไม่กล้าพบปะกับผู้คนในสังคม แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง จุดมุ่งหมายของการรักษาผู้ป่วย 1. ต้องการให้ผู้ป่วยที่มีสภาพของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติได้รับการแก้ไขให้เป็นปกติ หรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด มีสุขภาพกาย และใจแข็งแรง ปราศจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ2. สามารถพูดให้คนทั่วไปเข้าใจได้ชัดเจน ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด3. สามารถใช้อวัยวะในการเคี้ยว การกินอาหาร ให้เป็นปกติมากที่สุด4. ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสพัฒนาร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ลดปมด้อยของตัวเอง และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างมีความสุข การจัดทีมงานในการรักษาดูแลผู้ป่วย จากปัญหาต่าง ๆ ของผู้ป่วย ปากแหว่ง เพดานโหว่ และแนวทางรักษาผู้ป่วย ที่ต้องมีแพทย์บุคลากรทางการแพทย์มากมายหลากหลายเข้ามาร่วมกัน ทำให้ต้องจัดตั้งเป็นทีมงานขึ้น เพื่อจะได้ดูแลผู้ป่วยได้ดีและมีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด ทีมงานเหล่านี้ประกอบด้วย1. ศัลยแพทย์ตกแต่ง2. ทันตแพทย์เด็ก, จัดฟัน, ศัลยกรรมช่องปาก, ใส่ฟัน3. นักฝึกพูด, อรรคบำบัด4. นักสังคมสงเคราะห์5. กุมารแพทย์6. รังสีแพทย์7. แพทย์ หู คอ จมูก และ ฯลฯ ทีมที่จัดตั้งขึ้น จะต้องร่วมกันศึกษาปัญหาอันซับซ้อนของผู้ป่วยแต่ละราย และช่วยจัดการวางแผนการรักษา ตั้งใจช่วยเหลืออย่างเต็มใจ และจริงจัง ที่สำคัญที่สุด คือการต่อเนื่อง โดยปรับแต่งแนวทางการรักษาตามพื้นฐานเศรษฐกิจ ฐานะของพ่อแม่ ลักษณะการผิดปกติของผู้ป่วย และข้อจำกัดในการให้การรักษาดูแลผู้ป่วยต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยในต่างจังหวัด ไม่สามารถเข้ารับการรักษาดูแลได้อย่างต่อเนื่อง เท่ากับผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยสังคมสงเคราะห์มาช่วย หรืออาจจัดวางแผนการรักษาผู้ป่วยชนิดที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสม เป็นต้น โดยการวางแผนการรักษาจะเป็นการวางแผนร่วมกันของทุกคนในทีม เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาจะต้องรับการผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วย อายุ 3 เดือนขึ้นไป น้ำหนักมากกว่า 5.6 กก. ผ่าตัดแก้ไขริมฝีปากครั้งแรกอายุ 12-18 เดือน ผ่าตัดแก้ไขเพดานครั้งแรกอายุ 2-3 ขวบ เริ่มดูแลความสะอาดฟัน-ช่องปากอายุ 3 ขวบ เริ่มฝึกพูด เริ่มผ่าตัดแก้ไขจมูกอายุ 5 ขวบ เริ่มรับการปรึกษาแนะนำกับทันตแพทย์จัดฟัน ก่อนวัยเรียนผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น และความผิดปกติที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น จมูก อีกครั้งผ่าตัดแก้ไขฟัน ผ่าตัดแต่งเติมลิ้นไก่ เพื่อให้การพูดชัดเจนยิ่งขึ้น วัยรุ่นผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่เหลือให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด รวมทั้งผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง หลังจากที่ได้รับการจัดฟันเรียบร้อยแล้ว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
แล้วหายใจทางปากบ่อยจะเปงเพดานโหว่ป่าวคะ
ส่งมาบอกที่ Linly_za555@hotmail.com
ด่วนๆ อยากรุ
แสดงความคิดเห็น