วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่3 สนทนาเกี่ยวกับเซน


สนทนาเกี่ยวกับเซน
by M.NAKA
บทที่ 3
สวัสดีค่ะ
วันนี้ขอเขียนสรุปรวมความเกี่ยวกับ ต้นกำเนิดของเซน ที่มีท่านผู้รู้
บันทึกไว้เนื่องจากผู้เขียน ยังถือได้ว่าเพิ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับ พุทธ
ศาสนาฝ่ายเซน จึงมีความคิดว่า เราควรทำความรู้จักกับความหมาย
ของชื่อ ต้นกำเนิด นิกาย และแนวคิดหลักๆของเซน ก่อนที่จะศึกษา
ในส่วนอื่นๆ จึงได้เริ่มอ่านบทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจริงๆแล้วมี
บทความและหนังสือหลายเล่มที่บันทึกเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเซนไว้
ในโอกาสนี้ ผู้เขียนขออนุญาตหยิบยกเนื้อหาบางตอน จากเพียง 3 
แหล่งที่มา นำมาสรุปความไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาที่สอดคล้อง
กัน เนื่องจากเป็นการบันทึกข้อมูลความจริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์
โดยส่วนตัวของผู้เขียนแล้ว ยิ่งทำความเข้าใจมากขึ้นก็ยิ่งเห็นได้
ชัดเจนขึ้นว่า พุทธศาสนาฝ่ายเซนและพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมีหลัก
ในแนวคิด แนวปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมาก อาจมีส่วนของรายละเอียด
ที่แตกต่างกันบ้าง แต่หัวใจหลักในการปฏิบัติเป็นไปในแนวทาง
เดียวกันที่ผ่านมาเคยคิดว่า เซน เป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่จริงๆแล้วเป็น
สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของเราทุกคน เพียงแต่เราละเลยมองข้าม มอง
ออกไปนอกตัว จนไม่ได้ย้อนกลับมาดูสิ่งที่เกิดขึ้น ภายในจิตใจ ของ
ตนมากกว่า

บทความที่3
เซนป็นพุทธศาสนาที่นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชีย
ตะวันออก(จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี และประเทศอื่นๆ)
ผู้ให้กำเนิดนิกายเซน คือ พระโพธิธรรม
(菩提達磨 bōdhidharma หรือท่านตั๊กม้อ 
ผู้สถาปนา วัดเส้าหลินในจีน) เป็นสังฆปริณายกองค์ที่ 28 ที่สืบสาย
โดยตรงมาจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า(釈迦牟尼仏 Shakamuni 
butsu)ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ ท่านได้
จาริกจากอินเดียไปเมืองจีน และสถาปนานิกายเซนในประเทศจีน 
ประมาณปี ค.ศ. 520
ตุ๊กตาล้มลุกของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ดะรุมะ(達磨)ก็เชื่อกันว่าสืบมาจาก
ท่านตั๊กม้อนี้
คำว่า เซน(Zen 禅) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นซึ่งมาจากภาษาจีนว่า 
ฉาน(Chan 禅) และตรงกับคำภาษาสันสกฤตว่า 

ธฺยาน(Dhyana)(ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี)
แปลว่า เพ่งเพื่อให้จิตเข้าถึงตัวธรรมชาติเดิมของจิต 
หรือ จิตเดิมแท้(Essence of Mind)

ตามคติของนิกายเซน ถือว่าเป็นการถ่ายทอดธรรมะด้วยวิถีแห่ง“จิต
สู่จิต”พุทธภาวะหรือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้นมีอยู่แล้วในคน
ทุกคน เป็นธรรมชาติดั้งเดิมของสรรพสัตว์ สิ่งที่บดบังพุทธภาวะ คือ
อวิชชา ความคิดปรุงแต่งซึ่งก่อให้เกิดตัวตนและความยึดมั่นถือมั่น
จุดหมายแห่งการดำเนินชีวิตแบบเซน คือ การบรรลุซาโตริ(悟り) 
หรือภาวะรู้แจ้ง จิตใจเป็นอิสระจากกระบวนการทางตรรกะ เป็นภาวะ
แห่งอิสรภาพทางจิต เป็นภาวะที่บุคคลสามารถทำลายอวิชชา 
ตัณหา อุปทานแล้วกลับเข้าสู่พุทธภาวะ

เซน ยึดถือหลักปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้า แนวคำสอนหลัก
เหมือนกับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท โดยเฉพาะหลักอริยสัจ 4 และ
อริยมรรคมีองค์ 8 เซนถือว่าสรรพสิ่งล้วนอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ คือ
ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตน
 ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
เซน ยังบ่งออกเป็น 2 นิกายหลัก คือ 
นิกายโซโต(曹洞宗) และ 
นิกายรินไซ(臨済宗)
1. โซโตเซน ผู้ก่อตั้งคือ ท่านโดเก็น แห่งวัดเอเฮจิ จังหวัดฟุกุอิ 
โซโตเซนเป็นนิกายเซนที่มีศาสนิกนับถือเป็นจำนวนมากที่สุดใน
ประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ผลงานของท่านอาจารย์โดเก็น นอกจากงาน
เขียนต่างๆ ก็คือ การนั่งวิปัสสนาซะเซน
2. รินไซเซน ผู้ก่อตั้งคือนักบวชจีนฝ่ายเซน ชื่อ ท่านลินจิ เซนฝ่าย
รินไซ-เน้น โกอัน (ปัญหาที่ยากจะหาคำตอบและเป็นปัญหาที่ไม่มีคำ
ตอบตายตัว ใช้เป็นเครื่องมือทำลายวิธีคิดทางตรรกะ) 
บทกวี(ไฮกุ) การจัดดอกไม้(อิเคบานะ) การชงชา การคัดลายมือ ฯลฯ
ทั้งโซโตเซนและรินไซเซน ต่างให้ความสำคัญกับซะเซน(座禅การ
นั่งสมาธิ) แต่ต่างกันตรงที่ โซโตเซน ถือการปฏิบัติซะเซนเป็นสำคัญ
ที่สุด ส่วนรินไซเซนถือว่าซะเซน เป็นทางเพื่อให้บรรลุถึงการแก้
ปัญหาโกอัน ซะเซนจึงมีความสำคัญรองจากโกอัน

หลัก 5 ประการของเซน มีดังต่อไปนี้
1. ความจริงสูงสุดไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยคำพูด ดังคำที่กล่าว่า 
“เซน คือ การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์ ไม่ต้องอาศัยคำพูดหรือตัว
หนังสือ”ซึ่งตรงกับความคิดหลักของปรัชญาเต๋า

2. การฝึกฝนในทางธรรม คือ การขจัดความคิดเกี่ยวกับตัวตน ออก

3. การทำงานในชีวิตประจำวันด้วยความมีสติเป็นการปฏิบัติธรรมวิธี
หนึ่ง พุทธภาวะอาจพบได้ในทุกเวลาและทุกแห่ง และการรู้แจ้งใน
ความหมายของเซน ก็มิได้หมายถึงการปลีกตัวจากภารกิจทางโลกไป
ออกบวช เซนคือประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติกิจ
ประจำวันอย่างผู้ที่ตื่นอยู่ทุกขณะจิต

4. ผลบั้นปลายไม่มีอะไรใหม่ เป็นเพียงการรู้แจ้งถึงสิ่งที่อยู่ในตัวเรา
มาตลอดเวลาเท่านั้น เมื่อสิ้นอวิชชา มาสู่ภาวะความตื่น พุทธภาวะจะ
ปรากฎขึ้นเอง

5. คำพูด ความคิด คำสอน ลัทธิ ไม่มีความหมาย ตราบใดที่ยังยึด
ติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งได้ สิ่งสำคัญที่สุดมีเพียง 
ประสบการณ์ของความตื่นเท่านั้น

ภาพพระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ(ค.ศ.1877)

ไม่มีความคิดเห็น: