วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

รินไซเซน Rinzai ZEN
● จริต ๖ และอารมณ์กัมมัฏฐานที่เหมาะสมกับจริต
● จริต แปลว่า ความประพฤติ หมายถึงความประพฤติซึ่งติดอยู่ในสันดานของบุคคลโดยทั่วไป จริตทั้ง ๖ อย่างนี้ มีอยู่ในตัวบุคคลทุกคน โดยมีจริตอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๖ อย่างนี้เป็นตัวยืน และมีจริตอย่างอื่นๆผสมอยู่ด้วย เช่น ผู้ที่มีราคจริต มักจะมีสัทธาจริตปนอยู่ด้วย ผู้ที่มีโทสจริตมักมีพุทธิจริตปนอยู่ด้วย ดังนั้น การปฏิบัติจึงควรเลือกอารมณ์ที่เหมาะสมกับจริตที่เป็นเจ้าเรือนเป็นหลัก การปฏิบัตินั้นจึงจะเห็นผลก้าวหน้า
● การบำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานนั้น ทั้งผู้บอกกัมมัฏฐานและผู้ปฏิบัติ จึงควรศึกษาให้รู้จริตขอบุคคลก่อน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อการเลือกอารมณ์อันเหมาะสมกับจริตของผู้ปฏิบัติ จึงจะได้นำเอาจริตและลักษณะของจริตแต่ละอย่างมากล่าวบอกกล่าวกันโดยย่อต่อไป ฯ
_______________________________________________
● ราคจริต ได้แก่บุคคลผู้มีปกติรักสวยรักงาม มีความกำหนัดยินดีในกามคุณ รักใคร่ในความสวยงาม ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีอิริยาบถนุ่มนวลกริยาท่าทางชดช้อย ทำการงานเรียบร้อยไม่รีบร้อน ชอบอาหารที่มีรสหวานหรือกลมกล่อม ได้เห็นสิ่งสวยงามก็เกิดความพอใจ และสนใจอย่างจริงจัง ไม่อยากจะจากไป ปรารถนาอยากได้โดยไม่คิดถึงโทษของสิ่งนั้น แม้จะมีอยู่
• ลักษณะแห่งฅนราคจริตมี ๕ ลักษณะ คือ ๑. โดยอิริยาบท ๒. โดยกิจ ๓. โดยการบริโภค ๔. โดยอาการ มีการดู เป็นต้น ๕. โดยความเป็นไปแห่งธรรม
- โดยอิริยาบถ ฅนราคจริตมีอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน มีอาการน่ารัก นุ่มนวล น่าเลื่อมใส เรียบร้อยดี

- โดยกิจ ฅนราคจริตทำกิจไม่รีบเร่ง ทำความสะอาด เรียบ ราวกับลาดเสื่อ
- โดยการบริโภค ฅนราคจริตชอบของกินที่บรรจงจัด และของหวาน เมื่อบริโภคก็ทำคำข้าวแต่พอดีๆไม่ใหญ่นัก เป็นฅนรู้จักรส บริโภคไม่รีบร้อน ได้ของกินดีนืดหน่อยก็ดีใจ
- โดยอาการ มีการดู เป็นต้น ฅนราคจริตเห็นรูปที่น่ารื่นรมย์ยินดีน่าพอใจสักหน่อย ก็จ้องดูเสียนานๆ เป็นต้น
- โดยความเป็นไปแห่งธรรม ธรรมทั้งหลาย คือ มายา โอ้อวด ถือตัว ความปรารถนาลามก(ชั่วหยาบ) ความมักมาก ความไม่สันโดด ความง่อนแง่น ความโอ่อ่า อย่างนี้เป็นต้น ย่อมมีมากในฅนราคจริต
● ฅนที่มีราคจริตเป็นเจ้าเรือนนี้ อารมณ์กัมมัฏฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภะ การพิจารณาอารมณ์ว่าเป็นของไม่งาม ๑๐ อย่าง กับกายคตาสติ คือการมีสติไปในกาย ๑ เป็นอารมณ์อันสมควรแก่เธอ ส่วนสถานที่บำเพ็ญนั้น ควรเป็นสถานที่ ที่ไม่สะอาดเรียบร้อย และไม่มีความสะดวกสบายทุกอย่างจึงเหมาะ ฯ
_____________________________________________________
● โทสจริต ได้แก่บุคคลผู้มีปกติหงุดหงิดโกรธง่าย มักเป็นผู้ไม่พิถีพิถันเรื่องความสะอาดเรียบร้อยสวยงาม เดินไปไหนมาไหนเร็ว ทำการงานด้วยความรีบร้อนฉับไว ไม่คำนึงถึงความเรียบร้อย ชอบอาหารที่มีรสจัดทุกชนิด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด หรือเผ็ดจัด เป็นต้น เมื่อพบสิ่งที่ไม่ถูกใจนิดหน่อยก็มักจะหงุดหงิด ขาดความยั้งคิดเมื่อมีโทสะ ถ้าไม่ชอบใจสิ่งใดแล้ว ย่อมไม่สนใจ แม้สิ่งนั้นจะมีประโยชน์ก็ตาม
● ลักษณะแห่งฅนโทสจริต มี ๕ ลักษณะ คือ ๑. โดยอิริยาบท ๒. โดยกิจ ๓. โดยการบริโภค ๔. โดยอาการ มีการดู เป็นต้น ๕. โดยความเป็นไปแห่งธรรม
- โดยอิริยาบถ ฅนโทสจริตมีอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน มีอาการไม่น่ารัก มีอาการกระด้าง ไม่น่าเลื่อมใส ไม่เรียบร้อย
- โดยกิจ ฅนโทสจริตทำกิจเร่งร้อน มีเสียงเกรี้ยวกราด ทำความสะอาด แต่ไม่เรียบร้อย
- โดยการบริโภค ฅนโทสจริตชอบของกินที่ง่ายๆ และของเปรี้ยว เป็นต้น
- โดยอาการ มีการดู เป็นต้น ฅนโทสจริตเห็นรูปที่ไม่น่ารื่นรมย์ ไม่น่ายินดีพอใจแม้สักหน่อย ก็อดทนดูอยู่ได้ไม่นาน เป็นต้น
- โดยความเป็นไปแห่งธรรม ธรรมทั้งหลาย คือ ความมักโกรธ ความผูกโกรธไว้ ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมมีโดยมากในฅนโทสจริต
● อารมณ์กัมมัฏฐานของฅนโทสจริต ๘ ประการ คือ วรรณกสิณ ๔ พรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์ที่เหมาะแก่เธอ การเจริญเมตตาพรหมวิหาร ทำใจให้รักใคร่ผู้อื่นไม่มีประมาณ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ เพื่อทำใจให้แน่วแน่ ไม่มีความขุ่นข้องหมองภายใน ส่วนสถานที่บำเพ็ญนั้น ควรเป็นสถายที่สะอาดเรียบร้อย และมีความสะดวกสบายทุกอย่างจึงเหมาะ ฯ
______________________________________________
● โมหจริต ได้แก่บุคคลมีความเขลางมงายเป็นปกติ มักเป็นผู้เหม่อลอย ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ชักช้าอืดอาด ทำการงานก็หยาบไม่ถี่ถ้วน ความชอบใจในรสอาหารก็ไม่แน่นอน มีอย่างไรก็กินอย่างนั้น ไม่พิถีพิถันในเรื่องอาหาร เห็นสิ่งสวยงามหรือไม่สวยงามก็ตาม ไม่ค่อยสนใจนัก ใครว่าอย่างไรก็ว่าตามเขา ไม่เป็นตัวของตัวเอง
• ลักษณะแห่งฅนโมหจริตมี ๕ ลักษณะ คือ ๑. โดยอิริยาบท ๒. โดยกิจ ๓. โดยการบริโภค ๔. โดยอาการ มีการดู เป็นต้น ๕. โดยความเป็นไปแห่งธรรม
- โดยอิริยาบถ ฅนโมหจริต เดินท่าทางเงอะงะ ยืนก็มีอาการส่ายไปมา แม้ในการนั่งก็มีอาการอย่างเดียวกัน นอนก็ปูที่นอนไม่เป็นรูป นอนเก้งก้าง เป็นต้น
- โดยกิจ ฅนโมหจริต ทำงานปัดไปปัดมา ทำไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย และไม่รู้จักแล้วเสร็จ เป็นต้น
- โดยการบริโภค ฅนโมหจริต เป็นฅนชอบของกินที่ไม่แน่นอน
- โดยอาการ มีการดู เป็นต้น ฅนโมหจริต เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า ได้ยินฅนอื่นเขาติก็ติด้วย ได้ยินเขาชมก็ชมด้วย แต่ในส่วนของตนเองเป็นฅนเฉยๆ โดยอญาณุเบกขา คืออุเบกขาโง่
- โดยความเป็นไปแห่งธรรม ธรรมทั้งหลาย คือ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ฟุ้งซ่านและรำคาญใจ ลังเลไม่สามารถตกลงใจได้ ถือความผิด ความดื้อรั้น ดังนี้เป็นต้น ย่อมเป็นไปโดยมากแก่ฅนโมหจริต
● กัมมัฏฐานที่เหมาะกับฅนโมหจริตคือ อนุสสติ ๖ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ การเรียนและถามด้วยการฟังธรรมและสนทนาธรรมตามกาล ด้วยการอยู่กับครูบาอาจารย์ เพื่อหาความรู้ซึ่งจะเป็นเหตุให้หายเขลา และควรเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน พิจารณาลมหายใจเข้าออก เพื่อทำจิตให้แน่วแน่ปราศจากความหลงงมงาย ไม่จำกัดสถานที่ ฯ
___________________________________________________
● สัทธาจริต ได้แก่บุคคลผู้มีปกติเชื่อง่าย ความประพฤติโดยมากเหมือนผู้มีราคจริต ต่างแต่ว่า เป็นผู้ชอบเสียสละ เมื่อมีความเชื่อถือสิ่งใดแล้วก็เชื่ออย่างจริงจัง เช่นเชื่อในพระรัตนตรัย และผู้มีคุณแก่ตนเช่นบิดามารดา เป็นต้น ชอบฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่โอ้อวด
• ลักษณะของฅนมีสัทธาจริต คล้ายกับบุคคลที่มีจริตทั้งสามอย่างในเบื้องต้น ต่างแต่โดยความเป็นไปแห่งธรรม คือธรรมทั้งหลาย ได้แก่ความสละปล่อยเลย ความใคร่จะได้พบพระอริยทั้งหลาย ความใคร่จะฟังพระสัทธรรม มีความชื่นบานในธรรมมาก ไม่มีความโอ้อวด ไม่มีความริษยา เลื่อมใสในฐานะทั้งหลายที่ควรจะเลื่อมใส ดังนี้เป็นต้น นี่คือลักษณะโดยมากของฅนผู้มีสัทธาจริต
• ส่วนอารมณ์ที่เหมาะแก่ผู้มีสัทธาจริต มีเหมือนผู้เป็นโมหจริต กล่าวคือกัมมัฏฐาน ๖ อย่าง คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ เป็นอารมณ์ที่สมควรแก่เธอ ฯ
______________________________________
● พุทธิจริต ได้แก่บุคคลผู้มีปกติใช้ความคิด ความประพฤติต่างๆเหมือนผู้เป็นโทสจริตโดยมาก ต่างแต่ว่าเป็นผู้ว่าง่าย ชอบคบคนดี เฉลียวฉลาดรอบคอบ ไม่เกียจคร้าน ชอบบำเพ็ญความเพียรเพื่อพ้นทุกข์
• ลักษณะแห่งฅนพุทธิจริต พึงทราบตามแนวแห่งบุคคลผู้มีจริตสามอย่างในเบื้องต้นนั้น ต่างแต่โดยความเป็นไปแห่งธรรม คือธรรมทั้งหลาย ได้แก่ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหารการกิน มีสติสัมปชัญญะ มีความเพียรในธรรมของผู้ตื่นอยู่(พุทธะ) มีความสังเวชในสิ่งทั้งหลายอันควรจะสังเวช เมื่อสังเวชแล้วทำความเพียรอย่างแยบคาย ดังนี้เป็นต้น
• อารมณ์กัมมัฏฐานที่เหมาะคือ มรณสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฏฐาน ส่วนสถานที่บำเพ็ญ เหมือนผู้เป็นโทสจริต ฯ
___________________________________________
● วิตกจริต ได้แก่บุคคลผู้มีปกตินึกฟุ้งซ่าน ความประพฤติโดยมากเหมือนฅนมีโมหจริต มีข้อแตกต่างกันคือ ชอบพูดพร่ำเพรื่อ มีความเฉื่อยชาในการประกอบกุศลและคุณงามความดี ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ ทำอะไรไม่จริงจัง คิดฟุ้งซ่านโลเลไปในเรื่องต่างๆ
• ลักษณะแห่งฅนวิตกจริต คล้ายกับจริตของบุคคลทั้งสามอย่างเบื้องต้น ต่างแต่โดยความเป็นไปแห่งธรรม คือธรรมทั้งหลาย ได้แก่พูดมากกว่าทำ ชอบมั่วสุม เบื่อหน่ายในการทำกุศล จับจด จิตใจพลุกพล่าน ดังนี้เป็นต้น
• อารมณ์กัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ผู้เป็นวิตกจริต คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ เป็นอารมณ์ที่สมควรแก่เธอ ฯ
______________________________________
● ส่วนอารมณ์ อรูปฌาน ๔ และภูตกสิณ ๔ เหมาะกับจริตทั้งปวง นั่นหมายความว่าสมาธิอย่างเซนนี้ เข้ากันได้กับทุกจริตที่ว่ามานั่นเอง ฯ

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

ประวัติ นพ.ปิโยรส ปรียานนท์




ชื่อ พล.ร.ต. นพ.ดร. ปิโยรส ปรียานนท์ ร.น .
 เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2501 
บิดา นพ. ปัญญา ปรียานนท์ ร.น.        มารดา นางสินทรา ปรียานนท์ (เป็นธิดาของหลวงทรงบุณยแพทย์, น.ท.บุญทรง บุณยชาต แพทย์ประจำพระองค์ ในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ) 
ภรรยา พล.ร.ต. ทันตแพทย์หญิง สพฤดี อุดหนุน ร.น. ทันตแพทย์ประจำกองทันตกรรม
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ 
ประธานมูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ประธานกรรมการ สถานปฏิบัติธรรมวัชรธรรมสถานประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรอยยิ้มเพื่อพ่อ1”
ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 75 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 2"
ประธานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 80,85 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"รอยยิ้มเพื่อพ่อ 3"
ประธานกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันประเทศไทย
รองประธานมูลนิธิจิ้งซือดวงแก้วในพระสังฆราชูปถัมภ์
ประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก

สถานที่ทำงาน
*ศูนย์วิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
 504 ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน   บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 
*มูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์ เลขที่ 1/2 ซ.กันตะบุตร(เทศบาล23) ถ.สุขุมวิทต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270โทรศัพท์ / โทรสาร 02-753-9603

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2506-2516 ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล 
พ.ศ. 2517-2518 มัธยมศึกษาปีที่4-5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
พ.ศ. 2518-2519 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2519-2522 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2519-2524 คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2524-2525 แพทย์ฝึกหัด รพ.ภูมิพล
พ.ศ. 2527-2530 ศัลยกรรมตกแต่ง มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว
พ.ศ. 2529-2530 ศัลยกรรมศีรษะและคอ สถาบันมะเร็ง ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2530-2531 ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center N.Y.
พ.ศ. 2533-2534 รร.เสนาธิการทหารเรือ
พ.ศ. 2534-2536 คณะวิศวกรรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว 
พ.ศ. 2544-2545 วิทยาลัยการทัพเรือ
พ.ศ. 2545-2546 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วุฒิการศึกษาและเกียรติคุณที่เคยได้รับ
พ.ศ. 2522 วิทยาศาสตร์บัณฑิต
พ.ศ. 2524 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศีรษะและคอ ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2530 ประกาศนียบัตรศัลยกรรมตกแต่งเสริมความงาม ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2531 วุฒิบัตร ศัลยกรรมตกแต่งและแก้ไขความพิการ ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2531 ประกาศนียบัตร ศัลยกรรมตกแต่ง Mt.Sinai Medical Center., N.Y.
พ.ศ. 2534 ประกาศนียบัตร รร.เสนาธิการทหารเรือ
พ.ศ. 2536 ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการแพทย์ (Laser Medicine) มหาวิทยาลัยโชวะ กรุงโตเกียว
พ.ศ. 2541 รับพระราชทานรางวัลมหิดล -บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทยประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
.ศ. 2541 รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี ประจำปี 2541
พ.ศ. 2542 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2542
พ.ศ. 2543 รางวัลนักวิจัยดีเลิศ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกระทรวงกลาโหมประจำปี 2540-43
พ.ศ. 2544   รับพระราชทานรางวัลนักวิจัยดีเด่น Vincent Award ด้านงานวิจัยทางการแพทย์ ประจำป2544 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 
พ.ศ. 2544 ประกาศนียบัตรนักบริหารรุ่นใหม่ คณะพานิชยศาสตร์การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2545 รางวัลคนดีสังคมไทย ประจำปี 2545
พ.ศ. 2546 รางวัลนักบริหารดีเด่น ประจำปี 2546
พ.ศ. 2546 ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2560      รางวัล "คนดีศรีแผ่นดิน ตามรอบธรรมราชา "
พ.ศ. 2561  รางวัลแพทย์ต้นแบบจากแพทยสภา
พ.ศ. 2561  รางวัลเพชรชมพู สมาคมนิสิตศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หลักในการทำงาน 
ทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ในวันนี้และปัจจุบันนี้ด้วยความสุขในใจ
ธรรมนำการบริหาร

หลักในการดำเนินชีวิต
ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา 
ทาน - การให้เผื่อแผ่และแบ่งปัน
ศีล - ระเบียบในการดำเนินชีวิต
ภาวนา - ฝึกฝนอบรมจิตใจให้มั่นคง


ประวัติดีเด่นในการทำงานที่ถือได้ว่าเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจได้รับพระราชทานรางวัลมหิดล ี-บราวน์ เพื่อการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ประจำปี 2541 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในงานพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตใหม่มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2541ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน ได้มีโอกาสทำงานในสิ่งที่ตนรัก ร่วมกับเพื่อนๆ ที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกันและป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้เป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาฯ รองนายกฯ และที่ปรึกษาสำนักพุทธฯอยู่หลายสมัย
กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ และโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติการก่อตั้งและดำเนินงานมูลนิธิดวงแก้วนาวาเอก ปิโยรส ปรียานนท์ ได้เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงแก้วขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2531 โดยได้เริ่มทำงานออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาผ่าตัดผู้พิการและด้อยโอกาสในชนบทร่วมกับอาจารย์ ศัลยเวทย์ เลขะกุล และอาจารย์สุกิตต์ เอื้อไพบูลย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 โดยเริ่มออกหน่วยแพทย์กับหน่วยแพทย์ของมูลนิธิ หู คอ จมูก ชนบทก่อน ภายหลังเมื่อมีคนไข้มากขึ้น จึงได้แยกหน่วยออกมาปฏิบัติการเอง โดยใช้ชื่อมูลนิธิดวงแก้ว วัตถุประสงค์ ของมูลนิธิดวงแก้ว ได้แก่ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้พิการและด้อยโอกาสให้อยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น โดยแบ่งเป็นเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ

1.เพื่อช่วยเหลือเด็ก ผู้ด้อยโอกาสและทุพพลภาพ2.เพื่อส่งเสริมงานด้านวิจัยทางการแพทย3.เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาการดำเนินงานโครงการรณรงค์ต่อต้านความพิการในชนบทจากการที่ได้เล็งเห็นถึงความทุกข์ยากของผู้พิการและด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะชนบทที่ห่างไกล ซึ่งการเดินทางเข้ามารับการรักษาภายในตัวเมืองเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความยากจน หรือในบางสถานที่โรงพยาบาลในชุมชนก็ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งเครื่องมือที่เหมาะสม ผู้พิการเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา แต่จะหายหรือดีขึ้นได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น น.พ. ปิโยรสและคณะจึงได้ทำการประสานกับโรงพยาบาลในชุมชน,หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่มีความต้องการความช่วยเหลือ ขอทราบจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษา โดยประสานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนอื่น ๆ เพื่อที่จะจัดวันออกไปทำการรักษาผ่าตัดให้ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่นั้น ๆ เป็นประจำทุก ๆ เดือน เดือนละอย่างน้อย 1 ครั้ง คณะทำงานประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครประมาณ 10 - 15 คน ทำการรักษาผ่าตัดครั้งละ 2 - 3 วัน วันละ 10 - 20 คน โดยทำการผ่าตัดตั้งแต่เช้า จนกระทั่งสิ้นสุดผู้ป่วยคนสุดท้าย ตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบันประมาณปี 2551 ได้ทำการผ่าตัดผป.ปากแหว่งเพดานโหว่ไปแล้วประมาณ 8,000 ราย รวม ผป.ทุกรายของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มูลนิธิดวงแก้ว ประมาณ15000รายได้จัดทีมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาผ่าตัดในประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า อินเดีย ภูฐานฯ ได้จัดทีมแพทย์ช่วยเหลือผู้ประสพภัยพิบัติทั้งในและต่างประเทศเช่น พม่า ศรีลังกา ญี่ปุ่น  เซอเบียร์ บังกลาเทศ  ฟิลลิปปินส์ เนปาล เป็นต้น  ในปี2559 ได้เป็นประธานโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก องค์ที่19แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดสร้างวัดไทยรัตนประทีป ณ กรุงบูดาเปสต์ จัดสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ญาณสังวรานุสรณ์ และอาคาร ญาณสังวรานุสรณ์ เพื่อดูแลและฟื้นฟู ผป.สูงอายุและพิการ



วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

ZEN พระพุทธศาสนา ในแบบเซน


Zen

เซน เป็นพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่มีรูปแบบการประพฤติปกิบัติคล้ายคลึงกับสายวัดป่ากรรมฐานบ้านเรามาก มีการถือศีล นั่งสมาธิ ภาวนา มีการใช้ปัญญาพิจารณาข้อ อรรถ-ธรรม พิจารณาในอุปาทานและขันธ์ทั้งห้า ว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา ไม่ได้เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ทุกการกระทำมีการเจริญ สติ และปัญญา อันเป็นองค์ประกอบหลักในการเข้าถึงพระธรรม “สุญญตา ความว่าง” ความเป็นอิสระจากความทุกข์ทั้งมวล เป็นสภาวะที่นักบวชเซน มุ่งที่จะไปถึง
คณาจารย์เซนที่สำคัญๆ ตามที่ปรากฏในหนังสือ “สูตรเว่ยหล่าง” ซี่งเป็นสังฆนายกองค์ที่ 6 ได้พูดถึงเว่ยหล่าง ท่านเว่ยหล่างจะสอนเน้นเรื่องจิตหนึ่งหรือจิตเดิมแท้ สอนว่าจิตเดิมแท้บริสุทธิ์ คำว่าบริสุทธิ์ ถ้าทางฝ่ายเถรวาทเราถือว่าเป็นจิตอรหันต์ ครูบาอาจารย์ให้ข้อคิดว่าถ้าจิตบริสุทธิ์หมายถึงบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส ถ้าบริสุทธิ์จากกิเลสแล้วจะมาเกิดได้อย่างไร ถ้าว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสหรือประภัสสร ก็หมายถึงจิตที่ยังไม่ถูกกิเลสจรมาครอบงำ คือจิตที่ยังถูกกิเลสจรมาครอบงำได้ยังไม่อิสระแท้จากกิเลส
เว่ยหล่าง สอนว่าจิตเดิมแท้บริสุทธิ์ให้พยายามทำจิตให้อิสระจากการปรุงแต่ง จะประสบความสำเร็จทุกอย่าง แสดงว่าจิตยังถูกปรุงแต่งอยู่ จิตปรุงแต่งได้จิตก็ยังเป็นกองสังขารมีทั้งธรรมและกิเลสกองอยู่ จะทำอย่างไรจะปฏิบัติอย่างไร จิตจะเป็ฯอิสระจากการปรุงแต่ง จิตปรุงแต่งคือนึกคิดวิ่งรับอารมภ์ต่างๆถูกนิวรณ์ทั้งหลายครอบงำได้ อันเป็นอุปสรรคของสมาธิ ที่ว่าจิตมีสมาธิแล้วก็ตามจิตก็ยังถูกอนุสัยกิเลสส่วนละเอียดส่วนลึกปรุงแต่งจิตอยู่อีก ต้องใช้ปัญญา ปัญญาญาณซักฟอกด้วยภาวนามยปัญญาตามลำดับขั้น จนกว่าจิตจะบริสุทธิ์หมดจดแท้จริงได้ เซนจะหมายถึงส่วนนี้ด้วยหรือไม่ ต่างก็สมมุติว่ากันไปไม่เหมือนกัน
คณาจารย์เซนตามที่ปรากฏ ฝ่ายใต้ท่าน เว่ยหล่าง ได้ฉายา “สำนักบรรลุฉับพลัน” หรือประเภท ขิปปาภิญญา ถือเป็นผู้เข้าถึงธรรม ได้รับบาตร จีวร สืบต่อจากสังฆนายกองค์ที่ 5 ส่วนเซนฝ่ายเหนือโดยท่าน ชินเชา ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์กันได้ฉายาว่า “สำนักเชื่องช้า” ฟังดูตามประวัติเป็นศิษย์เก่าแก่ของท่านสังฆนายกองค์ที่ 5แต่ยังไม่ได้บรรลุธรรม ต่างตั้งสำนักสอนกันคนละแห่ง ซึ่งต่างดำเนินการสอนคณะศิษย์ให้ปฏิบัติตามหลักของ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ให้ความหมายไปคนละแนว เข้าใจไปคนละอย่าง ไม่เหมือนกัน ชินเชา ให้ความหมายว่า ศีลสอนให้ละชั่ว สมาธิสอนให้ทำใจให้บริสุทธิ์ ปัญญาสอนให้ทำดี ส่วนเว่ยหล่าง สอนให้บำเพ็ญปัญญาคู่กันไปกับสมาธิ เพราะศีล สมาธิ และปัญญา ได้รับแรงกระตุ้นมาจากจิต ดังนี้คือ
1- การทำจิตให้อิสระจากมลทินทั้งปวง คือ ศีล เป็ฯภาวะแท้แห่งจิต
2- การทำจิตให้อิสระจากความกระวนกระวายทั้งหลายคือ สมาธิอันเป็นภาวะที่แท้แห่งจิต
3- สิ่งที่ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั่นแหละคือ วัชระ หรือปรัชญา หรือปัญญา หมายถึงภาวะแท้แห่งจิต
ส่วนการมาและการไปเป็นสมาธิในขั้นต่างๆ การมาการไปหมายถึงอะไร คงหมายถึงสมาธิในขั้นต่างๆสอนให้ศิษย์อย่าทำจิตให้สงบนิ่งเฉย คงหมายถึงจิตพร้อมตั้งมั่น สติ สมาธิ ปัญญา พร้อมต่อการงาน ทั้งนอกทั้งในก็เข้ากับธรรมะป่าเรา สอนไม่ให้ทำจิตให้ว่างเปล่าจากสติ สมาธิ ปัญญา สรุปคำสอนของเว่ยหล่าง คือทำจิตให้ปราศจากมลทินชื่อว่าศีล ทำจิตให้ปราศจากความกระวนกระวายชื่อว่า สมาธิ ทำจิตให้ฉลาดรอบรู้ชื่อว่าปัญญา คือภาวะแท้แห่งจิต
ส่วนคณาจารย์ที่สำคัญอีกรูปหนึ่งคือ ท่านฮวงโป ซึ่งเป็นต้นสายเซนที่เผยแผ่ไปสู่ประเทศ ญี่ปุ่น ท่านจะสอนหนักไปทางความว่าง “สุญญตา” สอนให้หยุดการปรุงแต่งแห่งจิต ไม่ใช่การเพ่งให้เกิดฌาน หรือไม่ใช่ใช้ปัญญาให้เกิดญาณ แต่ให้เกิดความว่าง ว่างแบบมีอยู่ตลอดกาลนิรันดร์ เป็นสุญญตาของพระพุทธองค์
สรุปได้ว่า พุทธแบบเซน เป็นแนวการสอนอย่างท้าทาย เพราะสอนเน้นมาที่จิตทุกระยะ ชวนให้ติดตามเฝ้าดูจิต ชวนให้ฟังเป็นเหตุสะกิด-จิตใจได้ดี เกื้อกูลต่อการงานภาวนาหนุนมาจำเพาะที่ใจ ใคร่ครวญมาที่ใจ ตามรู้เห็นความเป็นอยู่ของใจ ให้ความสำคัญมาที่งานของใจ พูดถึงแต่จิตหนึ่ง พูดถึงแต่จิตคือพุทธะ พูดถึงแต่ความว่างของจิต หรือจิตเดิมแท้ จิตปรุงแต่งไม่ใช่จิตแท้ มันเป็นมายาของจิต จิตหมดการปรุงแต่ง จิตเข้าถึงพุทธะ เข้าถึงจิต เข้าถึงความว่าง คือ ว่างจากตัวเอง การใช้พุทธะแสวงหาพุทธะ การใช้จิตแสวงหาจิตก็ดี ย่อมไม่มีโอกาสประสบพบเห็นได้ เพียงแต่หยุดคิดหยุดการปรุงแต่ง ก็จะพบจิตพบพุทธะ หรือพบความว่าง แต่ ! การจะหยุดการปรุงแต่งแห่งจิต การหมดการปรุงแต่งจิตจะหยุดได้อย่างไร จะหมดได้อย่างไร? เพราะ จิตเป็นสภาวะธรรมที่ต้องนึกคิด ฝ่ายเถรวาทเราให้เอากิเลสออกจากจิต เพราะกิเลสเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เป็นโทษจากจิต เพราะฉะนั้น การประพฤติ การปฏิบัติ การดำเนินให้เป็นไปตามมรรค เพื่อถอดถอนกิเลสตัณหาอาสวะออกจากจิต ตามแนวทางฝ่ายเถรวาทที่ครูบาอาจารย์ปลูกฝังมาเป็นทางดำเนินเพื่อสงบระงับการปรุงแต่งแห่งจิตได้อย่างแท้จริง โดยไม่เหินห่างการปฏิบัติจิตของตัวเอง การติดตามผูกพันกับบุญต่างๆ ไม่มีโอกาสได้ประสบพบเห็นจิตพุทธะนี้ได้เลย เป็นแต่เพียงสร้างบารมีไปไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

คำตอบของความสุข หมอปิโยรส ปรียานนท์

คำตอบของความสุข  หมอปิโยรส ปรียานนท์


วีระศักร  จันทร์ส่งแสง : สัมภาษณ์และเรียบเรียง


            นาวาเอก นพ. ดร. ปิโยรส ปรียานนท์  เป็นหมอประจำอยู่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า  เมื่อแรกคุยทาบทามเพื่อขอสัมภาษณ์ คุณหมอบอกว่าชีวิตเขาออกจะเรียบๆ ไม่มีอะไรน่าสนใจ  แต่เมื่อขอให้คุณหมอลองเล่าเรื่องราวแต่หนหลังก็กลับพบว่า มีความไม่ธรรมดาอยู่มากมาย
            ไล่มาแต่ชีวิตวัยเด็ก ที่เขาได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนามาแต่เล็ก จากการที่คุณพ่อพามาฝากไว้กับพระในตอนเย็นๆ ของทุกวัน
            “ตั้งแต่ได้รับการสอนจากครูบาอาจารย์ ทำให้เรามีคำถามว่า เราเกิดมาทำไม  ตอนราว ๘ ขวบ แม้ยังเด็กก็จริง แต่เหมือนมีความคิดอะไรบางอย่าง ในขณะที่เด็กบางคนขาด  แต่ผมมี  ขณะที่ทุกคนต้องดิ้นรนเพื่อจะสอบให้ได้  ผมไม่อ่านผมก็สอบได้ ทำให้ผมมีเวลาเหลือเฟือที่จะไปทำอะไร  แต่ผมมีคำถามว่า ผมเกิดมาทำไม
            เขาเป็นเด็กเรียนเก่ง และดูเหมือนมีพละกำลังอย่างเหลือเฟือที่จะทำอะไรได้มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ
            “ตอนราว ๑๐ ขวบ ไปสวนโมกข์ได้รู้จักงานท่านพุทธทาส ก็อ่านมาตั้งแต่ตอนนั้น  ตอนเรียนที่โรงเรียนเซลคาเบรียล หนังสือห้องสมุด ๒ พันกว่าเล่ม ผมอ่านหมด ภายใน ๑ ปี  ตอนบ่ายผมจะเล่นกีฬา  เล่นเทนนิส พอมาเรียนเตรียมอุดมก็เล่นกีฬาเทนนิส ติดทีมชาติตั้งแต่ มศ. -๓  จากนั้นผมสอบเทียบไปเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้ทำอะไรหลายอย่าง  ระหว่างเรียนหนังสือผมเป็นประธานและรองประธาน ๑๔ ชมรม  เรียนได้ปริญญาทั้งหมด ๑๒ ใบ ปริญญาเอกจบวิศวะ  ได้เกรดครั้งสุดท้ายเอ็มบีเอที่จุฬาฯ ๓.๙๘ ทำให้ไม่อยากเรียนต่อ เพราะเกรดผมตกต่ำลง ผมรู้สึกว่าขาดความมั่นใจในชีวิต
            นั่นป็นจุดเปลี่ยนหนึ่ง แต่ไม่ใช่จุดสำคัญ  หมอหนุ่มเล่าว่าความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของชีวิต เกิดขึ้นเมื่อแม่ป่วย
            “ปี ๒๕๓๔  แม่ผมเป็นมะเร็ง ตอนนั้นผมมีรายได้เดือนละ ๗-๘ แสนบาท และกำลังจะตั้งโรงพยาบาลเอกชน ทำบริษัทของตัวเอง  พอคุณแม่เป็นมะเร็งทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด  จากเดิมที่ทุกคนที่ไม่สบายวิ่งมาหาเรา  แต่แม่เราเองเราไม่กล้ารักษา  ก็พาแม่ไปให้อาจารย์ผ่าตัด  แต่ผ่าไม่หมด ก็กระจาย ฉายแสงและให้คีโม แม่ทรมานมาก  ผมจึงลาไปบวชให้แม่ แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไป  จากที่อ่านหนังสือธรรมะแล้วเข้าใจ ตีความโล่งไปหมด  แต่พอมาบวชพบว่าศาสนาในหนังสือไม่เหมือนศาสนาที่ปฏิบัติ  และไม่รู้แม่ได้อานิสงส์จากตรงนั้นหรือเปล่า แต่แม่ดีขึ้น  แต่ผมได้อานิสงส์แน่ ผมเปลี่ยนไปเลย เลิกไม่คิดอยากทำโรงพยาบาลเอกชน เอาเวลามาดูแลแม่ เงินทองมาทำมูลนิธิ
            มูลนิธิของหมอปิโยรสชื่อ มูลนิธิดวงแก้ว เขาบอกว่าได้ชื่อมาจากพระรัตนตรัย ในความหมายว่าเป็นดวงธรรม  โดยมีเขาเป็นประธานมูลนิธิ และเป็นคนออกเงินทุน  หลายปีของการดำเนินกิจกรรม มูลนิธิดวงแก้วติดลบ ๒๐ ล้านบาท แต่ผลที่เกิดขึ้นก็นับว่าคุ้มค่า
            “เราออกหน่วยไปผ่าตัดคนไข้ปากแหว่งเพดานโหว่ตามชนบทเดือนละ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๓ วัน”  ประธานมูลนิธิดวงแก้ว พูดถึงกิจกรรมแรกของมูลนิธิ
            “ผ่าตัดได้ครั้งละ ๔๐-๕๐ คน ทำมา ๒๐ ปี ทั้งหมดก็ราว ๘,๕๐๐ รายแล้ว
เราทำให้คนไข้เหมือนญาติ เหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  เราไม่ได้แค่ให้เขาพูดชัด รูปร่างสวยงาม แต่ให้เขาเป็นคนดีของสังคม  ผ่าตัดแก้ไขให้ ปากแหว่งเพดานโหว่ต้องติดต่อกันยาว ต้องฝึกพูดต่อ เจอหน้ากันจนเป็นเหมือนญาติ ตั้งเป็นชมรมเล็กๆ ให้เขาได้รู้จักกัน  ผ่าตัดเรียบร้อยแล้วไม่มีเงินจะเรียนหนังสือ เราก็ให้ทุนเรียนต่อ
            มีรายหนึ่งยังจำได้ดี ตอนผ่าตัดเขามารอเราอยู่ที่โรงพยาบาลฝาง ๒-๓ วันล่วงหน้าก่อนเราไปถึง ก่อนนั้นเขาไม่ยอมไปเรียนหนังสือเพราะอายเพื่อน  ตอนทำเราฉีดยาชา ถามเขาว่าเจ็บไหม เขาส่ายหน้าตลอด แต่ความจริงการผ่าตัดคงเจ็บ  ตอนหลังผมกลับไปเจออีกทีเขามารอเราอยู่ แผลดี เขาเป็นชาวเขาพูดไม่ชัด แต่คงท่องมาอย่างดี  บอกว่า ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ที่ช่วยหนู ต่อไปนี้หนูไม่อายใครแล้ว หนูจะไปเรียนแล้วค่ะ  มันมีความสุขมากที่เราได้ทำให้เขาเป็นคนใหม่  และบางทีเราช่วยด้านร่างกายอย่างเดียวไม่พอ เราก็ไปฝึกอาชีพ จากนั้นก็ดึงเข้ามาหาเรื่องธรรมะด้วย  คือดูแลทั้งร่างกาย  อาชีพ  ศาสนา
            กิจกรรมสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของมูลนิธิดวงแก้ว คือการจัดอบรมปฏิบัติธรรมเดือนละ ๒ ครั้ง โดยมุ่งที่จะเอาธรรมะไปช่วยดับทุกข์ในใจคน
            “เรื่องการมุ่งทำเพื่อส่วนรวม ผมได้แนวคิดมาจากพุทธศาสนา ที่มุ่งให้เราอยู่อย่างพอเพียงสำหรับตัวเอง และสิ่งที่ล้นออกไปคือความอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเห็นคนรอบข้างชัดเจนขึ้น  เห็นว่าเขาทุกข์เพราะอะไร  ทุกข์จากการไขว่คว้าหาความสุขจากวัตถุ สิ่งเหล่านั้นทำให้ทุกข์  สิ่งที่เราทำได้คือชี้แนะเขาว่าความทุกข์มันเป็นเช่นนี้ การติดอยู่กับเงินทองชื่อเสียงทำให้ให้คุณไม่มีความสุข  ถ้าหลุดออกมาได้จะมีความสุข  เราให้ธรรมะ ให้การอบรมปฏิบัติธรรม หวังเอาธรรมะไปดับไฟร้อนในใจ
            ทำงานเพื่อคนอื่นมานานร่วม ๒๐ ปี เมื่อหันกลับมามองตัวเอง หมอหนุ่มพบว่า  เราต้องมีความสุขในงาน  ถ้าเรามุ่งหวังยศถาบรรดาศักดิ์ ชื่อเสียง เงินทอง เราก็จะทุกข์กับมัน  และไม่ใช่ว่าต้องรอให้มีเงินจึงจะช่วยคนอื่น  ความสุขที่เราให้ไป ก็คือความสุขที่เราได้รับ เป็นสิ่งเดียวกัน  สิ่งต่างๆ ที่เราไปยึดถือ ไม่ว่าทรัพย์สินเงินทองชื่อเสียง ล้วนแต่ไม่ยั่งยืน  แต่การให้เราคิดถึงเมื่อไรก็เป็นสุขเมื่อนั้น  เราได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ในสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น เท่านี้ก็เป็นความสุขแล้ว ไม่ต้องยึดติดกับอะไร
            ส่วนคำถามที่ค้างคามาแต่วัยเยาว์ ที่ว่าคนเราเกิดมาทำไม นายแพทย์ของคนยากไร้บอกว่าเหมือนเขาจะได้คำตอบมาหลายครั้ง
            “มีคำตอบมาหลายอย่างช่วงวันของชีวิต  ช่วงเด็กๆ ก็ว่าเกิดมาเพื่อทำสิ่งที่เราอยากทำ และไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ทำความเดือดร้อนให้ตัวเอง  หรือว่าถ้าจำเป็นต้องทำ เราก็จะไม่เสียใจกับสิ่งที่เราทำไป  โตขึ้นมาหน่อยก็คิดว่าเกิดมาต้องทำความดี  พออ่านท่านพุทธทาส อ่านหนังสือมากขึ้นก็เริ่มเปลี่ยน  เริ่มคิดว่า เกิดมาควรได้รู้จักธรรมะ ก็กลับมานั่งสมาธิ เริ่มคิดอะไรมากขึ้น เริ่มหันเข้าหาครูบาอาจารย์  จิตสงบมากขึ้นก็ทำอะไรได้มากขึ้น  ตอนนั้นเห็นเลยว่าจิตกับกายมันแยกกัน  สุขที่เราได้ตรงนี้ก็พบว่าสุขมันเริ่มที่ใจ ผมก็รู้สึกว่านี่แหละเป็นความสุขที่แท้จริงที่มนุษย์ควรจะได้ ก็เริ่มคิดที่จะให้สิ่งนี้กับคนอื่น ก็เริ่มสร้างสถานปฏิบัติธรรม เราอยากให้สิ่งที่เราได้ ให้ความสุขอย่างนี้กับคนอื่นบ้าง
            จนถึงวันนี้หมอวัยกลางคนมีคำตอบของชีวิตว่า

            “ทุกวันนี้ ผมมีคำตอบอยู่ในใจ แต่ไม่แน่ใจว่านี่คือที่สุดของคำตอบหรือยัง  ก่อนนี้ก็ว่าเกิดมาทำสิ่งที่อยากทำ  เกิดมาทำความดี  เกิดมาปฏิบัติธรรม  วันนี้ผมคิดว่าผมเกิดมาเพื่อพัฒนาจิตดวงนี้ให้หลุดพ้นจากสิ่งที่ครอบงำอยู่

เปิดเลนส์ส่องโลก-นพ.ปิโยรส



จากรายการเปิดเลนส์ส่องโลก และคุณนิติภูมิ
ได้กล่าวถึงคุณหมอปิโยรส ปรียานนท์

อยากให้แพทย์และว่าที่แพทย์ทุกคนได้อ่านครับ

เรื่องของนายแพทย์ปิโยรส
ผู้อ่านท่านที่เคารพ ในชีวิตของคนเรานี่นะครับ บางครั้งก็อดไม่ได้
ที่จะแอบศรัทธาและภูมิใจในการกระทำของคนอื่น ผมเองก็ชื่นชมศรัทธาผู้คนอยู่หลายท่านหนึ่งในนั้นก็คือ นายแพทย์ ปิโยรส ปรียานนท์ เจอคุณหมอครั้งแรกเมื่อผมไปสอนที่ วิทยาลัยการทัพเรือซึ่ง ตอนโน้นคุณหมอเป็นนายทหารนักเรียนอยู่

หลังจากนั้นคุณหมอซึ่งเป็น ประธานมูลนิธิดวงแก้วก็ชวนผมไปหลายประเทศเพื่อนำทีมหมอไทยไปช่วยผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ผมได้แต่ส่งลูกน้องไป
ไม่เคยร่วมเดินทางกับคุณหมอและทีมงานมูลนิธิดวงแก้วซักที
เมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มเอเชียและแอฟริกา
คุณหมอและทีมงานมูลนิธิขนเครื่องใช้และอุปกรณ์การแพทย์
เดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบพบเคราะห์กรรมอย่างเงียบๆ
แต่ละวันทีมงานของคุณหมอทำแผลให้คนไข้จนถึงตีห้า คลื่นยักษ์สึนามิเกิดในวันที่ 26 คุณหมอลงไปช่วยจนวันที่ 30 ธันวาคม ก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าคุณแม่ป่วยหนัก จึงต้องขึ้นกรุงเทพฯเพื่อมารักษาคุณแม่คุณแม่หายดีแล้ว คุณหมอก็ลงไปช่วยเพื่อนมนุษย์อีก สถานการณ์
ในเมืองไทยได้รับการช่วยเหลือจาก ผู้คนในประเทศดีกว่าชาติอื่น
คุณหมอก็จึงเตรียมข้าวของมากถึง 5 ตัน นำบินตรงลงไปยังประเทศศรีลังกา

ผมเจอคุณหมอโดยบังเอิญบนเครื่องบิน และยังได้พบกันอีกครั้งในขณะที่คุณหมอและ ทีมงานปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบพบเคราะห์กรรมอยู่ที่ตำบลกัลมุไนคูดี ซึ่งที่นี่เป็นเขตอิทธิพลของพยัคฆ์ทมิฬอีแลม พวกกบฏแบ่งแยกดินแดน

คุณหมอและทีมงานบรรจุยากันจนถึงตีสองตีสาม กลางวันก็ตระเวนไปตาม คามนิคมต่างๆ ทุกท่านใส่เสื้อที่มีธงชาติไทยติดไว้ที่หน้าอก ไปทางไหนผมได้ยินแต่ผู้คนส่งเสียงชื่นชมไทยแลนด์ด็อกเตอร์ๆๆๆ มีแต่ไทยด็อกเตอร์เท่านั้นที่ไปได้ถึงผู้คนในชนบท
บางครั้งทีมของคุณหมอก็เจออุปสรรคในการทำงานเพราะทหารศรีลังกาต้องการสิ่งของบริจาคไปเก็บไว้ (ใช้เอง?) ในค่ายทหาร

นายแพทย์ปิโยรสเป็นหมอที่มีความรู้ดีมากท่านหนึ่ง จบแพทย์จุฬาฯ แล้วก็ไปต่อด้านศัลยกรรม ที่ญี่ปุ่นอีก 5 ปี และเรียนอีกหลายที่ครับ เช่น ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โชวะแห่งญี่ปุ่น
เรียนปริญญาเอกทางพันธุวิศวกรรมการแพทย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ไปศึกษาเน้นด้านศีรษะและ คอที่ศูนย์มะเร็งแห่งชาติชิบะ จากนั้นได้ทุนไปต่อที่ศูนย์การแพทย์เมาท์ไซนายที่นิวยอร์ก
พันธุวิศวกรรมการแพทย์ ที่เอ็มไอที และยังทำวิจัยต่อที่มหาวิทยาลัยลอนดอนของอังกฤษ ฯลฯคุณสมบัติชั้นยอดและมันสมองชั้นเยี่ยมอย่างคุณหมอปิโยรสนี่ มีแต่สถาบันการแพทย์ดังๆของโลกอยากได้ตัว ในวัย 46 ปี ขณะนี้คุณหมอมีโอกาสทำเงินได้มาก  แต่คุณหมอกลับทำตัวเรียบง่าย ในสมองสนใจแต่ว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ได้อย่างไรแต่เพียงเท่านั้น ช่วยโดยไม่สนใจว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาไหน และที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่อยากเป็นข่าว ไม่ต้องการประชาสัมพันธ์ ปรารถนาที่จะมีชีวิตเรียบๆเงียบๆ แต่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากสึนามิของทางการศรีลังกาคือ 30,721 คน แต่คุณหมอและผมเชื่อว่าในความเป็นจริงมีมากกว่านั้นเยอะ เพราะบางที่มีการฝังโดยไม่มีการนับจำนวนและไม่ได้แจ้งทางราชการ ในการเดินทางไปศรีลังกาครั้งนี้ผมยังบังเอิญได้พบกับทีมขององค์การอนามัยโลก ที่ส่วนใหญ่ขับรถยนต์ไปตรวจตราแล้วก็(อาจจะ) เขียนรายงาน โดยไม่ได้ลงไปช่วยเหลือชาวบ้านจริงๆอย่างทีมมูลนิธิดวงแก้ว

คนเราดวงจะเจอกันครับ ผมเจอคุณหมอปิโยรสโดยบังเอิญอีกครั้ง
ขณะที่กำลังนั่งรอเครื่องบินที่กรุงโคลัมโบ คุณหมอต้องรีบบินกลับเมืองไทยเพราะมีโทรศัพท์แจ้งว่าอาการของคุณแม่เข้าขั้นวิกฤติ
เราถึงเมืองไทยในเวลาเที่ยงของอังคารวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 คุณหมอรีบตรงดิ่งไปยังโรงพยาบาล ได้กราบเท้าคุณแม่ซึ่งกำลังป่วยหนัก พอได้พบหน้าลูกชาย คุณสินทรา ปรียานนท์ ก็จากโลกนี้ไปเมื่อเวลา 17.00 นาฬิกาศพคุณแม่ของคุณหมอปิโยรสตั้งอยู่ ณ ศาลา 7 วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ

คุณแม่สินทราจากโลกนี้ไปแล้ว
โดยทิ้งลูกชายไว้ช่วยมนุษยชาติ.

จุดเริ่มแห่งการศึกษาเซน 33ปีก่อน





Soji-ji is about a 7-minute walk from JR Tsurumi station on the Keihin Tohoku Line. It's quite unusual for such a big temple to be so close to the city. (For example, the previously mentioned Eihei-ji is situated deep in the mountains, hours from any big town.) The Soji-ji temple grounds holds twelve large buildings and a cemetery, totaling almost 50,000 square meters. When you walk up the slope from the street and then come in through the gate (三門Sanmon), you've already stepped into a Zen world. You are free to walk around these beautiful grounds and explore. There are benches, and temple buildings spread out over the area. However, if you would like to experience looking around inside a temple building, then follow the directions below.
After coming in the first gate (a stone entrance way from the street) and walking straight up the drive for a few minutes, you will eventually come to building No. 2 on this map, the beautiful wooden gate mentioned above. Turn right here. Your goal is building No. 4: Kou-shaku-dai (香積台). There are shoe lockers and a reception room here. If you come in late March or early April, cherry trees in full bloom will welcome you. This temple doesn't charge an entrance fee if you just want to look around by yourself. So, please feel free to go into the building. It contains beautiful, dark wooden corridors, large tatami rooms, access to a Japanese style garden, and so on. I'm sure you will admire the monks and their lifestyle in the temple. And I am sure that you know not to disrupt things, by making noise, speaking loudly, touching treasures or statues, or taking pictures of the monk's faces. Those things are considered to be rude and inconsiderate.
Although you are free to look around at your own pace, you might understand and feel the Zen mind more, if you join a tour given by the monks (400 yen; by appointment only). The guide priest will lead you and explain about the temple and its daily life. At present, 140 monks and 20 mentors are living at this monastery. After they have their morning meditation, sutra chanting and prostrations begin at Daisodo (大祖堂) at 5 o'clock. Then at 6:30, they have a really simple breakfast, consisting of one cup of rice gruel, only a little bit of sesame, and pickles. They offer a chant and prayer, and then eat with appreciation, followed by a proclamation of a series of Zen rules. After that, at about 7:30, they clean the monastery, gardens, and everywhere else with full devotion. Please take a look at the long corridor called Hyak-ken-rou-ka (百間廊下). It is 152m long and symbolizes the border between a holy place and the regular world. Monks have cleaned the corridor floors 2 times a day, 365 days a year, since the temple was built. Please touch the floor. You will see it is well polished. They never use wax and cleanser, but it is completely clean and bright!
At the end of your stay, I strongly recommend that you see the Stove God near the waiting room of Kou-shaku-dai. The God is a 180cm high wooden statue and it is the biggest wooden God in Japan. There is a kitchen under the God. Monks chant to the God every morning. This wooden God is a symbol of wealth, and they believe that if you pray sincerely to this God, you will forever be safe from starvation.
I think you will have many chances to visit temples in Kyoto, Nara and other places in Japan. But Soji-ji is special. In spite of a serious and severe Zen life, the monks always open their doors to everyone.

ที่Soji เป็นที่หลบภัยในอารมภ์ของเด็กเล็กๆคนหนึ่งสมัยไปเรียนที่ญี่ปุ่นเมื่อ33ปีก่อน คล้ายๆกับที่สนส.บางกะม่าที่เป็นที่หลบภัยเวลาใจไม่ยอมหยุด.. วันนั้นมีเรื่องต่างๆมากมาย สำหรับเด็กคนนั้น ภาษาก็ไม่รู้เรื่อง ความภาคภูมิใจต่างๆที่เคยมีในเมืองไทยแทบใช้ไม่ได้เลย ตัวคนเดียว ทุกอย่างต้องเริ่มต้น นร.ทุนรัฐบาลไทยได้เงิน85000เยนต่อเดือน แต่ค่าเช่าบ้านก็80000เยนแล้ว ต้องไปล้างจาน อยู่ปั้มนำ้มันเป็นปีเพราะไม่เคยขอเงินใคร ต้องหาเอง เรียนก็ต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นทั้งๆที่ตอนแรกProf.บอกว่าใช้อังกฤษได้ จำวันแรกได้ดี รับผป.5คน เพื่อนๆเขียนประวัติในห้านาทีเราเขียนตั้งแต่5โมงเย็นจนห้าทุ่ม กลับไปนอนน้ำตาไหลอยากกลับบ้านมากๆ ตอนสมัครบอกว่าให้เข้าเรียนเป็นแพทย์ประจำบ้านพลาสติกได้เลย พอมาจริงๆต้องสอบศัลยกรรมทั่วไปและดมยาอีก ข้อสอบในการสอบแต่ละครั้งProfใก็ให้ตกลงว่าจะสอบทั้งภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น ให้เอาคะแนนมาหารสองจึงเป็นคะแนนสอบของเรา .......นี่คือจุดเริ่มต้นที่ต้องมาพึ่งวัดนี้ เราไปบ่อยมาจนเขาให้นั่งเองปิดห้องไว้เฉยๆให้เรานั่งคนเดียวครั้งหนึ่งๆบางที่สองสามชม. พระท่านก็พยายามมาคุยด้วยแต่ก็สื่อสารกันไม่ค่อยได้แต่รับรู้ในความเมตตาของท่านจริงๆ....น้ำตาคลอเลย

 ซาเซน...
● ในการปฏิบัติซาเซน ต้องมีห้องที่เงียบ ปราศจากสิ่งรบกวน ควรกินและดื่มให้พอดี ละทิ้งความสัมพันธ์อันเป็นความลวงทิ้งเสียทั้งหมด ปล่อยวางทุกสิ่งไว้เบื้องหลัง ไม่คิดถึงทั้งความดีและความชั่ว ความถูกต้องและความผิดพลาดทั้งปวง เช่นนี้จึงจะเกิดการหยุด
กระแสแห่งหน้าที่อันหลากหลายของจิต ละทิ้งความคิดที่ต้องการบรรลุความเป็นพุทธะ การปฏิบัติเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สำหรับรับใช้กับซาเซนเท่านั้น แต่สำหรับทุกขณะในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันทั้งหมดด้วย

● ปูอาสนะบนพื้นที่ต้องการนั่ง และมีเบาะกลมวางรองไว้ด้านบน สามารถนั่งได้ทั้งแบบขัดสมาธิเต็มหรือครึ่ง วิธีที่สืบทอดกันมาแต่ก่อน เริ่มด้วยการยกเท้าขวาวางบนหน้าตักซ้าย แล้วยกเท้าซ้ายทับบนหน้าตักขวา จีวรหรือเสื้อผ้า ควรสวมไว้หลวมๆแต่เรียบร้อย จากนั้นวางมือซ้ายบนกึ่งกลางหน้าตัก แล้ววางมือขวาทับมือซ้าย ปลายนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างสัมผัสชนกันเบาๆ นั่งตัวตั้งตรงไม่เอียงไปทางซ้ายหรือทางขวา ข้างหน้าหรือข้างหลัง หูทั้งสองควรอยู่ในระนาบเดียวกับไหล่ และจมูกต้องอยู่ในแนวเดียวกับสะดือ

● ลิ้นควรแตะอยู่บนเพดานของปาก ปากและริมฝีปากปิดสนิท หรี่ตาลงเพ่งที่ปลายจมูก หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆ สามรอบเพื่อล้างปอดอย่างเงียบๆผ่านรูจมูก สุดท้าย ขยับร่างกายและจิตเข้าสู่วิถีทางนี้ หายใจลึกๆ เอนกายไปทางซ้ายและทางขวา จากนั้นนั่งนิ่งไม่เคลื่อนไหวดังก้อนหิน ไม่คิดถึงสิ่งใด จะทำสิ่งนี้ได้อย่างไร ด้วยการอยู่เหนือทั้งการคิดและไม่คิด นี่คือรากฐานที่แท้จริงของซาเซน ฯ

[ 座禅 ]
ที่มา : ดวงตาแห่งสัจธรรม
มูลนิธิดวงแก้วฯลฯ

Sojiji Temple
Sojiji Temple is the second head temple of the Soto school of Zen Buddhism and is one of the biggest and most famous Buddhist temples in Japan.
Originally, Sojiji was a Shingon Buddhist temple and was built in 740. In 1321 the temple was renamed Sojiji by the great patriarch Keizan (Taiso Josai Daishi) who improved it greatly with the help of Emperor Go-Daigo.
The temple was located in Noto Province (today the northern part of Ishikawa Prefecture) but in 1898, a fire destroyed almost every buildings of Soji-ji, so it was rebuilt in Kanagawa prefecture in Yokohama city, closer to the capital Tokyo.
In 2007, an earthquake considerably damaged the temple, and some of its building are still undergoing repairs.
There are more than a dozen significant buildings inside the compound of this spacious (around 67,000 square meters) important temple, which still today attracts many worshippers and monks-in-training.Like many temples in Japan, buildings at Sojiji are connected by long covered corridors.
One of the main attraction of Sojiji is the Butsu-den or Main Buddha’s Hall, located in the heart of the temple compound. The Sanmon or Inner Gate and the Koshakudai, the priests living quarters are also a must see.
Dosho Saikawa Roshi, the Head of the international department at Sojiji Temple is responsible for laymen's Zen meditation training in the temple. Saikawa Roshi, who speaks excellent English, opens Sojiji temple’s dojo (training hall) on Sundays to foreign living in Japan and to everyone interested in learning about Zen.
Travel information
Adress: 1-1, Tsurumi 2-chome, Tsurumi-ku, Yokohama, Kanagawa
Phone: +81(0)45-581-6021
Fax: +81(0)45-571-8221
Language(s): English/Japanese
Website: -
Access:
1) 17 minutes from Shinagawa Station to Tsurumi Station on the JR Keihin Tohoku Line.
2) 10 minutes from Yokohama Station to Tsurumi Station on the JR Keihin Tohoku Line.
3) 20 minutes from Shinagawa Station to Tsurumi Station on the Keihin Kyuko Line.
4) 5-7 minutes walk from the West Exit of Tsurumi Station.

http://www.sojiji.jp/

วัดโชฟุกุจิซึ่งเป็นวัดเซนที่โยโกฮาม่า

บทที่ 4
วันนี้ตั้งใจไว้ตั้งแต่เช้าว่าจะไปนั่งสมาธิที่วัดโชฟุกุจิซึ่งเป็นวัดเซนที่โยโกฮาม่า
วัดแห่งนี้เปิดให้นั่งสมาธิสำหรับบุคคลทั่วไป ทุกวันเสาร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน (ยกเว้นเดือน กรกฎาคมและสิงหาคม ที่จะมีแค่เดือนละ 1 ครั้ง) เวลา 14:00-15:00
จากที่พักเดินทางไปถึงวัดโดยรถไฟ เมื่อถึงสถานี นากามะจิได ซึ่งเป็นสถานีของวัด ต้องเดินต่อไปอีกประมาณ 15 นาที รวมเวลาเดินทางจากบ้านถึงวัด เกือบๆ 2 ชั่วโมง
วันนี้ไปวัดนี้เป็นครั้งแรก ตอนไปถึงสถานี นากามะจิไดแล้ว ก็หาทางไปวัดไม่ถูก เดินหลงไปมา กว่าจะถึงตัววัดก็ประมาณ บ่ายสองโมงกว่าๆแล้ว เลยเวลาที่เค้าเริ่มนั่งสมาธิกัน
ในใจคิดว่า วันนี้ไม่ได้นั่งสมาธิที่วัดไม่เป็นไร ถือว่ามาทำความรู้จักกับสถานที่ มาเป็นผู้สังเกตการณ์ก่อนก็ได้ว่าเค้านั่งสมาธิแบบเซนกันอย่างไร
พอมาถึงหน้าห้องที่เค้านั่งสมาธิ โต๊ะที่รับสมัครยังเปิดรับและยังมีเจ้าหน้าที่อยู่ จึงเดินเข้าไปสอบถาม(เบาๆ)ว่า "พอดีหลงทางเลยมาไม่ทันค่ะ คงเข้าไม่ได้แล้วใช่ไหมคะ" เจ้าหน้าที่ถามเราว่ามาจากไหน มาครั้งแรกใช่ไหม เลยตอบไปว่า มาจากโตเกียวค่ะ ใช่ค่ะ ครั้งแรก
เจ้าหน้าที่ผู้ใจดี เลยเรียกเราให้เข้ามานั่งสมาธิในห้องที่มีคนนั่งอยู่ราวสิบกว่าคน แจกเบาะที่นั่งให้ และบอกกำกับเล็กน้อยว่า ให้นั่งลืมตา มองลงที่เสื่อทาทามิห่างจากตัวไปราว 1 เมตร มือขวาทับมือซ้าย แล้วส่งเบาะให้เรา พร้อมบอกให้ไปนั่งกลางห้อง(คนอื่นนั่งรอบๆห้องหันหน้าเข้ากำแพง) เราก็รับเบาะมานั่งกลางห้อง หันหน้าเข้ารูปวาด ที่เป็นรูปพระพุทธเจ้า ซ้ายขวาเป็นรูปท่านโดเก็นและท่านเคนซัน อาจารย์เซน นิกายโซโตเซน หน้ารูปมีธูป 1 ดอก จุดไว้ กลิ่นธูปญี่ปุ่น หอมแบบนิ่งๆขรึมๆ
บรรยากาศชวนนั่งสมาธิได้นิ่งดี มีพระผู้คุมเดินถือไม้เดินจงกรมไปรอบๆห้อง และบางครั้งมีเสียงที่ท่านตีลงบนใหล่ของผู้ที่ขาดสติ สมาธิระหว่างการนั่งสมาธิ เสียงตีที่ไหล่ดังพอควร เป็นระยะ
พอหมดเวลาการนั่งสมาธิ เสียงระฆังจะดังขึ้น เสียงระฆังดังกังวาล 2 ครั้งเป็นสัญญาณว่าจบพิธี พระท่านมาบอกในห้องว่า ให้โยกตัวซ้ายขวาเพื่อเป็นการผ่อนคลาย ค่อยๆคลายท่านั่งและเดินออกจากห้องมาที่ห้องโถง ท่านกล่าวให้โอวาทนิดหน่อยแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน
ประสบการณ์นี้เป็นประสบการณ์ครั้งแรกในการนั่งสมาธิแบบเซน และคิดว่าจะมีครั้งต่อๆไปอีก คงต้องเตรียมตัวเผื่อเวลาไปให้มากกว่านี้ จะได้เริ่มการนั่งสมาธิได้พร้อมๆกับคนอื่น จะนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟังกันอีกนะคะ ตอนนี้ก็ซ้อมนั่งสมาธิที่บ้าน และมีสติระหว่างวันให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้...