เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis) เป็นการอักเสบบริเวณเอ็นร้อยหวายที่เป็นเอ็นเชื่อมต่อจากกล้ามเนื้อน่องไปจนถึงกระดูกส้นเท้า โดยมักเกิดจากการเล่นกีฬาหรือการใช้งานเอ็นร้อยหวายอย่างหนักซ้ำ ๆ เช่น วิ่ง หรือกระโดด เป็นต้น โดยเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่เล่นกีฬา หากอาการไม่รุนแรงก็สามารถรักษาได้เองที่บ้าน หรือบางกรณีก็อาจต้องไปพบแพทย์
อาการทั่วไปของเอ็นร้อนหวายอักเสบที่พบได้บ่อย
คือ
1.
ปวดและบวมบริเวณเหนือส้นเท้า ในขณะเดิน
เล่นกีฬา หรือเมื่อยืดข้อเท้า
2.
มีอาการปวดอย่างรุนแรงหลังออกกำลังกาย
3.
มีอาการบวมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
และหากทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น
4.
รู้สึกแน่นบริเวณกล้ามเนื้อน่อง
5.
เมื่องอเท้าจะรู้สึกเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้
6.
รู้สึกอุ่นบริเวณส้นเท้า
7. หากผู้ป่วยมีอาการดังข้างต้นอย่างเรื้อรังหรือรุนแรง
ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้ก็อาจทำให้เส้นเอ็นฉีกและมีอาการแย่ลงได้
สาเหตุของเอ็นร้อยหวายอักเสบ
1.
เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากการทำกิจกรรมซ้ำ
ๆ หรือใช้งานเอ็นร้อยหวายมากเกินไปจนทำให้เกิดอาการตึงและบาดเจ็บ
โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุ ดังนี้
2.
การออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
เป็นปัจจัยที่พบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ เช่น
3.
เคลื่อนไหวร่างกายอย่างฉับพลัน
หรือขาดการยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมก่อนออกกำลังกาย
4.
เล่นกีฬาชนิดที่ต้องหยุดเคลื่อนไหวหรือหมุนอย่างกะทันหัน
เช่น เทนนิส บาสเกตบอล เป็นต้น
5.
ออกกำลังกายในท่าเดิมซ้ำ ๆ
หรือเคลื่อนไหวร่างกายจนทำให้กล้ามเนื้อน่องหรือเส้นเอ็นตึงเกินไป
6.
สาเหตุอื่น ๆ
·
สวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม
ไม่พอดีกับเท้า
·
สวมรองเท้าส้นสูงเป็นประจำ
หรือสวมติดต่อกันเป็นเวลานาน
·
มีอายุเพิ่มมากขึ้น
เพราะอาจทำให้เอ็นร้อยหวายเสื่อมลงไปตามกาลเวลา
·
มีภาวะเท้าแบน
ซึ่งส่งผลให้การรับน้ำหนักของเท้าผิดปกติ เนื่องจากความโค้งของอุ้งเท้ามีน้อยหรือไม่มีเลย
และอาจทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นตึงเมื่อเคลื่อนไหว
·
มีหินปูนเกาะอยู่หลังส้นเท้า
·
รับประทานยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน
หรือยากลูโคคอร์ติคอยด์
การวินิจฉัยเอ็นร้อยหวายอักเสบ
แพทย์จะสอบถามผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการปวดบวมบริเวณส้นเท้าหรือน่อง
โดยมีการทดสอบ เช่น ให้ผู้ป่วยลองยืนบนลูกบอล
ให้งอเข่าบนเก้าอี้โดยให้ปลายเท้าพ้นจากขอบเก้าอี้
หรือนอนคว่ำบนเตียงตรวจร่วมกับเหยียดขา จากนั้นแพทย์จะบีบบริเวณกล้ามเนื้อน่อง
หากมีอาการเอ็นร้อยหวายฉีกขาด ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับเท้าได้ เป็นต้น
ซึ่งการวินิจฉัยดังกล่าวสามารถประเมินการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของเท้าหรือข้อเท้าของผู้ป่วยได้
ทั้งนี้
แพทย์อาจใช้วิธีอื่นเพื่อช่วยตรวจวินิจฉัยร่วมด้วย เช่น
การเอกซเรย์ (X-Ray) ช่วยให้เห็นภาพเท้าและกระดูกขา
แต่ไม่สามารถมองเห็นเนื้อเยื่ออ่อนได้
การสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ
(MRI Scan) เป็นการใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เพื่อตรวจดูความผิดปกติของเอ็นร้อยหวาย โดยช่วยให้แพทย์เห็นภาพการฉีกขาด
การเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ และรายละเอียดของเส้นเอ็นมากขึ้น
อัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นเสียงตรวจเพื่อแสดงภาพเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกาย
โดยทำให้เห็นการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น ความเสียหาย และการอักเสบที่อาจเกิดขึ้น
อีกทั้งยังช่วยให้แพทย์ประเมินการไหลเวียนของเลือดได้
การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ
การรักษาอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบนั้นมีหลายวิธี
โดยทั่วไปผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยตนเองที่บ้าน
แต่หากอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
การรักษาเบื้องต้น ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยและเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง
อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการปฏิบัติตามหลัก RICE เพื่อช่วยลดอาการปวดบวมในเบื้องต้น
ดังนี้
1. Rest คือ
การพัก โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดแรงต่อเส้นเอ็น
และไม่ควรกดบริเวณนั้นจนกว่าอาการจะดีขึ้น
หากผู้ป่วยสามารถลดแรงตึงตัวของเส้นเอ็นได้ จะทำให้อาการหายดีอย่างรวดเร็ว
2. Ice คือ การใช้น้ำแข็งประคบ
อาจใช้ถุงน้ำแข็งประคบบริเวณเส้นเอ็นที่อักเสบประมาณ 15-20 นาที
โดยน้ำแข็งจะทำให้อาการบาดเจ็บและอาการบวมดีขึ้น
3. Compression
คือ การรัดด้วยผ้าพันแผล
โดยรัดบริเวณเส้นเอ็นเพื่อลดอาการบวมและการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบริเวณนั้น
แต่ไม่ควรรัดผ้าพันแผลแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
4. Elevation
คือ การยกเท้าเหนือบริเวณหน้าอก
โดยอาจนอนราบบนพื้นแล้วนำหมอนมาหนุนเท้า
ซึ่งจะสามารถทำให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจและลดอาการบวมได้
อย่างไรก็ตาม หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีอื่น ๆ ในการรักษาร่วมด้วย ดังนี้
1. การรักษาด้วยยา
หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหลังจากการกินยา เช่น ยาไอบูโปรเฟน
หรือยาในกลุ่มเอ็นเซด (NSAID) เป็นต้น แพทย์อาจให้ยาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อช่วยลดอาการปวดและการบาดเจ็บ
2. การทำกายภาพบำบัด
เป็นวิธีบำบัดรักษาด้วยใช้การออกกำลังกายหรือใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ
เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นร้อยหวายที่อักเสบ เช่น
การออกกำลังกายแบบเอกเซนตริก (Eccentric) ซึ่งเป็นการออกกำลังกายเกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ
อย่างการเกร็งขณะผ่อนแรงยกน้ำหนักจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นถูกยืดออก
หรือการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยเสริมการทำหน้าที่ของเส้นเอ็น
อย่างการใส่อุปกรณ์ในรองเท้าหรือบริเวณส้นเท้า เป็นต้น
3. การผ่าตัด
เมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น
หรือเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นฉีกขาด
แพทย์อาจต้องผ่าตัดเพื่อรักษาเอ็นร้อยหวายบริเวณดังกล่าว
ภาวะแทรกซ้อนจากเอ็นร้อยหวายอักเสบ
เอ็นร้อยหวายอักเสบอาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการเดิน
การออกกำลังกาย เส้นเอ็นและกระดูกข้อเท้าอาจใช้งานไม่ได้
หรือหากมีอาการรุนแรงอย่างเอ็นร้อยหวายฉีกขาด
ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ
หลังการผ่าตัดเอ็นร้อยหวายด้วย เช่น ภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ
หรือภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน เป็นต้น
การป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ
อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบอาจยังไม่มีการป้องกันที่แน่ชัด
แต่อาจลดความเสี่ยงได้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้
1. ยืดเหยียดร่างกายในตอนเช้าทุกวัน
เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวาย โดยอาจทำก่อนหรือหลังออกกำลังกายก็ได้ และควรอบอุ่นร่างกายหรือยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายเสมอไม่หักโหมออกกำลังกายอย่างหนักเกินไป
หรือหากมีอาการปวดระหว่างที่ออกกำลังกายก็ควรหยุดพัก
2. ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อส่วนน่อง
เพื่อเพิ่มความเเข็งแรง ลดความตึงเครียดของเอ็นร้อยหวาย และช่วยให้สามารถออกกำลังกายได้ดีขึ้น
3. เล่นกีฬาหลาย
ๆ ชนิดสลับกันไป เพื่อลดความตึงเครียดและแรงกระทบบริเวณเส้นเอ็น
4. เลือกรองเท้าให้เหมาะสมและรองรับอุ้งเท้าได้ดี
ส่วนผู้ที่ใส่ส้นสูงอาจค่อย ๆ ลดระดับความสูงของส้นทีละน้อย
และไม่ควรใช้รองเท้าคู่เดิมนานเกินไป
แพทย์ให้พักรักษาตัวควรพักเต็มที่นะครับ
อย่างฝืด
อย่าแอบไปฉีดยา
เพราะเวลาขาด ต้องผ่าตัดซ่อม ต้องAugmentation(เอาเอ็นข้างๆมาเสริม)
จะดูหนา แล้วต้องใส่เฝือกเหยียบขาเดินลำบาก ต้องมาปรับเฝือกทุก2สัปดาห์
รวมเวลาสามเดือนจึงจะเดินได้
+พักรอเวลาซ่อม 6-12Weeks
+อาหารที่จำเป็นในการซ่อม collagen
โปรตีน(อาจจะcollagen supplyment ถ้ามีเงิน)
Vitamin K (K2 ได้ยิ่งดี)
Vitaminอื่น เช้น B6 B2 VitC
+นวด ใช้น้ำมันหรือครีมอะไรก็ได้ น้ำมันมะพร้าวทำให้ fibroblast
เรียงตัวดีที่สุด
+oxygenation อากาศบริสุทธิ์ หรือ การหายใจลึกอยู่เสมอ
ช่วยเปลี่ยน fibrous tissue เป็น fiber tendon
+ยืดเส้น แรงดึง เกิดประจุบวก ทำให้เป็นfiber tissue
-ห้ามฉีด steroid ทำให้ tendon ที่เหลืออยู่ขาดหมด
ไม่ควรกิน steroid จะยับยั้งขบวนการ
-การกิน NSAIDs ยั้บยั้งขบวนการให้ช้าลงไปอีก
ถ้าปวดควรกินยาแก้ปวดแล้วพัก
-การรับแรงมากเกิน เช่นวิ่ง กระโดด เดินมาก อาจทำให้ tendon ที่เหลือขาดอีก
จึงเหมือนโรคมันเรื้อรัง
± การรักษาที่อยู่ระหว่างการวิจัย มีมาก เช่น การฉีด stem cell, การฉีด PRP
(Platelet Rich plasma) ผลยังไม่ชัด อาจมีภาวะแทรกซ้อน มีความเสี่ยง ควรชั่งใจให้ดี
-ฝั่งเข็มผลการศึกษาในวงการแพทย์ยอมรับแค่เพียงลดความเจ็บปวด
แต่ก็พยายามยืดกล้ามเนื้อ เเละทำกายภาพหรือฝังเข็มได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น