วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

พระอุโบสถ-โบสถ์

 


พระอุโบสถ-โบสถ์

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "โบสถ์ "

1.เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกัน เพื่อทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่น สวดปาติโมกข์ อุปสมบท มี "สีมา" เป็นเครื่องบอกเขต ทั้งนี้คำว่า “โบสถ์” เป็นคำที่ใช้เฉพาะในพุทธศาสนา

2.โบสถ์ เรียกเต็มว่า อุโบสถ หรือโรงอุโบสถ ถ้าเป็นพระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือ สิม
3. โบสถ์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นเขตที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่า “วิสุงคามสีมา”

ผูกพัทธสีมา

 ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัย จะต้องมีการทำสังฆกรรม ที่เรียกว่า ผูกสีมา หรือ ผูกพัทธสีมา ก่อน
 

 “อุโบสถ” (อุ-โบ-สด) มีหลายความหมาย คือ

๑.สถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมทำสังฆกรรม ตามพระวินัย เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง

   แต่เรียกโดยทั่วไปว่า “โบสถ์

๒. การเข้าจำวัด คือ การรักษาศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ

     เรียกว่า รัก รักษาอุโบสถ หรือ รักษา   อุโบสถศีล

๓. วันพระ หรือ วันฟังธรรมของคฤหัสถ์ คือ ขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษาอุโบสถศีลกัน

     เรียกว่า วันอุโบสถ

๔. วันที่พระสงฆ์ลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน เรียกว่า วันอุโบสถ
๕. การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน หรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์ เรียกว่า การทำอุโบสถ

 

พัทธสีมา

 ในขณะที่คำว่า “พัทธสีมา” เจ้าคุณทองดีให้ความหมายไว้ว่า “สีมา” หมายถึงเขต หรือ แดนที่กำหนดไว้สำหรับการทำสังฆกรรมของสงฆ์ เป็นเขตชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งพระสงฆ์กำหนดว่า ผู้อยู่ในเขตนั้นต้องร่วมกันทำสังฆกรรม โดยความพร้อมเพรียงกัน “พัทธสีมา” หมายถึง สีมา หรือเขตแดนที่พระสงฆ์ผูกไว้แล้ว คือ พระสงฆ์ร่วมกันกำหนดเป็นเขตทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกพิธีกรรมที่กำหนดอย่างนั้นว่า ผูกสีมา โดยทั่วไปเรียกพัทธสีมาว่า โบสถ์ หรือ อุโบสถ

 นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ “วิสุงคามสีมา” (วิ-สุง-คาม-มะ-สี-มา) แปลว่า เขตแดนส่วนหนึ่งจากแดนบ้าน คือ ที่ดินที่แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมือง ซึ่งเป็นเขตที่พระจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์เป็นการเฉพาะ โดยเป็นประกาศพระบรมราชโอการ   ที่ดินที่พระราชทานแล้วจะมีเครื่องหมายเป็นเครื่องบอกเขต เครื่องหมายนี้เรียกว่า “นิมิต” ภายในวิสุงคามสีมา นิยมสร้างโรงอุโบสถไว้เพื่อทำสังฆกรรม

 

 การที่จะเป็นอุโบสถถูกต้องตามพระธรรมวินัยนั้น

1.จะต้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อน

2.พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันสวดถอนพื้นที่ทั้งหมดในเขตสีมานั้น เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่เป็นสีมาเก่า เรียกว่า “ถอนสีมา

3.หลังจากนั้นจึงสวดประกาศให้พื้นที่นั้นเป็น สีมา เรียกว่า “ผูกสีมา”

ทำดังนี้จึงจะเป็นสีมา หรือเป็นอุโบสถถูกต้องพระธรรมวินัย

"พระธรรมกิตติวงศ์ "


พิธีผูกพัทธสีมา

ใน พรบ.สงฆ์ วัดก็มี ๒ อย่าง คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เรียกว่า วัดวิสุงคามสีมา กับ   วัดที่ผูกพัทธสีมา แล้ว เรียกว่า วัดพัทธสีมา  ความแตกต่างละว่างผูกพัทธสีมา   กับพระราชาพระราชทานวิสูงคามฯ 

ทางการมีกิจที่สามารถจะเอาที่ดินนั้นคืนก็เอาคืนได้    แต่ถ้าผูกพัทธสีมาแล้วคณะสังฆ์ต้องสวดถอนและสวดผูกเรียบร้อย   ทางราชการเอาที่ดินนั้นคืน ไม่ได้  เพราะคณะสังฆ์สวดถอนและผูกแล้ว

การผูกพัทธสีมา

การผูกพัทธสีมาเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่วัดหนึ่งมีครั้งเดียว ถ้าผูกพัทธสีมาได้ก็ถือว่า วัดสมบูรณ์ตามกฎหมาย และสมบูรณ์ตามพระธรรมวินัย คือได้ทำตามที่ทรงอนุญาตไว้ครบถ้วนนั่นเอง  ถ้าไม่ทำพิธีผูกพัทธสีมาก็อาจไม่มีผลทางด้านการทำสังฆกรรม แต่ก็มีข้อวินัยที่อาจมีการสมมุติสีมาทับกันได้ แต่มีผลทำให้ได้รับประโยชน์จากที่ทรงอนุญาตไว้ในทางพระวินัยไม่เท่ากัน ถ้าผูกพัทธสีมาได้ ก็ดีกว่าไม่ผูก เพราะสงฆ์จะมีเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรเพิ่มขึ้น เช่นเวลาอยู่ที่ศาลาตอนใกล้อรุณ ก็ไม่ต้องคอยระวัง ต้องถือผ้าครองติดตัว  เอาผ้าครองวางห่างจากตัวก็ไม่เป็นอาบัติ ถ้าอยู่ในเขตพัทธสีมา ในพิธีผูกพัทธสีมาต้องมีการสวดถอนก่อน  การสวดถอนก็เพื่อว่า หากที่ตรงนั้นเคยมีสงฆ์สมมุติสีมาไว้ก่อน จะได้ไม่เป็นการสมมติสีมาทับกันแค่นั้นเอง เพราะถ้า  สวดสมมติสีมาทับกัน จะกลายเป็นสีมาสังกระ สีมาวิบัติสังฆกรรมนั้นใช้ไม่ได้  ด้วยเหตุนี้จึงมีวัดจำนวนมากที่ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วแต่ไม่ทำพิธีผูกพัทธสีมานั้นเอง นับเป็น อพัทธสีมา นั้น เป็นแดนที่สงฆ์ไม่ได้กำหนดไว้ตายตัว กำหนดเอาตามทางบ้านเมืองกำหนดไว้ สงฆ์มีอำนาจเพียงถือเอาเป็นเขตประชุมสงฆ์ เพื่อทำสังฆกรรมเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดถือเป็นเจ้าของ  (อพัทธสีมา คำว่า 

"อพัทธสีมา" แปลว่า "แดนที่ไม่ได้ผูก" )

 

สีมาสังกระ

     คำว่า "สีมาสังกระ" แปลว่า "สีมาที่คาบเกี่ยวกัน"

     การสมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน จัดเป็นสีมาสังกระ เช่น การสมมติสีมาใหม่คาบเกี่ยวสีมาเดิมแต่สงฆ์ไม่รู้ว่าเป็นสีมาเดิม ทั้งไม่ได้ทำการสวดถอนก่อน สีมาใหม่ย่อมบัติใช้ไม่ได้

 

 

ไม่มีความคิดเห็น: