มะเร็งท่อน้ําดี ( Cholangiocarcinoma, CCA )
มะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma, CCA
) คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีภายในตับ และท่อน้ำดีภายนอกตับ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งมีอายุ 40 ปีขึ้นไป (ในประเทศไทยโรคนี้ทางสาธารณสุขเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบๆ ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ)
มะเร็งของท่อน้ำดีที่ตับ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการ ส่วนใหญ่จะตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะที่มีการพัฒนาของมะเร็งเต็มขั้นแล้ว การตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีทำได้ค่อนข้างยาก ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจได้เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกติดกับเส้นเลือดใหญ่และลำไส้
ท่อน้ำดีเป็นอวัยวะในทางเดินระบบอาหารอย่างหนึ่งในร่างกายของมนุษย์เรา มีลักษณะเป็นท่อขนาดใหญ่อยู่บริเวณภายนอกตับ ท่อน้ำดีเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างถุงน้ำดีและสำไส้เล็ก มีหน้าที่นำน้ำดีจากถุงน้ำดีไปยังลำไส้เล็กเพื่อช่วยในการย่อยอาหารซึ่งท่อน้ำดีก็เป็นอวัยวะอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถเกิด มะเร็งท่อน้ำดีได้เหมือนกับอวัยวะอื่นๆในร่างกาย
การที่ท่อน้ำดีมีเชื้อของมะเร็งเกิดขึ้น โดยปกติในท่อน้ำดีจะประกอบด้วยเซลล์หลากหลายชนิด เช่น เยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดีเส้นเลือด กล้ามเนื้อ และเซลล์ต่อมน้ำเหลืองซึ่งเซลล์ทุกชนิดในท่อน้ำดีสามารถเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ทั้งหมด แต่โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับเยื่อเมือกบุภายในท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่มากหรือบ่อยนัก สามารถเป็นได้ทั้งเพศชายหรือเพศหญิงโรคมะเร็งในท่อน้ำดีมีด้วยกันหลายชนิด แต่ในส่วนมากที่พบจะเป็นชนิด โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา หรือ ซีซีเอ ( CCA : Cholangiocarcinoma
) ซึ่งจะเป็นชนิดเดียวกับอะดีโนคาร์ซิโนมา เป็นเซลล์มะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคระดับปานกลาง
การตรวจโรคมะเร็งท่อน้ำดีทำได้ค่อนข้างยาก ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจได้ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ลึกติดกับเส้นเลือดใหญ่และลำไส้ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นแพทย์จะใช้วิธีการวินิจฉัยมะเร็งท่อน้ำดีได้จาก การสอบถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย หรือ การตรวจภาพท่อน้ำดี ด้วยการอัลตราซาวด์หรือการเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์
ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี
มะเร็งท่อน้ำดีแบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งเริ่มต้นเกิดขึ้นที่ใด
1.มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับ หรือเรียกว่า intrahepatic bile duct
cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ) เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายมะเร็งตับ จึงเป็นโรคที่มักถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นมะเร็งตับ
2.มะเร็งเริ่มต้นขึ้นที่ส่วนของท่อน้ำดีภายนอกตับ หรือเรียกว่า extrahepatic bile duct
cancer (มะเร็งท่อน้ำดีภายนอกตับ) เกิดที่ท่อน้ำดีใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีร่วมส่วนปลาย มะเร็งชนิดนี้ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดี
ในทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า โรคมะเร็งในท่อน้ำดีเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงอะไร แต่ก็มีข้อมูลบางส่วนพบว่าอาจจะเกิดจากสาเหตุการเป็นนิ่วในท่อน้ำดีก็เป็นได้
อาการของมะเร็งท่อน้ำดี
อาการของมะเร็งท่อน้ำดีจะมีลักษณะอาการที่แสดงออกมาคล้ายกับการเป็นนิ่วในถุงน้ำดีหรือท่อน้ำดี ซึ่งจะมีอาการที่พบได้บ่อยๆจากโรค ดังนี้ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดบริเวณใต้ชายโครงฝั่งขวา ( บริเวณตำแหน่งของท่อน้ำดี ) แบบเรื้อรัง มีอาการตัวและตาเหลือง คันทั่วตัว ปัสสาวะมีสีเข้ม และอุจจาระมีสีซีดซึ่งเป็นสาเหตุจาก การอุดตันของท่อน้ำดี โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดขึ้นที่บริเวณท่อน้ำดีซึ่งทำหน้าที่ในการระบายของเสียซึ่งออกจากตับไปสู่ลำไส้เล็กตอนต้น ( Duodenum ) องค์ประกอบของท่อน้ำดีจะประกอบด้วยท่อน้ำดีเล็ก ( Ductules ) และถุงน้ำดี ( Gallbladder ) ท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับเรียกว่า Intrahepatic Bile Duct ซึ่งเป็นท่อที่มีส่วนที่ยู่ภายในตับและเชื่อมต่อกับท่อน้ำดีใหญ่ที่ตับ ( Common Hepatic Duct ) บริเวณท่อน้ำดีที่ออกจากตับ ( Hilum ) ส่วน ท่อน้ำดีรวม ( Common Bile Duct ) คือ บริเวณที่ถุงน้ำดีเชื่อมต่อกับท่อขนาดเล็กที่เรียกว่า Cystic Duct
ระยะของมะเร็งท่อน้ำดี
เราสามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้เป็น 4 ระยะตามอาการที่พบดังนี้
ระยะที่ 1 เชื้อก้อนมะเร็งเกิดขึ้นในท่อน้ำดี ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียงอื่นๆ
ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งเริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงท่อน้ำดี
ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งลุกลามเข้าไปถึงถุงน้ำดี และอวัยวะข้างเคียง เส้นเลือดแดง หรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงท่อน้ำดี
ระยะที่ 4 อาการมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย โรคมะเร็งจะแพร่กระจายเข้าช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกไป อวัยวะที่พบได้บ่อยๆคือ ปอดและตับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดี
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีที่สำคัญ ได้แก่ การรับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบๆ ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งจะเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี
สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีมีดังนี้
1. ภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง
2. โรคของระบบทางเดินน้ำดี
3. มีนิ่วในตับ
4. โรคทางพันธุกรรมผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคมีถุงน้ำผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี
การวินิจฉัยโรค
นอกจากอาการและอาการแสดงดังกล่าวข้างต้น การตรวจ ทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยในการวินิจฉัยประกอบด้วย การตรวจภาพรังสีวินิจฉัย อัลตราซาวนด์ (Ultrasonography) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Topography -
CT) การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance
Imaging - MRI) โดยการตรวจภาพวินิจฉัยแต่ละชนิดก็จะมีความแม่นยํา และจําเพาะแตกต่างกันไป โดยดุลพินิจในการส่งตรวจขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษา
โดยทั่วไปแล้วการตรวจเลือดเพื่อดูค่าการทํางานของตับ (Liver function test) หรือสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ําดีระยะแรกนั้นมักจะไม่ พบความผิดปกติ ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัย
การรักษา
มะเร็งท่อน้ำดี เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูง เนื่องจากกว่าจะตรวจพบโรคได้ อาการก็มักลุกลามแพร่กระจายเชื้อไปทั่วแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยก็มีโอกาสรักษาให้หายได้โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ระยะของโรคที่เป็น ความสามารถในการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออก รวมถึงอายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย การรักษาหลักของมะเร็งท่อน้ําดีคือ การผ่าตัด กรณีของมะเร็งท่อ น้ําดีในตับ การผ่าตัดจะประกอบด้วยการผ่าตัดตับ (Hepatic resection/
Hepatectomy) ส่วนในกรณีของมะเร็งท่อน้ําดีนอกตับ การผ่าตัดจะประกอบด้วยการผ่าตัด ตัดท่อทางเดินน้ําดี (Bile duct resection) อาจต้องมีการผ่าตัดตับ หรืออาจต้อง ผ่าตัดตับอ่อนและลําไส้เล็กส่วนหนึ่งร่วมด้วย (Pancreaticoduodenectomy)
ถ้ามะเร็งท่อน้ําดีมีการลุกลามมาที่บริเวณดังกล่าว
ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีจะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นหลัก ส่วนการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การให้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี หรือการให้ยาแบบเฉพาะ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาทางการแพทย์ เนื่องจากเซลล์มะเร็งในท่อน้ำดีมักจะดื้อต่อการใช้เคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยรังสีซึ่งหากผู้ป่วยรายไหนที่ไม่สามารถใช้วิธีผ่าตัดในการรักษาได้ แพทย์ก็จะต้องใช้การรักษาแบบประคับประคองอาการไว้เท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีอื่นได้ เนื่องจากผลในการรักษาด้วยยาเคมีบําบัดหรือฉายแสงรักษาในปัจจุบันนั้น ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงไม่ได้ใช้เป็นการรักษาหลัก แต่อาจใช้เป็นการรักษาร่วมใน กรณีก่อนผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด
ผลการรักษา
ในปัจจุบันผลการรักษาของมะเร็งท่อน้ําดียังไม่สู้ดีนักเนื่องจาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งท่อน้ําดีมีขนาดใหญ่หรือลุกลามแล้ว ดังนั้น จึงพบว่ามีผู้ป่วยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่สามารถทําการผ่าตัดได้ โดยถ้าสามารถ ผ่าตัดเอามะเร็งท่อน้ําดีออกได้หมดจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ที่ประมาณ 10-40% แต่ถ้าพบว่ามีการลุกลามไปแล้วอัตราการรอดชีวิตจะต่ํากว่านั้นมาก
การป้องกันมะเร็งในท่อน้ำดี
สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเป็นโรคมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่บ่อยจึงยังไม่สามารถทราบปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคได้ อีกทั้งในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคนี้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น