เจดีย์ (ภาษาบาลี : เจติย , ภาษาสันสกฤต : ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี : ถูป , ภาษาสันสกฤต : สฺตูป)
1.ตำราในพระพุทธศาสนากำหนดว่า พระเจดีย์ หรือ เจดีย์ มี 4 ประเภท
- ธาตุเจดีย์ สิ่งก่อสร้างบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า
พระมหากษัตริย์พระปรินิพพาน
- บริโภคเจดีย์ สังเวชนียสถานอันเป็นสถานที่ประสูติ
ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า
- ธรรมเจดีย์ คาถาที่แสดงพระอริยสัจ
หรือ คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก
- อุเทสิกะเจดีย์ ของที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า
ไม่กำหนดว่าจะต้องทำเป็นอย่างไร เช่น สร้างบัลลังก์ให้หมายแทนพระพุทธองค์
การที่เจดีย์มีความหมายครอบคลุมอย่างกว้างขวางดังที่กล่าวข้างต้น
จึงพ้องกับความหมายของคำว่า สถูป ที่บ่งบอกถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ
หรือสร้างเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ ด้วยเหตุนี้ สถูปจึงใช้แทนเจดีย์เป็นเช่นนี้ในประเทศอินเดียสมัยโบราณมาแล้ว
ในสมัยสุโขทัย คำว่าสถูปและเจดีย์ใช้ควบคู่กัน
ดังปรากฏในจารึกบางหลัก เช่น พระยามหาธรรมราชา ก่อ พระธาตุ หรือกล่าวถึง พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งล้วนมีความหมายเดียวกับเจดีย์
แม้ในปัจจุบันนักวิชาการก็ยังเรียกพระสถูปเจดีย์เป็นคำคู่[3]
พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐฯ เขียนขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. 2223 กล่าวถึงสมัยต้นกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 โปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนา พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งย่อมหมายถึงพระเจดีย์ทรงปรางค์
องค์ที่เป็นประธานของวัดมหาธาตุ ซึ่งปัจจุบันยอดทลายลงแล้ว
ทางภาคเหนือ มีเอกสารเขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ได้ใช้คำว่า พระธาตุทรงปราสาท และมีการใช้คำว่า พระธาตุ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุหริภุญชัย
ทางภาคอีสาน มีคำว่า พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม พระธาตุศรีสองรักษ์
ทางภาคใต้ มีคำเรียกว่า พระบรมธาตุ เช่น พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
ส่วนคำว่า กู่ ก็หมายถึงสถูป
หรือ เจดีย์ด้วยเช่นกัน มีที่ใช้ทางภาคเหนือ เช่น กู่เจ้านายวัดสวนดอก ทางภาคอีสานก็มีเช่น ปราสาทปรางค์กู่ ปรางค์กู่ กู่พระสันตรัตน์ กู่กาสิงห์ ยังมีที่ใช้ในประเทศพม่า ซึ่งหมายถึงเจดีย์แบบหนึ่งด้วย
การสร้างเจดีย์นอกจากจะมีความหมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว
ยังมีประเพณีบรรจุสิ่งของมีค่า รวมทั้งพระพิมพ์จำนวนมาก ไว้ในกรุขององค์เจดีย์
ซึ่งมีนัยว่าเป็นการสืบทอดพระศาสนา
2. เมื่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ได้เข้ามาประดิษฐานในกรุงสุโขทัย จึงได้มีการสร้างเจดีย์ตามวัฒนธรรมพระพุทธศาสนา
แต่ได้มีการประดับตกแต่ง ตามแบบของสุโขทัย โดยยังมีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน
และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา องค์ประกอบนี้ก็เช่นเดียวกับสมัยอยุธยาแต่มีการพัฒนาการขึ้น
และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา
รวมถึงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่างให้เข้ากับวัฒนธรรม โดยรวมมีความหมายเดิม
- ฐานเขียง ฐานชั้นล่างสุด
ยกพื้นเจดีย์ให้สูงกว่าพื้นดิน
- ฐานปัทม์ หรือฐานบัว
(ปทุม) แสดงถึงดอกบัวที่รองรับพระพุทธเจ้าในทุกอิริยาบถของพระพุทธองค์
- บัวถลา เป็นลักษณะที่รับมาจากลังกาแต่เอาชั้นบัวหงายออก
- บัวปากระฆัง เป็นฐานบัวชั้นบน
- องค์ระฆัง หรือ เรือนธาตุ บรรจุพระพุทธรูป
หรือพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ
- บัลลังก์ คงความหมายเดิม
- ก้านฉัตร เป็นก้านของฉัตร
(ตามความหมายเดิม)
- บัวฝาละมี บัวคว่ำด้านบน
กางกั้นฉัตรให้เรือนธาตุ
- ปล้องไฉน เปรียบเสมือนตัวฉัตร
(ตามความหมายเดิม)
- ปลียอด ชี้ขึ้นฟ้า
เส้นทางสู่พระนิพพาน
- หยาดน้ำค้าง หมายถึงรัตนะ
3. รูปแบบหรือทรงต่าง
ๆ ของเจดีย์
4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้บัญญัติคำว่า จอมเจดีย์ ขึ้นมา โดย ตรัสแก่สมเด็จพระวันรัต
(กิตตโสภโณเถระ) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อ พ.ศ. 2485 ว่า
"การที่ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งพระบวรพุทธศาสนา ทำให้มีพุทธสถานกระจายอยู่ทั่วประเทศ
มีอายุและแบบศิลปกรรมแตกต่างกันตามคตินิยมและยุคสมัย
ในบรรดาปูชนียสถานนับร้อยนับพันมีเพียง 8
แห่งเท่านั้นที่ควรค่าแก่การยกย่องให้เป็น จอมเจดีย์ แห่งสยาม"
จอมเจดีย์ ที่สำคัญของสยามทั้งหมด 8 องค์
โดยกำหนดให้เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 โดยว่าจ้างให้กรมศิลปากรออกแบบและเขียน
แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2489 ภาพสถูปเจดีย์ทั้ง 8 องค์
ที่กำหนดให้เขียนขึ้นมีดังนี้
- พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างก่อนองค์อื่นในแคว้นล้านนาไทย
- พระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เหตุเพราะเป็นเจดีย์องค์แรกในการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
- พระเจดีย์ช้างล้อม ศรีสัชนาลัย เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างเฉลิมพระเกียรติ
- พระธาตุพนม เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างก่อนองค์อื่นในภาคอีสาน
- พระศรีรัตนมหาธาตุละโว้ เหตุเพราะเป็นสถูปองค์แรกในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในสยามประเทศ
- พระเจดีย์ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา
เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเฉลิมพระเกียรติเมื่อครั้งทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชแห่งกรุงหงสาวดี
- พระปฐมเจดีย์ เหตุเพราะสร้างเมื่อแรกพระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในสยามประเทศ
- พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อพุทธศาสนาลังกาวงศ์สถาปนาในสยามประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น