ภาวนา
ปัญหาที่พบบ่อยๆ
1. เราจำเป็นต้องนั่งสมาธินานๆไหม?
-
การนั่งสมาธิ สำคัญที่สติ
ถ้านั่งนานหรือไม่นานแต่มีสติตามรู้ตลอดได้ก็ดีแล้ว
-
การนั่งทนปวดทนเจ็บไปให้ได้ตามเวลาดีที่ได้ความอดทน
แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก
-
การเจ็บปวดในการนั่งสมาธิภาวนาเป็นเรื่องธรรมดาที่สำคัญยิ่ง
ถ้าเราเข้าใจ ความเจ็บปวดนั้นมีค่ายิ่งกว่าเงินทอง
ถ้าเราเอาสติตามรู้เข้าไปในความเจ็บปวดนั้นได้
พิจารณาเข้าไปลึกลงไปทุกครั้งทุกคราที่ฝึกภาวนาจนสามารถแยกกาย/ใจนี้ได้ก็เป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่แล้ว
หลายคนใช้ความคิดแทนการพิจารณา
เอาสิ่งที่จำมาตอบใจตัวเองจะเห็นได้ว่าครั้งเดียวก็แยกธาตุแยกขันธ์ตามที่จำมาได้แล้ว
สิ่งเหล่านี้แก้ได้จากการนั่งภาวนานานๆหลายๆชม.
ความจริงและความคิดก็จะแยกออกมาให้เรารู้ได้เองไม่ต้องให้ใครบอก
-
เริ่มต้นใหม่ๆ เราจึงต้องใช้ขันติความอดทนก่อน
เช่นตั้งใจจะนั่ง1ชม. เจ็บปวดก็อดทน
และพยายามพิจารณาตามความจำที่ครูบาอาจารย์สอนมา อดทนๆไม่ขยับไปตามความอยากของใจ
พิจารณาไปๆ ถึงเวลาก็อย่าเพิ่งขยับ อดทนต่อไปๆเท่าที่ทำได้
พอไม่ไหวก็ขยับไปนิดหนึ่งแล้วนั่งต่อ พิจารณาความแตกต่างของอารมณ์ที่แตกต่างกัน
ก่อนและหลังขยับตัว ดูใจตนเองว่าความคิดกับความจริงนั้นแตกต่างกัน ค่อยๆทำเช่นนี้ไปหลายๆๆๆครั้ง
จนความจริงไม่ต่างจากความคิด เป็นปัจจุบันขณะ ปัจจุบันจิตได้ นั้นแหละขั้นแรกแล้ว
-
1. เราจำเป็นต้องนั่งสมาธินานๆไหม?
-
เพียงแต่นั่งได้นานๆ นั้นคงไม่ดี
ต้องนั่งให้ได้ผล ให้มันเพลินในการพิจารณา เวลาจะล่วงเลยไปนานเอง
ผลที่ได้คือจะพบกับความสุขอิสระ พ้นจากความเจ็บปวดเอง
เป็นอย่างนี้การนั่นนานๆจึงดี ทำให้เกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้ว
จิตจะสว่างไสวเบิกบาน และเกิดความอาจหาญขึ้นมา ในคราวต่อๆไปก็จะไม่ย่อท้อ
จากทุกข์เวทนาไจาการนั่งนานๆ ไม่ว่าเวทนามากหรือน้อยก็ตาม
2. ภาวนา
ปัญหาที่พบบ่อยๆ
2.พิจารณา อย่างไร
การพิจารณาที่เราทำเป็นปกติคือการพิจารณาทุกข์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะมาจากกายหรือใจ ครูชาอาจารย์ท่านให้แยกแยะ ให้แตกกระจายออกไปเช่นปวดที่ขาก็แยกลงไปว่าปวดตรงไหน เอ็น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด แล้วใช้ปัญญาพิจารณาว่าความจริงนั้นเป็นเช่นไร ที่เรายึดมั่นว่าเป็นตัวเราของเรานั้นเพราะอะไร?เป็นต้น แต่ก็มีการพิจารณาอีกมากมาย สำคัญที่สุดคือต้องเริ่มจากตัวเราเองพิจารณาลงไปแยกแยะให้ละเอียดลงไปๆ อย่าท้อ ทำบ่อยๆทำจนชำนาญ วันนี้เห็นแต่ความจำก็ยอม อดทนๆๆๆๆ ทำจนจิตดวงนี้ยอมแพ้กับความจริงเบื้องหน้า ยอมรับว่าที่เรายึดมั่นว่าเป็นตัวเรานั้นไม่จริงเลย เป็นความหลงของเราทั้งสิ้น
-การพิจารณา ในเบื้องต้นคือเอาคำสอนที่เราเรียนมา พิจารณากับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า แรกๆคงต้องใช้ความจำ ย้ำเตือนใจเราให้รับรู้ไปตามที่เราเรียนรู้มา ทำไปแล้วทำไปอีก จนกว่าความจริงจะปรกกฏขึ้นที่ใจเรา การพิจารณานั้นขึ้นกับบุคคล ปกติ เราเคยพิจารณาสิ่งใดก็ให้ทำซ้ำเรื่องนั้นไปบ่อยๆให้ลึกขึ้นละเอียดขึ้นให้ลึกลงไปๆ จนความจริงเกิดขึ้นที่ใจเรา เะช่นพิจารณากายหนึ่งใน32อาการ หรือพิจารณาธาตุ หรือพิจารณาสิ่งกระทบทางกายทางใจเป็นต้น
-การแก้ความจำ/ความจริง
ที่เรามาร่วมนั่งสมาธิกัน โดยใช้เวลานานขึ้นเช่นสามสี่ชม.นั้น ก็เพื่อให้เราสามารถแยกความจริงกับความจำของเราด้วยตัวเราเอง การอดทนอาจะทนได้ชม.สองชม. แต่พอนานๆไปแล้ว จะใช้ความจำมาพยายามทนอยู่เป็นไปได้ยาก เราจะเห็นความอยาก ที่จะขยับอย่าเปลี่ยนอิริยบทเพื่อหนีความทุกข์ที่กำลังแสดงให้เราเห็นอยู่ตรงหน้าเรา ความทุกข์ที่เรามีหน้าที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ พิจารณาให้รู้จักได้อย่างละเอียด มิใช่หนีทุกข์นั้น การนั่งได้นานๆโดยไม่ขยับจึงเป็นวิธีที่พ่อแม่ครูอาจารย์ได้พาเราทำมาตั้งแต่เล็กๆ ปกติเรายังทำเช่นนี้กันอยู่ในวัดป่าโดยเฉพาะในคืนวันพระ จึงพยายามนำวิธีนี้มาให้พวกเราได้เข้าใจตนเองมากขึ้น เพราะความเข้าใจธรรมจากการฟังหรือการอ่านคงไม่ยากนัก แต่จะให้เข้าถึงใจโดยการปฏิบัตินั้น มีทางเดียวคือต้องทำด้วยตนเองเท่านั้น
ปัญหาที่พบบ่อยๆ
2.พิจารณา อย่างไร
การพิจารณาที่เราทำเป็นปกติคือการพิจารณาทุกข์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะมาจากกายหรือใจ ครูชาอาจารย์ท่านให้แยกแยะ ให้แตกกระจายออกไปเช่นปวดที่ขาก็แยกลงไปว่าปวดตรงไหน เอ็น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด แล้วใช้ปัญญาพิจารณาว่าความจริงนั้นเป็นเช่นไร ที่เรายึดมั่นว่าเป็นตัวเราของเรานั้นเพราะอะไร?เป็นต้น แต่ก็มีการพิจารณาอีกมากมาย สำคัญที่สุดคือต้องเริ่มจากตัวเราเองพิจารณาลงไปแยกแยะให้ละเอียดลงไปๆ อย่าท้อ ทำบ่อยๆทำจนชำนาญ วันนี้เห็นแต่ความจำก็ยอม อดทนๆๆๆๆ ทำจนจิตดวงนี้ยอมแพ้กับความจริงเบื้องหน้า ยอมรับว่าที่เรายึดมั่นว่าเป็นตัวเรานั้นไม่จริงเลย เป็นความหลงของเราทั้งสิ้น
-การพิจารณา ในเบื้องต้นคือเอาคำสอนที่เราเรียนมา พิจารณากับความจริงที่อยู่เบื้องหน้า แรกๆคงต้องใช้ความจำ ย้ำเตือนใจเราให้รับรู้ไปตามที่เราเรียนรู้มา ทำไปแล้วทำไปอีก จนกว่าความจริงจะปรกกฏขึ้นที่ใจเรา การพิจารณานั้นขึ้นกับบุคคล ปกติ เราเคยพิจารณาสิ่งใดก็ให้ทำซ้ำเรื่องนั้นไปบ่อยๆให้ลึกขึ้นละเอียดขึ้นให้ลึกลงไปๆ จนความจริงเกิดขึ้นที่ใจเรา เะช่นพิจารณากายหนึ่งใน32อาการ หรือพิจารณาธาตุ หรือพิจารณาสิ่งกระทบทางกายทางใจเป็นต้น
-การแก้ความจำ/ความจริง
ที่เรามาร่วมนั่งสมาธิกัน โดยใช้เวลานานขึ้นเช่นสามสี่ชม.นั้น ก็เพื่อให้เราสามารถแยกความจริงกับความจำของเราด้วยตัวเราเอง การอดทนอาจะทนได้ชม.สองชม. แต่พอนานๆไปแล้ว จะใช้ความจำมาพยายามทนอยู่เป็นไปได้ยาก เราจะเห็นความอยาก ที่จะขยับอย่าเปลี่ยนอิริยบทเพื่อหนีความทุกข์ที่กำลังแสดงให้เราเห็นอยู่ตรงหน้าเรา ความทุกข์ที่เรามีหน้าที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ พิจารณาให้รู้จักได้อย่างละเอียด มิใช่หนีทุกข์นั้น การนั่งได้นานๆโดยไม่ขยับจึงเป็นวิธีที่พ่อแม่ครูอาจารย์ได้พาเราทำมาตั้งแต่เล็กๆ ปกติเรายังทำเช่นนี้กันอยู่ในวัดป่าโดยเฉพาะในคืนวันพระ จึงพยายามนำวิธีนี้มาให้พวกเราได้เข้าใจตนเองมากขึ้น เพราะความเข้าใจธรรมจากการฟังหรือการอ่านคงไม่ยากนัก แต่จะให้เข้าถึงใจโดยการปฏิบัตินั้น มีทางเดียวคือต้องทำด้วยตนเองเท่านั้น
3. การฝึกสมาธิ
โดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
" การทำสมาธิเบื้องต้น
ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระ เจริญพรหมวิหาร ๔
และ สมาทานกรรมฐานเดินสมาธิ หรือ
เดินจงกรม การเดินสมาธิ
หรือ เดินจงกรม
เหมาะสำหรับคนที่มักมีความคิดฟุ้งมาก พระพุทธองค์กล่าวว่า
ประโยชน์ของการ
เดินจงกรม มีดังนี้คือ
-ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
-ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
-เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
-สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน
.วิธีการเดินสมาธิหรือเดินจงกรม.
เลือกสถานที่ยาวประมาณ ๕ เมตรถึง ๑๐
เมตร แล้วแต่ความกว้างของสถานที่
และความรู้สึก
พอดี บางทียาวนักก็ไม่ดีเหนื่อย
บางครั้งสั้นไปก็ทำให้เวียนหัว หันหน้าไปทางเดินจงกรม
แต่อย่ามองไกล
เกินไป มองทอดสายตาดูไปข้างหน้าประมาณ ๔ ก้าวเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก
แต่ไม่ใกล้เกิน
ไป จนรู้สึกปวดต้นคอ
มือซ้ายมาวางที่หน้าท้องและ มือขวามาวางทับ เพื่อป้องกันแขนแกว่ง
ขณะเดิน และ ดูสวยงาม
เมื่อได้ท่าที่พอดีแล้วก็เดินก้าวขาขวาไป ก็นึก
คำว่า "พุท"
และเมื่อก้าวขาซ้ายไปก็นึก คำว่า-"โธ" เวลาเดินไม่หลับตา แต่ให้ลืมตา
และ
กำหนดสัมผัสของเท้าที่ก้าวเหยียบลงพื้น
เดินว่า พุทโธๆไปเรื่อย
พอถึงปลายทางเดิน
ก็หยุดนิดหนึ่งแล้วก็หันกลับด้านขวามือมาทางเดิม และเดินว่าพุทโธ
(กำหนดในใจ)ต่อไป อย่าเร็วเกินไป หรือ
ช้าเกินไป กำหนดจิตของเราอยู่ที่ก้าวเดิน และ-
คำภาวนา ไม่ให้จิตวอกแวก
สิ่งสำคัญคือ
การกำหนดจิตให้ทันการเคลื่อนไหว
ส่วนการเดินเป็นเพียงส่วนประกอบ เท่านั้น เราควรทำ
อย่างน้อย ๓๐ นาทีและ
จะดีมากขึ้นถ้าตามด้วยการนั่งสมาธิ เพราะการเดินจงกรม เป็นการ-
เปลี่ยนอิริยาบถ ปล่อยอารมณ์ และ
เตรียมร่างกายให้พร้อมสู่...การ...นั่งสมาธิ
.อิริยาบถนั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาทับมือซ้าย
วางลงบนตัก ตั้งกายตรง
ไม่กดและข่มอวัยวะในร่างกาย วางกายให้สบาย ๆ
ตั้งจิตให้ตรง ลงตรงหน้า กำหนดรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน
ไปในเบื้องหน้า-เบื้องหลัง(อนาคตและอดีต)
พึงเป็นผู้มี...สติ กำหนดจิตรวมเข้าตั้งไว้ใน
จิต
บริกรรม" พุทโธ "จนกว่า
จะเป็น...เอกัคคตาจิต."
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
4. ภาวนา
ปัญหาที่พบบ่อยๆ การพิจารณาเวทนา
ปัญหาที่พบบ่อยๆ การพิจารณาเวทนา
เวทนา ถึงแม้ว่าเราต้องพิจารณาเวทนาด้วยปัญญา
แยกแยะเวทนาออกมาเป็นส่วนๆ เพื่อให้เข้าใจความจริงที่เป็นอยู่เฉพาะหน้า
จะได้ไม่ยึดถือเวทนานั้นมาเป็นตัวเรา เป็นเวทนาของเรา จนทำให้เกิดทุกข์ แต่ที่เรามักจะพบเจอเสมอคือการเอาเวทนามาเป็นอารมภ์
และยึดเวทนานั้นเป็นเราซึ่งก็คือตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็น
สาเหตุหลักใหญ่ๆที่พบคือเราเอาสติตามรู้ออกไป หลงไปปรุงแต่งกับเวทนานั้นๆ
ทางแก้ไขคือให้มีสติอยู่กับกายกับใจนี้ตลอด ถึงแม้บางครั้งการพิจารณาด้วยสัญญาจะทำให้เราหลุดออกไป
แต่การมีสติดึงกลับมากายใจเป็นระยะๆก็สามารถช่วยได้ เราจึงไม่ควรหลงไปกับเวทนานัก
เพราะการมีสติย้อนมาที่จิตเป็นสิ่งที่ควรกระทำมากกว่าโยเฉพาะเวทนาใหญ่ๆเช่นเวทนาก่อนตายเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น