บทที่ 6
ช่วงนี้ ผู้เขียนอ่านหนังสือ สูตรเว่ยหล่าง ซึ่งกล่าวถึง ชีวประวัติของท่านเว่ยหล่าง(พระสังฆปรินายก นิกายเซน องค์ที่หก) รวมถึงคำเทศนา คำกล่าวของท่าน โดยผ่านการแปลจากฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยโดยท่านพุทธทาสภิกขุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ในหมวดที่ ๑-๗
เพื่อนๆที่รู้จักกัน ส่วนใหญ่อ่านหนังสือเล่มนี้กันหมดแล้ว บางคนอ่านแล้วหลายรอบ แต่ผู้เขียนเพิ่งได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรก
ผู้เขียนค่อยๆอ่านทีละบท ระหว่างการอ่านก็เทียบเคียงกับคำสอนที่เคยได้ฟังจากพระอาจารย์ฝ่ายเถรวาทบ้านเรา รู้สึกแปลกใจพร้อมๆกับดีใจว่าคำสอนสอดคล้องกันในหลายๆหัวข้อ
หนังสือเล่มนี้ น่าสนใจมาก และเป็นหนังสือที่ยืนยันได้อีกเล่มหนึ่งว่า พุทธศาสนานิกายเซน มีแนวคิดแนวปฏิบัติคล้ายกับพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
วันนี้ขอหยิบยกข้อความบางตอนในหนังสือ หมวดที่ ๔ ว่าด้วยเรื่อง สมาธิและปรัชญา*(*หมายถึง ปัญญาในฝ่ายเถรวาท) ซึ่งเป็นตอนที่ผู้เขียนประทับใจ เพราะคล้ายคลึงกับแนวทางที่ผู้เขียนน้อมนำมาปฏิบัติ(ถึงแม้จะอยู่ในขั้นอนุบาลและยังทำไม่ค่อยได้)จากคำสั่งสอนของพระอาจารย์ฝ่ายเถรวาทในไทย ตั้งแต่ที่ยังไม่รู้จัก พุทธศาสนานิกายเซน
บทความที่ 6
• ในการแปลคำว่า "สมาธิที่ถูกวิธี" คนพวกที่งมงายอยู่ภายใต้อวิชชาพากันแปลว่า "นั่งอย่างเงียบติดต่อกันไป โดยไม่ยอมให้ความคิดอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในจิต" การแปลความหมายเช่นนี้ เป็นการจัดตัวเราเองให้ลงไปอยู่ในชั้นเดียวกับวัตถุที่ไร้วิญญาณทั้งหลาย และยังจะกลายเป็นสิ่งสะดุดเกะกะกีดขวางหนทางตรง
• การเฝ้าระวังจิตของตนให้นิ่งเงียบ ถึงกับว่าหมดความเคลื่อนไหวเป็นไปของจิตเอาเสียทีเดียว นับว่าเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวง
• มันเป็นจารีตในนิกายของเรา ในการที่จะถือเอา"ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" ว่าเป็นผลที่เราจำนงหวัง, ถือเอา "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" ว่าเป็นมูลรากอันสำคัญ และถือเอา "ความไม่ข้องติด" ว่าเป็นหลักหรือต้นตอ อันเป็นประธานสำคัญ
• "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์" นั้น หมายถึง ความไม่ถูกอารมณ์ดึงดูดเอาไป ในเมื่อได้สัมผัสกันเข้ากับอารมณ์ภายนอก
• "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก" นั้น หมายถึง ความไม่ถูกลากเอาไปโดยความคิดอันแตกแยกแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่กำลังบำเพ็ญภาวนาทางจิต ดำรงใจไว้ให้เป็นอิสระจากอำนาจของกิเลส ในทุกๆลักษณะ ใจของเราลอยอยู่สูงเหนือสิ่งต่างๆที่แวดล้อมเรา
• "ความไม่ข้องติด" นั้น หมายถึง ลักษณะเฉพาะแห่ง จิตเดิมแท้ ของเรานั่นเอง
• ผู้ที่คล่องแคล่วในการแยกแยะธรรมลักษณะนานาประการ เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องได้ จักเป็นผู้ตั้งอยู่ได้อย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนใน "ธรรมอันเอก"(กล่าวคือถิ่นอันสงบเย็นของพระอริยะหรือนิพพาน)
ที่มา: หนังสือ สูตรเว่ยหล่าง แปลเป็นภาษาไทยโดยท่านพุทธทาสภิกขุ
ช่วงนี้ ผู้เขียนอ่านหนังสือ สูตรเว่ยหล่าง ซึ่งกล่าวถึง ชีวประวัติของท่านเว่ยหล่าง
เพื่อนๆที่รู้จักกัน ส่วนใหญ่อ่านหนังสือเล่มนี้
ผู้เขียนค่อยๆอ่านทีละบท ระหว่างการอ่านก็เทียบเคียง
หนังสือเล่มนี้ น่าสนใจมาก และเป็นหนังสือที่ยืนยันได้
วันนี้ขอหยิบยกข้อความบางตอ
บทความที่ 6
• ในการแปลคำว่า "สมาธิที่ถูกวิธี" คนพวกที่งมงายอยู่ภายใต้อวิ
• การเฝ้าระวังจิตของตนให้นิ่
• มันเป็นจารีตในนิกายของเรา ในการที่จะถือเอา"ความไม่เป
• "ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยข
• "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของว
• "ความไม่ข้องติด" นั้น หมายถึง ลักษณะเฉพาะแห่ง จิตเดิมแท้ ของเรานั่นเอง
• ผู้ที่คล่องแคล่วในการแยกแย
ที่มา: หนังสือ สูตรเว่ยหล่าง แปลเป็นภาษาไทยโดยท่านพุทธท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น