วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

วิสาขบูชา เนปาล

วันวิสาขปีนี้ต้องเตรียมตัวไปทำบุญใหญ่ กับทีม Hands 4 Nepal มีคุณหญิงหน่อยกับท่านเจ้าคุณเทพโพธิวิเทศเป็นผู้นำไปทำบุญที่เนปาล ตลอดเวลา1เดือนที่ผ่านมา เราได้รับโอกาสที่ดีมากจากพี่สัมพันธ์และคุณหมอ พล.อ.ต.อิทธพร ให้ไปทำงานในฐานะแพทย์อาสาแพทยสภา สะพายย่ามตามพระ ช่วยเหลือกิจการของพระธรรมทูต อินเดีย-เนปาล ที่ทำงานหนักอย่างมากที่ส่งอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เต้น ที่อยู่อาศัย ครบปัจจัยสี่ให้กับชาวเนปาลผู้ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหว ในเกือบทุกพื้นที่ก็ว่าได้ การช่วยเหลือกระ ทำทั้งการมอบปัจจัยสี่ การดูแลร่างกายจากคณะแพทย์อาสา และดูแลทางด้านจิตใจเช่นการพูดคุยไต่ถาม การสวดมนต์ให้พร ให้กำลังใจทุกๆทางที่พวกเราจะสามารถกระทำได้ แม้ในช่วงหลังของโครงการนี้แพทย์เราจะไม่มีโอกาสได้ตรวจรักษาผป.แล้วก็ตาม เราก็ยังเป็นผู้ช่วยที่ดีในการให้ความอบอุ่นทางใจแก่พวกเขา ทั้งแบกของแจกทาน แจกขนม เล่นกับเด็กๆสารพัด ที่แพทย์ไทยจะกระทำได้ ทั้งหมดนี้ก็มาจากสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งเดียวคือ ดวงใจที่บริสุทธิ์ จากคณะแพทย์ทุกๆท่านที่ตั้งใจจะหยิบยื่นความช่วยเหลือที่ดีที่สุดให้กับผู้ เดือดร้อนเหล่านั้น
วันวิสาขบูชาปีนี้เราคงทำบุญด้วยการเอาการปฏิบัติบูชาด้วยแรงกายแรงใจนี้มอบ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา กราบแทบพระบาทพระพุทธองค์ ด้วยเครื่องบูชาอันคณะแพทย์ได้กระทำอย่างดีที่สุดแล้วนี้แทนการทำอย่างอื่น แล้ว
หลังวันวิสาขะหนึ่งวันคือในวันที่2นี้เราจะกลับไปอีกครั้ง ไปมอบทาน ไปเยี่ยม และหาแนวทางให้ความช่วยเหลือด้วยการสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้ผู้ประสบ ภัยได้หลบฝนที่กำลังจะมาในฤดูฝนเดือนมิถุนายนนี้ ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้มีส่วนในมหาทาน มหากุศลอันยิ่งใหญ่นี้ไม่ว่าท่านจะได้ไปเนปาลหรือไม่ก็ตาม การกระทำของท่านได้ถึงมือของผู้ประสบภัยผู้เดือดร้อนเหล่านั้นแล้ว และเขาเหล่านั้นก็ซาบซึ้งและกล่าวขอบคุณฝากพวกเรามาโดยตลอด ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

https://www.youtube.com/user/MrArramboy

รูปภาพ: รูปภาพ: รูปภาพ: https://www.youtube.com/user/MrArramboy








หมอนักบุญ 2 B2.mp4

การดู 285 ครั้ง7 ปีที่ผ่านมา


หมอนักบุญ 2 B3.mp4

การดู 645 ครั้ง7 ปีที่ผ่านมา


หมอนักบุญ 2 B1.mp4

การดู 91 ครั้ง7 ปีที่ผ่านมา


หมอนักบุญ 1 B1.mp4

การดู 275 ครั้ง7 ปีที่ผ่านมา


หมอนักบุญ 1 B2.mp4

การดู 165 ครั้ง7 ปีที่ผ่านมา


หมอนักบุญ 1 B3.mp4

การดู 156 ครั้ง7 ปีที่ผ่านมา

แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่




โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคปากแหว่งเพดานโหว่หลังผ่าตัดแล้ว โอกาสที่จะเกิดโรคปากแหว่งเพนดาโหว่
                 โรคปากแหว่งเพดานโหว่
แนวทางการรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่
                           โดย นพ.ปิโยรส ปรียานนท์
         เริ่มจากบิดา มารดา ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จะต้องได้รับการแนะนำจากกุมารแพทย์ ถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ในการเกิดโรคนี้ทางพันธุ์กรรม ทำให้มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่มากขึ้นในครอบครัวที่มีประวัติความผิดปกติ ปากแหว่ง เพดานโหว่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะร้ายแรงขนาดไม่สามารถแต่งงานหรือมีบุตรได้เลย ต่อจากนั้น ก็จะต้องได้รับการแนะนำในการปฏิบัติการเลี้ยงดูเด็กในระยะแรก การวางแผนการรักษาดูแลร่วมกับแพทย์ ความรู้เรื่องการทานอาหาร (feeding) เด็กเพดานโหว่จะต้องนั่งศีรษะสูง เวลาทานจะได้ไม่สำลัก จุกนมต้องยาว รูออกของน้ำนมจะต้องใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เด็กจะได้ดูดสะดวก และไม่ดูดเอาอากาศเข้าไปมากซึ่งจะทำให้แน่นท้อง หลังดูดนมจะต้องอุ้มเด็กให้ศีรษะอยู่สูงนาน ๆ จนเด็กเรอ เสร็จแล้วจึงนอน อาหารต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับเด็กเหล่านี้
เมื่อ ถึงเวลาจะต้องรับการผ่าตัดแก้ไข จะต้องเตรียมตัวเด็กให้พร้อม แข็งแรง ไม่มีไข้ ไอ น้ำมูก หรือการติดเชื้อโรค เพื่อจะให้ได้ผลการรักษาผ่าตัดที่ดีที่สุด หลังการผ่าตัดจะต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดี ต้องระมัดระวัง ไม่ให้แผลมีการฉีกขาดหรือกระทบกระเทือน จึงจำเป็นต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพราะมักจะต้องผ่าตัดตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 3 เดือน - 1 ปี เป็นต้น เด็กยังดูแลตัวเองไม่ได้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลเรื่องช่องปากเป็นพิเศษ เมื่อฟันเริ่มขึ้น ถึงเวลาต้องแปรงฟันทำความสะอาดช่องปาก ควรพบทันตแพทย์เด็กให้ช่วยแนะนำ รวมทั้งทันตแพทย์จัดฟัน ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมสำหรับเด็กบางราย เพื่อช่วยเตรียมการเจริญเติบโตของฟันและเพดาน (ARC) เวลาในการผ่าตัดแก้ไขเพดานโหว่สำคัญมาก เพราะต้องแก้ไขก่อนเด็กหัดพูด ถ้าทำหลังจากนั้นเด็กจะพูดไม่ชัด แต่ถ้าทำเร็วเกินไปก็อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้า เสร็จจากการผ่าตัดเพดานแล้ว เด็กจะต้องได้รับการอบรม การสอนการพูดให้ชัดเจน โดยอรรคบำบัด (Speech therapy) เพื่อเตรียมการและฝึกอวัยวะต่าง ๆ ในการพูดให้เหมือนปกติที่สุด โดยจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์และทันตแพทย์ การฝึกพูดจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละพื้นที่ จากการใช้ภาษา วัฒนธรรม และพื้นฐานการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการวางแผนการรักษาต่อเนื่อง ปัญหาอื่น ๆ เช่น ความพิการทางหู การอักเสษของหูส่วนกลาง ความพิการซ้ำซ้อนอื่น ๆ ก็ควรจะได้รับการเอาใจใส่ดูแลร่วมกัน
        Link    http://www.duangkaew.ksc.net

งานศพคุณแม่สินทรา

อยากให้แพทย์และว่าที่แพทย์ทุกคนได้อ่านครับ


   เรื่องของนายแพทย์ปิโยรส

ผู้อ่านท่านที่เคารพ ในชีวิตของคนเรานี่นะครับ บางครั้งก็อดไม่ได้
ที่จะแอบศรัทธาและภูมิใจในการกระทำของคนอื่น ผมเองก็ชื่นชมศรัทธาผู้คนอยู่หลายท่าน
หนึ่งในนั้นก็คือ นายแพทย์ ปิโยรส ปรียานนท์ เจอคุณหมอครั้งแรกเมื่อผมไปสอนที่
วิทยาลัยการทัพเรือซึ่ง ตอนโน้นคุณหมอเป็นนายทหารนักเรียนอยู่
หลังจากนั้นคุณหมอซึ่งเป็น ประธานมูลนิธิดวงแก้วก็ชวนผมไปหลายประเทศเพื่อนำทีมหมอไทย
ไปช่วยผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ผมได้แต่ส่งลูกน้องไป
ไม่เคยร่วมเดินทางกับคุณหมอและทีมงานมูลนิธิดวงแก้วซักที

เมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มเอเชียและแอฟริกา
คุณหมอและทีมงานมูลนิธิขนเครื่องใช้และอุปกรณ์การแพทย์
เดินทางไปช่วยเหลือผู้ประสบพบเคราะห์กรรมอย่างเงียบๆ
แต่ละวันทีมงานของคุณหมอทำแผลให้คนไข้จนถึงตีห้า คลื่นยักษ์สึนามิเกิดในวันที่ 26
คุณหมอลงไปช่วยจนวันที่ 30 ธันวาคม ก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าคุณแม่ป่วยหนัก
จึงต้องขึ้นกรุงเทพฯเพื่อมารักษาคุณแม่

คุณแม่หายดีแล้ว คุณหมอก็ลงไปช่วยเพื่อนมนุษย์อีก สถานการณ์
ในเมืองไทยได้รับการช่วยเหลือจาก ผู้คนในประเทศดีกว่าชาติอื่น
คุณหมอก็จึงเตรียมข้าวของมากถึง 5 ตัน นำบินตรงลงไปยังประเทศศรีลังกา

ผมเจอคุณหมอโดยบังเอิญบนเครื่องบิน และยังได้พบกันอีกครั้งในขณะที่คุณหมอและ
ทีมงานปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบพบเคราะห์กรรมอยู่ที่ตำบลกัลมุไนคูดี
ซึ่งที่นี่เป็นเขตอิทธิพลของพยัคฆ์ทมิฬอีแลม พวกกบฏแบ่งแยกดินแดน

คุณหมอและทีมงานบรรจุยากันจนถึงตีสองตีสาม กลางวันก็ตระเวนไปตาม คามนิคมต่างๆ
ทุกท่านใส่เสื้อที่มีธงชาติไทยติดไว้ที่หน้าอก ไปทางไหนผมได้ยินแต่ผู้คนส่งเสียงชื่นชม
ไทยแลนด์ด็อกเตอร์ๆๆๆ มีแต่ไทยด็อกเตอร์เท่านั้นที่ไปได้ถึงผู้คนในชนบท
บางครั้งทีมของคุณหมอก็เจออุปสรรคในการทำงาน
เพราะทหารศรีลังกาต้องการสิ่งของบริจาคไปเก็บไว้ (ใช้เอง?) ในค่ายทหาร

นายแพทย์ปิโยรสเป็นหมอที่มีความรู้ดีมากท่านหนึ่ง จบแพทย์จุฬาฯ แล้วก็ไปต่อด้านศัลยกรรม
ที่ญี่ปุ่นอีก 5 ปี และเรียนอีกหลายที่ครับ เช่น
ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โชวะแห่งญี่ปุ่น
เรียนปริญญาเอกทางพันธุวิศวกรรมการแพทย์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ไปศึกษาเน้นด้านศีรษะและ
คอที่ศูนย์มะเร็งแห่งชาติชิบะ จากนั้นได้ทุนไปต่อที่ศูนย์การแพทย์เมาท์ไซนายที่นิวยอร์ก
พันธุวิศวกรรมการแพทย์ ที่เอ็มไอที และยังทำวิจัยต่อที่มหาวิทยาลัยลอนดอนของอังกฤษ ฯลฯ

คุณสมบัติชั้นยอดและมันสมองชั้นเยี่ยมอย่างคุณหมอปิโยรสนี่ มีแต่สถาบันการแพทย์ดังๆ
ของโลกอยากได้ตัว ในวัย 46 ปี ขณะนี้คุณหมอมีโอกาสทำเงินได้มาก
แต่คุณหมอกลับทำตัวเรียบง่าย ในสมองสนใจแต่ว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
ได้อย่างไรแต่เพียงเท่านั้น ช่วยโดยไม่สนใจว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาไหน
และที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่อยากเป็นข่าว ไม่ต้องการประชาสัมพันธ์
ปรารถนาที่จะมีชีวิตเรียบๆเงียบๆ แต่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากสึนามิของทางการศรีลังกาคือ 30,721 คน แต่คุณหมอและผมเชื่อว่า
ในความเป็นจริงมีมากกว่านั้นเยอะ เพราะบางที่มีการฝังโดยไม่มีการนับจำนวนและ
ไม่ได้แจ้งทางราชการ ในการเดินทางไปศรีลังกาครั้งนี้
ผมยังบังเอิญได้พบกับทีมขององค์การอนามัยโลก ที่ส่วนใหญ่ขับรถยนต์ไปตรวจตราแล้วก็
(อาจจะ) เขียนรายงาน โดยไม่ได้ลงไปช่วยเหลือชาวบ้านจริงๆอย่างทีมมูลนิธิดวงแก้ว

คนเราดวงจะเจอกันครับ ผมเจอคุณหมอปิโยรสโดยบังเอิญอีกครั้ง
ขณะที่กำลังนั่งรอเครื่องบินที่กรุงโคลัมโบ คุณหมอต้องรีบบินกลับเมืองไทย
เพราะมีโทรศัพท์แจ้งว่าอาการของคุณแม่เข้าขั้นวิกฤติ

เราถึงเมืองไทยในเวลาเที่ยงของอังคารวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 คุณหมอรีบตรงดิ่ง
ไปยังโรงพยาบาล ได้กราบเท้าคุณแม่ซึ่งกำลังป่วยหนัก พอได้พบหน้าลูกชาย คุณสินทรา
ปรียานนท์ ก็จากโลกนี้ไปเมื่อเวลา 17.00 นาฬิกา

ศพคุณแม่ของคุณหมอปิโยรสตั้งอยู่ ณ ศาลา 7 วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ

คุณแม่สินทราจากโลกนี้ไปแล้ว

โดยทิ้งลูกชายไว้ช่วยมนุษยชาติ. 


Posted by : GraveDigger , Date : 2005-01-23 , Time : 01:48:48 , From IP : 172.29.4.113