วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การมอบของขวัญและเครื่องกันหนาว ให้เพื่อนๆพี่น้องในชนบท ตำบล ปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ 5 ธค 63

 ร่างกำหนดการมอบของขวัญและเครื่องกันหนาว

ให้เพื่อนๆพี่น้องในชนบท ตำบล ปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ
วันพ่อ 5ธค. เรามาทำบุญถวายพ่อหลวงกันครับ
เช้าออกจากกทม. เดินทางไปกาญจนบุรี อ.ทองผาภูมิ เพื่อลงแพ ข้ามทะเลสาปเขื่อนเขาแหลม มุ่งหน้าสู่ชายแดนชนบทตำบลปิล๊อก นำของขวัญและเครื่องกันหนาวไปมอบให้เด็กๆและชาวบ้านที่ขาดแคลน เสร็จแล้วกลับมาทานอาหารกลางวันกันบนแพกลางทะเลสาป เสร็จจึงเดินทางไปกราบนมัสการพระธาตุโปอ่อง ปฏิบัติภาวนากันพอสมควรก็เดินทางกลับ ชื่นชมกับวิวทะเลสาปอันสวยงามของเขื่อนเขาแหลมชายแดนตะวันตกของประเทศไทย กลับมาถึงทองผาภูมิ ถ้ามีเวลาเราก็จะไปกราบพระธาตุและรอยพระพุทธบาทที่วัดท่าขนุน ก่อนเข้าพักตั้งเต็นท์รับลมหนาวกันที่วัดป่าบัวแก้วฯ(วัดที่สร้างถวายองค์หลวงตามหาบัว) ตกเย็นพากันสวดมนต์ภาวนาถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
เช้าตีห้าครึ่งออกเดินทางขึ้นเขาไปกราบนมัสการและปฏิบัติภาวนาบนพระธาตุบัวแก้ว รอชมทะเลหมอกยามเช้า เสร็จแล้วลงมาถวายจังหันพระสงฆ์ที่วัด ทานอาหารก้นบาตร แล้วออกเดินทางไปซื้ออาหารเลี้ยงสรรพสัตว์ที่วัดป่าหลวงตาบัว(วัดเสือ) ต่อด้วยทานอาหารป่าเมืองกาญ ที่ครัวอาสา เสร็จก็เดินทางไปนครปฐม กราบนมัสการพระปฐมเจดีย์และพระประโทนเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์สมัยเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย พากันปฏิบัติภาวนาก่อนเดินทางกลับ ธรรมวิภาวัน
5 ธ.ค. 2563 กทม.-ทองผาภูมิ
05.00 น. ธรรมวิภาวัน
07.00 น. รับประทานอาหารเช้า
09.00 น. เดินทางไปลงแพที่ทองผาภูมิ-จุดนัดพบ
10.30 น. เดินทางเข้าหมู่บ้านปอสามต้น มอบของขวัญ+เครื่องกันหนาว
11.30 น. กลับมารับประทานอาหารกลางวันบนแพ
13.30 น.กราบนมัสการ พระธาตุโบอ่อง ปฏิบัติภาวนา และถวายปัจจัยไทยธรรม
15.00 น. เดินทางกลับทองผาภูมิ ถ้ามีเวลา พาคณะนมัสการรอยพระพุทธบาทวัดท่าขนุน
17.00 น. วัดป่าบัวแก้ว ญาณสัมปันนุสรณ์
19.30 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น นั่งภาวนาถวายพระกุศลให้ ร.9
ณ พระบรมธาตุเจดีย์ ญาณสังวรานุสรณ์
6 ธ.ค. 2564 ทองผาภูมิ- นครปฐม-กทม.
06.00น. ชมทะเลหมอก-ปฏิบัติภาวนา ณ พระธาตุบัวแก้ว
08.00 น. ถวายจังหันพระสงฆ์วัดป่าบัวแก้ว
09.30 น. เดินทางออกจากวัดป่าบัวแก้วฯ
11.00 น. ทำบุญ ซื้ออาหารให้เหล่าสัตว์ที่วัดเสือ(วัดป่าหลวงตาบัว)
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่ครัวอาสา
15.00 น. นมัสการพร้อมปฏิบัติภาวนา ณ องค์พระปฐมเจดีย์
16.00 น. นมัสการพร้อมปฏิบัติภาวนา ณ องค์พระประโทนเจดีย์
19.00 น. เดินทางถึงธรรมวิภาวัน
รายละเอียดสถานที่
***ปิล๊อก เป็นตำบลในอำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี การตั้งถิ่นฐานหลักของบ้านไอตองเป็นหมู่บ้านห่างไกลบนชายแดนพม่าและล้อมรอบด้วยอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิซึ่งใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบล ปิล๊อก
*** “เจดีย์พระธาตุโบอ่อง” ตั้งอยู่ที่ วัดพระธาตุโบอ่อง หมู่ 2 ตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นวัดเก่าแก่ และเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านชาวกระเหรี่ยงพุทธที่อาศัยอยู่โดยรอบ (สามารถเดินทางโดยทางเรือเพียงเท่านั้น) สร้างบนยอดเขาหินปูนที่มีบ่อน้ำล้อมรอบเจดีย์สูง 6 เมตร ฐานกว้างประมาณ 3x3 เมตร บริเวณบ่อน้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ บริเวณวัด ในเกาะโบอ่องในอุทยานแห่งชาติเขาแหลม เป็นพระธาตุที่เป็นศิลปะแบบมอญพม่าทาสีทองไม่ทราบว่าสร้างมาแต่สมัยใด ข้างองค์พระธาตุมีหอระฆัง มีระฆังแขวนอยู่ ชาวบ้านเล่าต่อกันมาว่าเป็นระฆังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชทานไว้ให้แขวนคู่กับพระธาตุโบอ่อง
พระธาตุบัวแก้ว พระธาตุทันใจที่สร้างเสร็จใน 12 ชั่วโมง(12 พ.ค.2560-ครบ83ปี วันอุปสมบทองค์หลวงตา) ตั้งอยู่กลางวัดป่าบัวแก้ว ญาณสัมปันนุสรณ์ที่สร้างเป็นอนุสรณ์ให้หลวงตาพระมหาบัว ถวายเป็นพระธาตุคู่กับองค์พระบรมธาตุเจดีย์ญาณสังวรานุสรณ์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดเดียวกัน
พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย องค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบันนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ
พระประโทณเจดีย์ เป็นเจดีย์สมัยทวารวดี มีรูปแบบเดิมเป็นทรงโอคว่ำ มีการขุดพบวัตถุโบราณจำนวนมากที่วัดแห่งนี้ เช่น พระพุทธรูป เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น พระดินเผา รวมทั้งโลหะสำริดรูปพญาครุฑเหยียบนาค ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงใช้เป็นเครื่องหมายราชการของพระองค์







วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เจดีย์ (ภาษาบาลี : เจติย , ภาษาสันสกฤต : ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี : ถูป , ภาษาสันสกฤต : สฺตูป

 




ไฟล์:ด้านหลังเจดีย์ ณ วัดใหญ่ชัยมงคล.jpg - วิกิพีเดียมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” งานบุญใหญ่เดือนสามที่เมืองนคร

Thai Local Travel GuidePANTIP.COM : E13045055 (CR)เรือนแก้วสัญจร...กิน เที่ยว ชิลชิล สบายๆ  เชียงใหม่ลำพูน [บันทึกนักเดินทาง]

 

 

culture55020497

 

เจดีย์ (ภาษาบาลี : เจติย ภาษาสันสกฤต : ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี : ถูป , ภาษาสันสกฤต : สฺตูป) 

 

1.ตำราในพระพุทธศาสนากำหนดว่า พระเจดีย์ หรือ เจดีย์ มี 4 ประเภท 

  1. ธาตุเจดีย์ สิ่งก่อสร้างบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์พระปรินิพพาน
  2. บริโภคเจดีย์ สังเวชนียสถานอันเป็นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า
  3. ธรรมเจดีย์ คาถาที่แสดงพระอริยสัจ หรือ คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก
  4. อุเทสิกะเจดีย์ ของที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศแด่พระพุทธเจ้า ไม่กำหนดว่าจะต้องทำเป็นอย่างไร เช่น สร้างบัลลังก์ให้หมายแทนพระพุทธองค์

การที่เจดีย์มีความหมายครอบคลุมอย่างกว้างขวางดังที่กล่าวข้างต้น จึงพ้องกับความหมายของคำว่า สถูป ที่บ่งบอกถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ ด้วยเหตุนี้ สถูปจึงใช้แทนเจดีย์เป็นเช่นนี้ในประเทศอินเดียสมัยโบราณมาแล้ว

ในสมัยสุโขทัย คำว่าสถูปและเจดีย์ใช้ควบคู่กัน ดังปรากฏในจารึกบางหลัก เช่น พระยามหาธรรมราชา ก่อ พระธาตุ หรือกล่าวถึง พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งล้วนมีความหมายเดียวกับเจดีย์ แม้ในปัจจุบันนักวิชาการก็ยังเรียกพระสถูปเจดีย์เป็นคำคู่[3]

พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐฯ เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2223 กล่าวถึงสมัยต้นกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งย่อมหมายถึงพระเจดีย์ทรงปรางค์ องค์ที่เป็นประธานของวัดมหาธาตุ ซึ่งปัจจุบันยอดทลายลงแล้ว

ทางภาคเหนือ มีเอกสารเขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ได้ใช้คำว่า พระธาตุทรงปราสาท และมีการใช้คำว่า พระธาตุ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุหริภุญชัย

ทางภาคอีสาน มีคำว่า พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุเชิงชุม พระธาตุศรีสองรักษ์

ทางภาคใต้ มีคำเรียกว่า พระบรมธาตุ เช่น พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

ส่วนคำว่า กู่ ก็หมายถึงสถูป หรือ เจดีย์ด้วยเช่นกัน มีที่ใช้ทางภาคเหนือ เช่น กู่เจ้านายวัดสวนดอก ทางภาคอีสานก็มีเช่น ปราสาทปรางค์กู่ ปรางค์กู่ กู่พระสันตรัตน์ กู่กาสิงห์ ยังมีที่ใช้ในประเทศพม่า ซึ่งหมายถึงเจดีย์แบบหนึ่งด้วย

การสร้างเจดีย์นอกจากจะมีความหมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีประเพณีบรรจุสิ่งของมีค่า รวมทั้งพระพิมพ์จำนวนมาก ไว้ในกรุขององค์เจดีย์ ซึ่งมีนัยว่าเป็นการสืบทอดพระศาสนา

2.  เมื่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ได้เข้ามาประดิษฐานในกรุงสุโขทัย จึงได้มีการสร้างเจดีย์ตามวัฒนธรรมพระพุทธศาสนา แต่ได้มีการประดับตกแต่ง ตามแบบของสุโขทัย โดยยังมีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วน และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา องค์ประกอบนี้ก็เช่นเดียวกับสมัยอยุธยาแต่มีการพัฒนาการขึ้น และมีองค์ประกอบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา รวมถึงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่างให้เข้ากับวัฒนธรรม โดยรวมมีความหมายเดิม

  1. ฐานเขียง ฐานชั้นล่างสุด ยกพื้นเจดีย์ให้สูงกว่าพื้นดิน
  2. ฐานปัทม์ หรือฐานบัว (ปทุม) แสดงถึงดอกบัวที่รองรับพระพุทธเจ้าในทุกอิริยาบถของพระพุทธองค์
  3. บัวถลา เป็นลักษณะที่รับมาจากลังกาแต่เอาชั้นบัวหงายออก
  4. บัวปากระฆัง เป็นฐานบัวชั้นบน
  5. องค์ระฆัง หรือ เรือนธาตุ บรรจุพระพุทธรูป หรือพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมอัฐิ และพระอัฐิ
  6. บัลลังก์ คงความหมายเดิม
  7. ก้านฉัตร เป็นก้านของฉัตร (ตามความหมายเดิม)
  8. บัวฝาละมี บัวคว่ำด้านบน กางกั้นฉัตรให้เรือนธาตุ
  9. ปล้องไฉน เปรียบเสมือนตัวฉัตร (ตามความหมายเดิม)
  10. ปลียอด ชี้ขึ้นฟ้า เส้นทางสู่พระนิพพาน
  11. หยาดน้ำค้าง หมายถึงรัตนะ


   3. รูปแบบหรือทรงต่าง ๆ ของเจดีย์

3.1เจดีย์ทรงปราสาท

3.2เจดีย์ทรงปรางค์

3.3เจดีย์ทรงระฆัง

3.4เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

3.5เจดีย์ทรงเครื่อง

3.6เจดีย์ย่อมุม

 

4.  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้บัญญัติคำว่า จอมเจดีย์ ขึ้นมา โดย ตรัสแก่สมเด็จพระวันรัต (กิตตโสภโณเถระ) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อ พ.ศ. 2485 ว่า "การที่ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งพระบวรพุทธศาสนา ทำให้มีพุทธสถานกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีอายุและแบบศิลปกรรมแตกต่างกันตามคตินิยมและยุคสมัย ในบรรดาปูชนียสถานนับร้อยนับพันมีเพียง 8 แห่งเท่านั้นที่ควรค่าแก่การยกย่องให้เป็น จอมเจดีย์ แห่งสยาม"

จอมเจดีย์ ที่สำคัญของสยามทั้งหมด 8 องค์ โดยกำหนดให้เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 โดยว่าจ้างให้กรมศิลปากรออกแบบและเขียน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2489 ภาพสถูปเจดีย์ทั้ง 8 องค์ ที่กำหนดให้เขียนขึ้นมีดังนี้

  1. พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างก่อนองค์อื่นในแคว้นล้านนาไทย
  2. พระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เหตุเพราะเป็นเจดีย์องค์แรกในการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
  3. พระเจดีย์ช้างล้อม ศรีสัชนาลัย เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างเฉลิมพระเกียรติ
  4. พระธาตุพนม เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างก่อนองค์อื่นในภาคอีสาน
  5. พระศรีรัตนมหาธาตุละโว้ เหตุเพราะเป็นสถูปองค์แรกในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในสยามประเทศ
  6. พระเจดีย์ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเฉลิมพระเกียรติเมื่อครั้งทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชแห่งกรุงหงสาวดี
  7. พระปฐมเจดีย์ เหตุเพราะสร้างเมื่อแรกพระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในสยามประเทศ
  8. พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เหตุเพราะเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อพุทธศาสนาลังกาวงศ์สถาปนาในสยามประเทศ