วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จาริกบุญผ้าอาบ วัดป่าถ้ำเต่า ลป.บุญมี -9-( 5 กค.63 )









กราบทำวัตร พ่อแม่ครูอาจารย์ 
ถวายผ้าอาบ/เทียนพรรษา ลป.บุญมี ถ้ำเต่า

วัดที่เก้าของทริปนี้ แต่เราส่งของไทยธรรมต่างๆมาฝากไว้ที่วัดก่อนแล้ว และยังรบกวนครูจารย์บุญมีขอพักภาวนาที่วัดท่าน สองคืนด้วยคือระหว่าง  5-6 ก.ค.63

เย็นวันแรก เราเข้าทำวัตรสวดมนต์ที่ศาลาใหญ่ชั้นล่างร่วมกับพี่ๆน้องๆในวัดตั้งแต่หนึ่งทุ่มจนสามทุ่ม เสร็จแล้วก็เข้าที่พักสนทนาธรรมและนั่งภาวนากันจนเช้า

6ก.ค. ใส่บาตร เสร็จก็ออกไปกราบครูจารย์ จรรเรียน 
ครูจารย์วันชัย หลวงปู่เสน ท่านโบ้ย ก่อนกลับไป
ประชุมเรื่องก่อสร้างอาคาร 72ปี พระอาจารย์บุญมี ณ รพ.หนองวัวซอ ตอน17.30น. ประชุมเสร็จก็ไปวางผัง
เพื่อจัดงานวางศิลาฤกษ์ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 สค.ศกนี้
กลับมาจากรพ.ก็เข้าทำวัตรสวดมนต์  ขอขมาพ่อแม่ครูบาอาจารย์บุญมี พร้องพระสงฆ์และพี่น้องในวัดถ้ำเต่าพร้อมกัน
สี่ทุ่มกลับที่พักภาวนาต่อจนเช้าเช่นเคย ก่อนนั่งภาวนาได้สนทนาธรรมกันเรื่องจุดมุ่งหมายและการเินไปในเส้นทางแห่งธรรมที่พระบรมศาสดาชี้นำไว้ สรุปย่อเป็น  D D L S C
Destination,  Direction, Location, Solution, Check / Verify 

เช้า 7 กค. ใส่บาตร เสร็จ บนศาลาท่านให้ธรรมะโอวาท เสร็จแล้วพาคณะเราไปสวนป่ามอกระโดน ที่ท่านรับไว้เป็นวัดสาขาแห่งใหม่ โดยมีพระอจ.อ็อดมาช่วยดูแล เจ้าของที่ที่ช่วยประสานงานดูแลคือคุณหนุ่ย  ครูจารย์บุญมีท่านปรารภว่าควรจัดซื้อที่หน้าวัดเสีย ดีกว่าให้ชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนอยู่ เพราะจะเป็นการรบกวนพระในการปฏิบัติภาวนาได้ ท่านให้มูลนิธิรับผิดชอบกฐินวัดแห่งนี้ในปีนี้ ให้เป็นวันเดียวกับถ้ำเต่าแต่เป็นช่วงบ่าย หาปัจจัยซื้อที่ดินหน้าวัดและก่อสร้างเสนาสนะในวัดให้เป็นที่สัปปายะต่อการภาวนาของพระต่อไปด้วย

บางส่วนของธรรมะโอวาทของท่านอจ.บุญมี

1.  สัญญาอนิจจา
กะเกณฑ์อะไรไม่ได้ เป็นอนิจจัง 
การจะรู้จะเข้าใจได้ ต้องฝึกบ่อยๆรู้เห็นอะไรให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำบ่อยๆ 
ชาวพุทธต้องมีหลักต้องจำก่อน ปัญญามาทีหลัง 
อภิญญา= รู้ยิ่ง (ท่านจุลบัณธก)

2.  ความไม่ประมาท = การรู้จักเตรียมพร้อมในธุระ/กิจต่างๆ 
ธรรมะชุดเตรียมพร้อมของหลวงตา เป็นธรรมะที่สรุปไว้พร้อมมูลสำหรับฆราวาส 
เคารพในความไม่ประมาทในทุกเรื่อง/ในชีวิต/ในความไม่มีโรค/ในอายุ/ฯ 
ระวังในทุกเรื่อง มีสติ มีสัมปชัญญะ 


3. อธิวาสนขันติ อดทนอย่างยิ่ง(ทนเจ็บใจ /ความสบประมาท/การส่อเสียด/คำดูถูก/ดูหมิ่น)

ขอนิสัย (ขอพึ่งพิง ให้สอน ให้บอก โดยวินัย โดยธรรม)ปกติจะขอนิสัยกับอจ. อุปัชฌาย์ไม่ต้อง
ภาระของผมเป็นหน้าที่ของอจ./ภาระของอจ.เป็นหน้าที่ของผม

3. แรม1ค่ำเดือน8    วันเริ่มอธิษฐานพรรษา

กรอบของพุทธบริษัทคือศีล5/8 ต้องให้บริสุทธิ์
หลักที่พระพุทธเจ้าให้เพื่อให้ทำความดี ไม่ทำตามใจชอบซึ่งจะทำผิดได้ง่าย
ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง/ผู้อื่น อยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม
ดูแลใจให้ดี ไม่เบียดเบียนใคร เพราะจะก่อทุกข์โทษต่อตัวเองและคนอื่น

4. ศีลเป็นวัคซีน ป้องกันตัณหา    
กาย/ใจเป็นก้อนทุกข์
การปฏิบัติคือให้ย้อนมาดูที่จิตของเราเนืองๆว่าอยู่ในกรอบ ในขอบ2ข้าง ทางข้างหน้า
คือมรรคผลนิพพาน ถ้าออกนอกกรอบไปซ้าย/ขวา ก็ไม่ถึง ถ้าหันไปมากลับหลังหัน ยิ่งจะไปไม่ถึง

สิ่งที่ทำให้ออกนอกทางคือ ความเห็นแก่ตัว เป็นสิ่งที่สั่งสมมา
สั่งสมกรรมไม่ดีมาตลอดแต่มาอยู่ในทางที่ดี ก็จะชะลอความไม่ดีได้

5.  มโน=น้อม
กิเลสตัณหา มักจะรีบสนอง ไม่ทันใช้ปัญญาพิจารณา
การปฏิบัติธรรมคือมาล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไป เป็นคนดีไปเรื่อยๆ ผลจะได้อย่างที่ชอบใจชัดเจน ตรงแน่ว ไปนิพพาน 
ละชั่ว ทำดีแล้ว ต้องทำใจให้บริสุทธิ์ เพื่อออกไปจากโลกนี้ได้

ความละเอียดของจิต จะพาไปเกิดในภพภูมิชั้นต่างๆ ฉะนั้น ละชั่ว ทำดี จึงไม่พอ ต้องชำระใจให้บริสุทธิ์ด้วย

6. บุญ กุศล ภาวนา เป็นแรงของใจ
ทุกคนต้องได้รับวิบากกรรมทุกคน แม้พระพุทธเจ้าเอง แต่ด้วยบุญที่สั่งสมมาจะมาช่วยได้(ตอนกระหายน้ำ)

เรามีการจำพรรษา เพื่อเร่งความเพียร เป็นอุบายวิธีให้ตั้งใจภาวนา ตั้งกรอบไว้เพื่อแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้น

ทุกคน นักปราชญ์ บัณฑิต ล้วนต่างกลับตัวกลับใจ ได้ดีทั้งนั้น เช่นพระเจ้าอโศก องคุลีมาน นางสุชาดาภรรยามักฆะมานพ พระโมคคัลลานะ พระเทวทัต (จะเป็นปัจเจกพระพุทธเจ้า)

ถ้าตายขณะจิตไม่ดี จะไปเป็นสัตว์เดียรัจฉานได้
การเป็นญาติกับพระพุทธศาสนาคือการมีลูกมีหลานแล้วให้บวช

กรรมจะตามจองเวรกันไป จงอโหสิกรรม จะได้ไม่ต้องพบเจอในสิ่งไม่ดีกันนะ




ไม่มีความคิดเห็น: