วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พิธีการ-พิธีกรรม

พิธีการ-พิธีกรรม
                                               นิทัศน์ พงษ์บุปผา
            พิธีกรรม  มีทั้งที่เป็นพิธีการและไม่เป็นพิธีการ   ควรทำอย่างไร... เป็นคำถามที่ท่านควรรู้ ผมจึงนำบทความของนาวาเอก สุนทรสันติธัช มาฝากท่านทั้งหลาย  เพื่อความมั่นใจในการประกอบพิธีกรรม

            พิธีการ คือ การกำหนดรายละเอียดของพิธีต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดของพิธีนั้น ๆ จะปรากฏอยู่ในพิธีกรรมทั่วไป เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา กำหนดการพิธีทำบุญประจำปีวันกองทัพเรือ กำหนดการพิธีวางศิลาฤกษ์ เป็นต้น             พิธีกรรม คือ การกระทำพิธีต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งพิธีเล็กพิธีใหญ่ บางพิธีเป็นพิธีการ บางพิธี
ไม่เป็นพิธีการ เช่น พิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย พิธีการศพพิธีสักการบูชา ศาลพระภูมิ เป็นต้น
ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติปรากฏอยู่ในพิธีกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
พิธีทำบุญทั่วไป
            พิธีทำบุญในศาสนาพุทธ มี ๒ พิธี คือ
            
๑. พิธีทำบุญงานมงคล เพื่อเป็นสิริมงคล ความสุข ความเจริญ เช่น ทำบุญขึ้นบ้าน ใหม่งานวันเกิดงานแต่งงาน เป็นต้น
            
๒. พิธีทำบุญงานอวมงคล เพื่อบำบัดความทุกข์โศกปัดเป่าความชั่วร้ายให้หมด ไป เช่น
ทำบุญงานศพแร้งจับที่บ้านรุ้งกินน้ำในบ้าน อาเพศภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น
            พิธีทำบุญทั้ง ๒ พิธีดังกล่าว มีขั้นตอนการปฏิบัติทั้งขั้นเตรียมการและขั้นปฏิบัติการ ส่วนใหญ่เหมือนกัน แต่จะมีความ แตกต่างกันบ้าง โดยบางพิธีตัดบางอย่าง ออกไปบางพิธี เพิ่มบางอย่างเข้ามา ดังนี้
 ขั้นเตรียมการ
            
๑. โต๊ะหมู่บูชา ตั้งด้านขวาอาสน์สงฆ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกทิศเหนือ หรือ ทิศ ใต้ ไม่นิยม
ทิศตะวันตก (เว้นความ จำเป็น) เช่น โต๊ะหมู่บูชาชุดหมู่ ๗ ประกอบด้วย
                        - พระพุทธรูป ๑ องค์
             - แจกันดอกไม้ ๕ แจกัน หรือ พานดอกไม้ ๕ พาน
            - กระถางธูป ๑ ชุด พร้อมธูป ๓ ดอก
            - เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมเทียน ๒ เล่ม
            - เชิงเทียนชนวน ๑ อัน พร้อมเทียน ๑ เล่ม
             ๒. อาสน์สงฆ์ (ที่ยกพื้นสำหรับพระสงฆ์นั่ง) หรืออาสนะ (ที่นั่ง,เครื่องปูรองนั่ง) ตั้งด้านซ้าย
โต๊ะหมู่บูชา (หากจำเป็นตั้งด้านขวาก็ได้) แยกต่างหากจากที่นั่งฆราวาสประกอบ ด้วยโต๊ะ หรือตั่ง เสื่อ
หรือพรม (ใหญ่-เล็ก) หมอนอิง
             
๓. เครื่องรับรอง ประกอบด้วย ภาชนะน้ำร้อน ภาชนะน้ำเย็นกระโถนตั้งไว้ด้าน ขวามือพระสงฆ์
โดยตั้งกระโถนไว้ด้านในสุด ถัดออกมาเป็นภาชนะน้ำเย็น ส่วนภาชนะ น้ำร้อน จัดถวายเมื่อพระสงฆ์เข้านั่งแล้ว
            
๔. ที่นั่งเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน

            - จัดไว้ด้านหน้าอาสน์สงฆ์ แยกต่างหากจากอาสน์สงฆ์
            - ถ้าที่นั่งเนื่องเป็นอันเดียวกับอาสนะ ให้ปูเสื่อ หรือพรมทับผืนที่เป็นที่นั่งฆราวาส
       
๕. ภาชนะน้ำมนต์/เทียนน้ำมนต์/หญ้าคา
            - จัดในงานมงคลทุกชนิด ตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชาด้านขวามือของประธานสงฆ์
            - งานอวมงคล เช่น ทำบุญหน้าศพ๗ วัน๕๐ วัน๑๐๐ วันวันคล้ายวันตาย เป็นต้น
ไม่ต้องจัดภาชนะน้ำมนต์
            - งานอวมงคลเพื่อปัดเป่าความชั่วร้าย เช่น แร้งจับที่บ้านรุ้งกินน้ำในบ้านอาเพศภัยพิบัติ
ต่าง ๆ เป็นต้น ต้องจัดภาชนะ น้ำมนต์
            - เทียนน้ำมนต์ ใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ น้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป
             - หญ้าคา ใช้สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ หากไม่มีจะใช้ใบมะยมแทนก็ได้
            
๖. ด้ายสายสิญจน์
            - งานมงคล ใช้วงรอบบ้านเรือนในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ทำบุญบ้านประจำปีทำบุญปัดเป่า
ความเสนียดจัญไร (อวมงคล) เป็นต้น
            - งานอวมงคลเกี่ยวกับศพ ไม่ใช้ด้ายสายสิญจน์วงรอบบ้านเรือนใช้โยงจากศพมา
เพื่อให้พระสงฆ์บังสุกุล
วิธีวงด้ายสายสิญจน์
                         - งานมงคล เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ เริ่มต้นที่พระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาหรือ หิ้งพระ
ในบ้าน หรือในที่ประกอบพิธีสงฆ์ วงเวียนขวารอบอาคารบ้านเรือน หรือรอบบริเวณ งาน แล้วนำมาวงเวียน
ขวารอบฐานพระพุทธรูป ๑ หรือ ๓ รอบ แล้วโยงมาวงรอบภาชนะน้ำ มนต์ วางกลุ่มด้ายสายสิญจน์
ใส่พานไว้ด้านซ้ายโต๊ะหมู่บูชา
                         - งานมงคลอื่น ๆ ให้วงรอบที่ฐานพระพุทธรูปแล้วโยงมาวงรอบภาชนะน้ำมนต์เลย
วิธีใช้ด้ายสายสิญจน์บังสุกุล
            - งานมงคล หากเชิญโกศอัฐิบรรพบุรุษมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วย จะใช้ด้ายสาย สิญจน์
อีกกลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มเดียวกันนั้น เด็ดให้ขาดจากพระพุทธรูป แล้วเชื่อมโยงโกศอัฐิให้พระสงฆ์บังสุกุล
                        - งานอวมงคล โยงจากศพ จากโกศอัฐิ จากรูปผู้ตาย หรือจากรายนามผู้ตาย
มาให้พระสงฆ์บังสุกุล
       
     ๗. เทียนชนวน อุปกรณ์ประกอบด้วย
            - เชิงเทียนทองเหลืองขนาดกลาง ๑ อัน
            - เทียนขี้ผึ้ง/เทียนไขไส้ใหญ่ ๆ ๑ เล่ม
            - น้ำมันชนวน (เทียนขี้ผึ้ง /เทียนไข ผสมน้ำมันเบนซิน)
       
     ๘. ภาชนะกรวดน้ำ ใส่น้ำสะอาดเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลาใช้
             
๙. การนิมนต์พระสงฆ์ 
            - งานมงคลพิธีหลวง หรือพิธีทางราชการ นิมนต์ ๑๐ รูป
            - งานมงคลพิธีราษฎร์ทุกประเภท รวมทั้งงานมงคลสมรส นิมนต์ ๙ รูป (เลข ๙ ออกเสียง
ใกล้เคียงคำว่า ก้าวŽ, กำลังพระเกตุ ๙พระพุทธคุณ ๙และ โลกุตรธรรม ๙)
            - งานอวมงคลเกี่ยวกับพิธีศพทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ นิมนต์พระสงฆ์เหมือนกัน
            - สวดพระอภิธรรม ๔ รูป
            - สวดหน้าไฟ ๔ รูป
                        - สวดพระพุทธมนต์ ๕๑๐ รูป ตามศรัทธา (พิธีหลวง นิมนต์ ๑๐ รูป)
            - สวดแจง ๒๐๒๕๕๐๑๐๐๕๐๐ รูป หรือทั้งวัด
            - สวดมาติกาบังสุกุล นิยมนิมนต์เท่าอายุผู้ตาย หรือตามศรัทธา
ข. ขั้นปฏิบัติการ
            ๑. การใช้เทียนชนวน
            - การถือเทียนชนวน พิธีกรถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือ ใช้นิ้วมือสี่นิ้ว (เว้นนิ้ว หัวแม่มือ) รองรับฐานเชิงเทียน แล้วใช้หัวแม่มือกดฐานเชิงเทียนเข้าไว้ ไม่นิยมจับกึ่งกลาง เชิงเทียน เพราะจะทำให้
ประธานในพิธีรับไม่สะดวก
              - การส่งเทียนชนวน พิธีกรจุดเทียนชนวนถือด้วยมือขวาเดินเข้าไปหาประธานใน พิธี ยืนตรงโค้งคำนับ เดินตามประธานในพิธีไปยังที่บูชา โดยเดินเยื้องทางด้านขวามือ ประธานในพิธี ถ้าประธานในพิธีหยุดยืนหน้าที่บูชา พิธีกรน้อมตัวลงเล็กน้อยส่งเทียนชนวน (ปกติส่งด้านขวามือประธานในพิธี แต่บางกรณีส่งด้านซ้ายมือประธานในพิธีก็ได้) ถ้าประธาน ในพิธีนั่งคุกเข่า พิธีกรก็นั่งคุกเข่าตามแล้วส่งเทียนชนวนด้วยมือขวา มือซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว
                        - การรับเทียนชนวน เมื่อประธานในพิธีจุดธูปเทียนเสร็จแล้ว พิธีกรรับเทียน ชนวน โดยยื่นมือ
ขวาแบมือเข้าไปรองรับ ถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อย โค้งคำนับแล้วกลับ หลังหันเดินออกมา
            ๒. การปฏิบัติของประธานในพิธีที่โต๊ะหมู่บูชาเมื่อเริ่มพิธีการ
            - พร้อมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา รับเทียนชนวนจากพิธีกรด้วยมือขวา
            - จุดเทียนเล่มซ้ายมือของประธานในพิธีก่อน แล้วจุดเทียนเล่มขวามือ
            - จุดธูปดอกซ้ายมือของประธานใน พิธีก่อน แล้วจุดธูปดอกที่ ๒ และ ๓ ตาม ลำดับ
            - ส่งเทียนชนวนคืนให้พิธีกร
            - กราบบนที่กราบพระ ๓ ครั้ง ลำดับการปฏิบัติ คือ
            - คุกเข่า
            - ตั้งลำตัวตรง [๑. ประนมมือ ๒. น้อมศีรษะลง ๓. แนบฝ่ามือทั้งสองบนที่กราบ ๔. จรดหน้าผากลงระหว่างมือ (ให้หน้าผากสัมผัสที่กราบ) ๕.ยกศีรษะขึ้นพร้อมยกมือประนม ขึ้นตาม ๖. ตั้งลำตัวตรง] รวม ๖ จังหวะ นับเป็น ๑ ครั้ง 
หมายเหตุ การก้มศีรษะลง แล้วแบะฝ่ามือใส่ที่กราบ ๓ ครั้ง ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ไม่พึงปฏิบัติ เช่นนั้น
            - ยืนขึ้น แล้วถอยหลังออกมาหนึ่งก้าวหรือพอเหมาะ ทำเฉียงซ้ายแล้วโค้งคำนับ ธงชาติ ทำเฉียงขวาแล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ (กรณีมีสิ่งเคารพทั้งสอง) และกลับเข้าสู่ที่รับรองเมื่อจบพิธีการ
            - พร้อมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา กราบบน ที่กราบพระ ๓ ครั้ง (ไม่ต้องดับไฟเทียนบน โต๊ะหมู่บูชา)
            - ถอยหลังออกมาหนึ่งก้าว หรือพอเหมาะ ทำเฉียงซ้ายแล้วโค้งคำนับธงชาติ ทำ เฉียงขวาแล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นอันเสร็จพิธี
               ๓. พิธีกรอาราธนาศีล/พระปริตร
            - เมื่อประธานในพิธี หรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้วกลับนั่ง ที่เดิม พิธีกรเริ่มกล่าวคำอาราธนาต่อไป
             - ถ้าอาสนะอยู่ระดับพื้น ผู้ร่วมพิธีทั้งหมด นั่งกับพื้น พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง แล้วจึงกล่าวคำอาราธนา ถ้าอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น แต่ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่ง อยู่กับพื้นก็นั่งคุกเข่าอาราธนาเช่นกัน
            - ถ้าอาสน์สงฆ์ยกสูง ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่งเก้าอี้ พิธีกรพึงยืนทางท้ายอาสน์สงฆ์ ข้างหน้าพระสงฆ์รูปที่ ๑ หรือที่ ๒ จากท้ายแถว หรือที่อันเหมาะสม ทำความเคารพประธาน ในพิธี แล้วหันหน้าไปทางประธานสงฆ์ประนมมือ กล่าวคำอาราธนาศีล โดยหยุดทอดเสียง เป็นจังหวะ ๆ ดังนี้
คำอาราธนาศีล
            มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
            ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะติสะระเณนะ สะหะปัญจะสีลานิยาจามะ,
            ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะสีลานิยาจามะ,
             - เมื่อรับศีลเสร็จแล้วพึงอาราธนาพระปริตรต่อไป จบแล้ว ถ้านั่งคุกเข่าก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ายืนก็
ยกมือไหว้ เสร็จแล้วทำความเคารพประธานในพิธีอีกครั้งหนึ่งhttp://www.navy.mi.th/navic/document/890308a.html
คำอาราธนาพระปริตร
            วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะทุกขะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
            วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะภะยะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
            วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะโรคะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
            
๔. การจุดเทียนน้ำมนต์
            - ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพต้องรอคอยจุดเทียนน้ำมนต์อีกครั้งหนึ่ง
                        - เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงบท นโมการอัฏฐกะ คือ นะโม ๘ บท ประมาณ บทที่ ๕ (เริ่ม นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ฯลฯ) พิธีกรจุดเทียนชนวนเข้าไปเชิญ ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพไปจุดเทียนน้ำมนต์แล้วยกภาชนะน้ำมนต์ถวายประธานสงฆ์ ยกมือ ไหว้แล้วกลับไปนั่งที่เดิม
      
      ๕. การบูชาข้าวพระพุทธ/ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ เมื่อเจ้าหน้าที่เตรียมสำรับ อาหารเพื่อบูชาพระพุทธและภัตตาหารถวายพระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว

ประธานในพิธี
            - พร้อมที่โต๊ะวางสำรับอาหาร (ไม่ต้องจุดธูป เพราะถือเป็นพิธีต่อเนื่องจากการจุดธูป เทียนตอนเริ่ม
พิธีการ)
            -นั่งคุกเข่า หรือยืนตามความเหมาะสมของสถานที่ ประนมมือกล่าวคำบูชาข้าว พระพุทธโดยว่า
"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ"  (๓ จบ) แล้วกล่าวคำ บูชาข้าวพระพุทธดังนี้
     "      อิมัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โภชะนานัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ" (เพียง ๑ จบ)
            -กราบ ๓ ครั้ง หรือยกมือขึ้นจบ ๑ ครั้ง ตามความเหมาะสมของสถานที่ (ยกมือขึ้นจบ คือ ยกมือขึ้นแล้วก้มศีรษะลงพองาม โดยให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดที่ระหว่างคิ้ว ส่วนปลาย นิ้วจรดที่ไรผม)
            
๖. การลาข้าวพระพุทธ

                        เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือพิธีกรเข้าไปนั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำลาข้าวพระพุทธ แล้วยกอาหารไปได้
หมายเหตุ การลาข้าวพระพุทธเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีคำลาข้าวพระพุทธดังนี้
                        เสสัง มังคะลัง ยาจามิ"
            (ข้าพเจ้าขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคลนี้)
            
๗. กล่าวคำถวายสังฆทาน

            - การถวายภัตตาหาร (อาหารสด) งานทำบุญพิธีหลวง ไม่มีการกล่าวคำถวาย สังฆทาน
            - การถวายภัตตาหาร (อาหารสด) งานทำบุญพิธีราษฎร์ มีทั้งกล่าว และไม่กล่าว
(ตามความประสงค์เจ้าภาพ)
            - การถวายอาหารแห้ง ทั้งพิธีหลวง และพิธีราษฎร์ ต้องมีกล่าวคำถวายสังฆทาน เสมอ
            ๗.๑ คำถวายสังฆทานแบบมี ภัตตาหารเป็นหลัก (ถวายก่อนเที่ยง)
                        นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
อิมานิ มะยัง ภันเต/ ภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/ โอโณชะยามะ/ สาธุ โน ภันเต/ ภิกขุสังโฆ/
อิมานิ/ ภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ปะฏิค คัณหาตุ/ อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ
                        ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งภัตตาหาร/พร้อมทั้ง
ของบริวารเหล่านี้/ แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ/ ซึ่งภัตตาหาร/ พร้อมทั้งของ บริวารเหล่านี้/
ของข้าพเจ้าทั้งหลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ตลอด กาลนาน เทอญ
              ๗.๒ คำถวายสังฆทานแบบมีเฉพาะของใช้สอยหลายชนิด (ถวายได้ตลอดวัน)
                        นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
อิมานิ มะยัง ภันเต/ กัปปิยะภัณฑานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/ โอโณชะยามะ/ สาธุ โน ภันเต/ ภิกขุสังโฆ/
อิมานิ/ กัปปิยะภัณฑานิ/ ปะฏิคคัณหาตุ/ อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ
            ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ซึ่งกัปปิยภัณฑ ์ เหล่านี้/
แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ/ ซึ่งกัปปิยภัณฑ์เหล่านี้/ ของข้าพเจ้าทั้ง หลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ตลอดกาลนาน เทอญ
            ๗.๓ คำถวายสังฆทานอุทิศ (ถวายเจาะจง)
                        นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
อิมานิ มะยัง ภันเต/ มะตะกะภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/โอโณชะยามะ / สาธุ โน ภันเต/
ภิกขุสังโฆ/ อิมานิ/ มะตะกะภัตตานิ/ สะปะริวารานิ/ ปะฏิคคัณหาตุ/ญาตะกา นัญจะ/ กาละกะตานัง/
อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ
                         ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งมะตะกะภัตตาหาร/
พร้อมทั้งของบริวารเหล่านี้/ แด่พระภิกษุสงฆ์/ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ/ซึ่งมะตะกะภัตตา หาร/ พร้อมทั้ง
ของบริวารเหล่านี้/ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย/ เพื่อประโยชน์/ เพื่อความสุข/ แก่ญาติทั้งหลาย/ มี...เป็นต้น/
ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย/ แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย/ ตลอดกาลนาน เทอญ.
             
๘. การจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระ
                        - เครื่องไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายพระสงฆ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔ และสิ่งของ
ที่นับเนื่องในปัจจัย ๔
                        - สิ่งของที่ประเคนพระได้ในเวลาช่วงเช้าถึงเที่ยง ได้แก่อาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท (หากนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวาย ในเวลาหลังเที่ยงแล้วไม่ต้อง ประเคน เพียงแต่แจ้งให้พระรับทราบแล้วมอบให้ศิษย์ เก็บรักษาไว้จัดทำถวายในวันต่อไป)
            - สิ่งของที่ประเคนพระได้ตลอดเวลา ได้แก่ ประเภทเครื่องดื่ม เครื่องยารักษาโรค และประเภท
เภสัช เช่น น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หมากพลู ฯลฯ หรือสิ่งของไม่ใช่สำหรับขบฉัน
            - สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนพระได้แก่ เงินและวัตถุสำหรับใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร
(ในการถวาย ควรใช้ใบปวารณาแทนตัวเงินส่วนตัวเงินมอบไว้แก่ไวยาวัจกรของพระ นั้น)
              ๙. การประเคนของพระ
                        -
 ถ้าเป็นชาย ยกส่งให้ถึงมือพระ ถ้าเป็นหญิง วางถวายบนผ้าที่พระทอด รับประ เคน หรือ
นั่งคุกเข่าประเคนตามความเหมาะสม
            - ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น พึงนั่งคุกเข่าประเคน ถ้าพระสงฆ์นั่งเก้าอี้ พึงยืนหรือนั่ง คุกเข่าประเคน
            - ภัตตาหารทุกชนิดที่ประเคนแล้ว ห้ามคฤหัสถ์จับต้องอีก ถ้าเผลอไปจับต้องประเคนใหม่
            ลักษณะการประเคนที่ถูกต้อง ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
                        ๑. สิ่งของที่จะประเคนไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป ขนาดคนปานกลางคนเดียวยกได้
และต้องยกสิ่งนั้นพ้นจากพื้นที่สิ่งของนั้นตั้งอยู่
                        ๒. ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นอย่างมาก (ไม่เกิน ๒ ศอก)
                        ๓. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของเข้าไปด้วยกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อม
                        ๔. กิริยาอาการที่น้อมสิ่งของเข้าไป จะส่งด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพีตักถวาย ฯลฯ ก็ได้
                        ๕. พระผู้รับประเคนนั้น จะรับด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น จะใช้ผ้าทอดรับ
ใช้บาตรรับ หรือ ใช้ภาชนะรับ ฯลฯ ก็ได้
            ๑๐. การกรวดน้ำ 
                        - งานทำบุญทุกชนิด ต้องมีการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปด้วย
                        - ใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสีหรือสิ่งอื่นใดเจือปน
                        - ใช้ภาชนะ (เต้า) กรวดน้ำโดยเฉพาะ ถ้าไม่มี ก็ใช้แก้วน้ำหรือขันน้ำแทน
โดยจัดเตรียมไว้ก่อนถึงเวลาใช้
                        - เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาว่า ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำโดยจับภาชนะกรวดน้ำด้วย
มือทั้งสองรินน้ำให้ไหลลงเป็นสาย ไม่ให้ขาดตอนเป็นระยะ
                        - ถ้าภาชนะกรวดน้ำปากกว้าง เช่น แก้วน้ำหรือขันน้ำ ฯลฯ ควรใช้นิ้วมือรองรับสาย น้ำเพื่อให้ไหลลงตามนิ้วมือ ถ้าภาชนะกรวดน้ำปากแคบ เช่น เต้ากรวดน้ำ ฯลฯ ไม่ต้องใช้นิ้วมือรองรับสายน้ำ
                        - เมื่อพระสงฆ์ขึ้นอนุโมทนาว่า สัพพีติโย... พึงเทน้ำให้หมดภาชนะกรวดน้ำแล้ว
ประนมมือรับพรต่อไป
                         - พิธีกร เข้าไปนำภาชนะกรวดน้ำพร้อมทั้งน้ำที่กรวดแล้วออกมาทันที เทลงพื้นดิน ที่สะอาด ในที่กลางแจ้ง หรือที่โคนต้นไม้ใหญ่ ภายนอกตัวอาคารบ้านเรือน ห้ามเทลงในกระ โถน หรือในที่สกปรก 
เป็นอันขาด
            คำกรวดน้ำ
     
                   อิทัง เม ญาตีนัง โหตุสุขิตา โหนตุ ญาตะโย.
                        อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุสุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร.
                        อิทัง เม เทวะตานัง โหตุสุขิตา โหนตุ เทวะตาโย.
                        อิทัง เม สัพเพสัง สัตตานัง โหตุสุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา.

ขอส่วนบุญของข้าพเจ้านี้ จงสำเร็จ แก่ญาติ มารดาบิดา เทวดา และสรรพสัตว์
ทั้งหลาย ขอให้ญาติ มารดา บิดา เทวดา และสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด

ไม่มีความคิดเห็น: